xs
xsm
sm
md
lg

ฉุนหลวงพี่หม่องเรียกทูต “โสเภณี” ข้าหลวงใหญ่ฯ UN จี้พม่าประณาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นางยังฮีลี (Yanghee Lee) ทูตพิเศษฝ่ายสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แถลงในนครย่างกุ้งเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ในโอกาสเยือนพม่า 10 วันเพื่อดูสถานการณ์ด้านนี้ รวมทั้งการเยือนรัฐยะไข่ ก่อนจะถูกพระภิกษุวิระธู (Virathu) เรียกเป็น โสเภณีในบ้านเรา ซึ่งทำให้ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนในนครเจนีวา ออกมาเรียกร้องให้ทางการพม่าต้องประณามพระรูปนี้ฐานหยามหมิ่นสตรีเพศ. -- Associated Press/Khin Maung Win.   </b>

เอเอฟพี - ซีด ราอัด อัล ฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้พม่าประณามการโจมตีผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติ ที่ถูกตราว่าเป็นหญิงโสเภณี หลังวิจารณ์ร่างกฎหมายที่มองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง และชนกลุ่มน้อย

พระภิกษุหลายร้อยรูปเดินขบวนต่อต้าน ยางฮี ลี ผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำพม่า เมื่อสัปดาห์ก่อน และพระวิระธู พระสงฆ์ชาตินิยมหัวรุนแรงที่มีอิทธิพลมากที่สุดของพม่า เรียกเธอว่า “หญิงโสเภณีในประเทศของเรา”

“การใช้ภาษาดูหมิ่น เหยียดเพศ ต่อผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติต่อพม่า เป็นการกระทำที่ไม่สามารถยอบรับได้” ซีด ราอัด อัล ฮุสเซน ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

“มันเป็นเรื่องที่เกินทนสำหรับผู้แทนพิเศษสหประชาชาติที่ได้รับการปฏิบัติด้วยวิธีเช่นนี้ และผมขอเรียกร้องให้ผู้นำทางศาสนา และการเมืองในพม่าประณามการยั่วยุปลุกปั่นทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง รวมทั้งการโจมตีที่น่ารังเกียจต่อผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการแต่งตั้งจากสหประชาชาติ” ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าว

การโจมตีของพระสงฆ์มีขึ้น หลัง ยางฮี ลี กล่าวว่า ร่างกฎหมายที่ประกอบด้วยการควบคุมการแต่งงานระหว่างศาสนา การเปลี่ยนศาสนา และอัตราการเกิด จะเป็นสัญญาณว่าพม่าก้าวถอยหลังในการปฏิรูปประชาธิปไตยหากสภาผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว

นักเคลื่อนไหวระบุว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่เลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง และชนกลุ่มน้อยทางศาสนาในพม่า

การสนับสนุนกฎหมายของรัฐบาลสร้างความวิตกเพิ่มขึ้นต่อการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองในประเทศที่มีความหลากหลายแห่งนี้ ซึ่งกำลังมุ่งไปสู่การเลือกตั้งในช่วงปลายปีที่ถูกมองว่า เป็นบททดสอบสำคัญของการหลุดพ้นจากการปกครองของทหาร

ซีด กล่าว่า งานของลีคือ การแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน และสถานการณ์ชนกลุ่มน้อยในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนมุสลิมโรฮิงญา พร้อมระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติได้แสดงความชื่นชมต่อการทำงานของผู้นำระหว่างศาสนาในเมืองลาเฉียว รัฐชาน ที่ร่วมมือสร้างความสัมพันธ์สงบสุขระหว่างชุมชน แต่ลี ยกประเด็นความกังวลเกี่ยวกับร่างกฎหมาย และสถานการณ์ของชาวมุสลิมโรฮิงญาพลัดถิ่นภายในรัฐยะไข่ และการใช้ชีวิตอยู่ในค่ายในสภาพที่ยากลำบาก.
.
<bR><FONT color=#000033>หลวงพี่วิระธู (Wirathu) ซึ่งได้ชื่อเป็นผู้นำพระสงฆ์ฝ่ายสุดขั้วในพม่า ปราศรัยต่อที่ชุมนุมเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ที่บริเวณใกล้กับมหาเจดีย์ชเวดากอง  ต่อต้านการเยือนของผู้แทนพิเศษฝ่ายสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หลวงพี่เรียกนางยังฮีลี  (Yanghee Lee) ที่ไปเยือนว่า โสเภณีที่กำลังอยู่ในบ้านเรา ทำให้ข้าหลววงใหญ่ฯ ในนครเจนีวา ต้องออกมาเรียกร้องให้ทางการพม่าประณามภิกษุรูปนี้. --  Associated Press/Soe Than Win. </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น