xs
xsm
sm
md
lg

ปีนี้เขมรทำขนมมหาศิวลึงค์ใหญ่ที่สุดหนัก 5 ตันฉลองสงกรานต์นครวัด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>ขนมอันซอร์ม (Num Ansorm) หรือ ขนมศิวลึงค์น้ำหนัก 2 ตัน ที่นำออกแห่กันในเสียมราฐ เมื่อวันที่ 13 เม.ย.2556 ในเทศกาลขึ้นปีใหม่ประเพณี สำหรับ สงกรานต์นครวัด ปีนี้จะทำใหญ่กว่าเดิมอีกเป็นสถิติใหม่ คือยาว 5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร หนัก 3.2 ตันเลยทีเดียว เชื่อนักท่องเที่ยวแห่ไปดูกันมากกว่าปีที่แล้ว. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - หลายหน่วยงานกับธุรกิจการท่องเที่ยว จ.เสียมราฐ ประกาศในสัปดาห์นี้ว่า เทศกาลสงกรานต์ที่นครวัด (Angkor Sangkranta) ในเดือน เม.ย.ปีนี้ จะมีการทำข้าวต้มมัดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หลังจากเมื่อปีที่แล้ว ข้าวต้มน้ำหนัก 2 ตัน ได้รับความสนใจอย่างมาก ปีนี้จะมีขนาดใหญ่ และยาวกว่าสงกรานต์ 2557 เกือบ 2 เท่าตัว

นั่นคือขนมพื้นบ้านที่เรียกกันในท้องถิ่นว่า “ขนมอันซอม” (Num Ansorm) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กล่าวว่า เป็นขนมของชาวกัมพูชาแท้ๆ ที่ทำกันมาแต่โบราณกาล และผูกพันกับเรื่องเพศในศาสนาฮินดูอย่างลึกซึ้ง สำนักข่าวกัมพูชากล่าวว่า ขนมอันซอร์ม หรือข้าวต้มมัด ที่จะทำในปีนี้จะยาวถึง 5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร น้ำหนัก 3.2 ตัน เป็นความริเริ่มของศูนย์กลางสหพันธ์เยาวชนแห่งกัมพูชา (Union of Youth Federations of Cambodia) หรือ UYFC โดยได้รับการสนับสนุนจากบรรดาโรงแรม บริษัทในธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัด

ขนมอันซอร์มยักษ์นี้จะจัดเตรียมปรุง และทำโดยเชฟกับกุ๊กของโรงแหรมหรูแห่งหนึ่งในเสียมราฐ โดยฝ่ายต่างๆ ช่วยกันสนับสนุนด้านทุนรอน สำนักข่าวของทางการรายงาน

ขนมอันซอร์ม ทำจากข้าวเหนียว โดยใช้กล้วย หรือถั่วเขียว ถัวเหลืองที่นึ่งสุกแล้วทำเป็นไส้ หรือ บางทีก็ใช้เนื้อหมู หรือเนื้อปนมันที่ปรุงแล้ว บางบ้านจะสับมะพร้าวอ่อนปนกับข้าวเหนียวด้วย จัดแจงห่อด้วยใบตองกล้วยตามกรรมวิธี มัดให้แน่นด้วยลวด หรือ “ตอก” ไม้ไผ่ หรือเชือกป่าน ก่อนนำไปต้มในหม้อใบ หรือปี๊บ นิยมทำและตัดแบ่งแจกจ่ายกันรับประทาน หรือใช้รับแขกในเทศกาลสำคัญๆ ต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศกาลประชุมแบน (Pchum Ben) ซึ่งเป็นเทศกาลทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรผู้ล่วงลับ ซึ่งจัดขึ้นในคืนแรม 15 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี กับเทศกาลปีใหม่ประเพณี

ไม่มีรายละเอียดว่าเชฟกับกุ๊กมีวิธีต้มขนมมัดมหึมาชิ้นนี้ได้อย่างไร แต่รายงานระบุว่า จะใช้เวลาทำทั้งวันเต็มๆ ก่อนจะนำไปแสดงในวันที่ 13 เม.ย. ต่อหน้าปราสาทนครวัด

ถึงแม้ว่าอันซอร์ม จะมีลักษณะคล้ายกับข้ามต้มมัดไส้กล้วยของไทย และคล้ายกับแบ๋งจึง (Banh Chung) หรือขนมปีใหม่ของเวียดนามก็ตาม นายโสก กุศล (Sok Kosal) อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงพนมเปญ (Royal University of Phnom Penh) ได้เคยอธิบายว่า นี่คือขนมอันเป็นสัญลักษณ์ของศิวลึงค์ ในขณะที่อีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ขนมกอร์ม (Num Korm) ที่มีลักษณะคล้าย “ขนมเทียน” นั้น เป็นสัญลักษณ์โยนีพระอุมา
.

.
อย่างไรก็ตาม ทั้งอันซอร์ม และกอร์มทั่วไปที่ทำขายในท้องตลาด ไม่ได้มีขนาดใหญ่โตอะไร ขนมอันซอร์ม เป็นเพียงขนมข้าวต้มมัด ที่ห่อด้วยใบตองกล้วย เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดพอเหมาะ มัดให้แน่น ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่คล้ายกับการทำแบ๋งจึงของเวียดนาม ในขณะที่รูปลักษณ์และไส้ของขนมกอร์ม ก็แทบจะไม่มีอะไรแตกต่างไปจากขนมเทียน

แต่นายกุศล กล่าวว่า ขนมพื้นบ้านของกัมพูชาทั้งสองชนิดนี้ ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าชาวเขมรโบราณจะเลิกนับถือฮินดู และหันไปเลื่อมใสในพุทธศาสนามาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ก็ตาม แต่ก็ไม่เคยทิ้งขนมทั้งสองชนิดนี้ แถมยังทำไปถวายพระสงฆ์อีกต่างหาก

ส่วนขนมศิวลึงค์ขนาดยักษ์นี้ ผู้เกี่ยวข้องกล่าวว่า ทำขึ้นมาจากแรงบันดาลใจที่ได้เห็นจากสิงคโปร์ ซึ่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้เคยมีการจัดแสดงพิซซ่ากับแฮมเบอร์เกอร์ขนาดใหญ่ และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอย่างมาก ขณะที่กัมพูชาเป็นประเทศที่รุ่มรวยด้วยศิลปะแห่งการกินมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งในย่านนี้

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ในช่วงสงกรานต์ 3 วันเมื่อปีที่แล้ว มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังเสียมราฐ 250,000-300,000 คน ทั้งนี้ เป็นตัวเลขจากการจองห้องพักของโรงแรม รีสอร์ต กับเกสต์เฮาส์ต่างๆ เพิ่มขึ้นจาก 170,000 คน เมื่อปี 2556 และปีนี้คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่านั้นอีก.
.
<FONT color=#00003>ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นุมอันซอร์มเป็นของพระศิวะ.</b>
2
<FONT color=#00003>ส่วนอันนี้ .. นุมกอร์ม เป็นขององค์อุมาเทวี. </FONT>
3
กำลังโหลดความคิดเห็น