xs
xsm
sm
md
lg

ชาวย่างกุ้งใช้สิทธิกันบางตา หลังทางการจัดเลือกตั้งคณะบริหารเมืองครั้งแรกในรอบ 60 ปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชาวพม่าใช้สิทธิลงคะแนนเสียงที่คูหาเลือกตั้งในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. นครย่างกุ้ง เมืองเศรษฐกิจสำคัญของพม่าจัดการเลือกตั้งเทศบาลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ทศวรรษ แต่ผู้สังเกตการณ์เตือนว่ากระบวนการการเลือกตั้งนี้เต็มไปด้วยข้อบกพร่องและมีผู้มาใช้สิทธิกันบางตาเนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง.-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

อีเลฟเว่นนิวส์ - การเลือกตั้งคณะกรรมการพัฒนานครย่างกุ้งครั้งแรกในรอบ 60 ปี มีขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มีประชาชนจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจากผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงทั้งหมด 408,000 คน ที่เดินเข้าคูหาเลือกตั้ง

คูหาเลือกตั้งทั้งหมด 1,068 คูหา ตั้งขึ้นตามโรงเรียน และศาสนสถานต่างๆ ทั่วเมือง แต่จำนวนคนที่เดินทางมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงกลับมีน้อยมากตั้งแต่เปิดหีบให้ลงคะแนนตั้งแต่เวลา 6.00-16.00 น. ของวันเสาร์ (27) ที่ผ่านมา

คูหาเลือกตั้งแต่ละจุดที่กำหนดให้รองรับผู้ใช้สิทธิได้มากกว่า 200 คน กลับมีผู้เดินทางมาลงคะแนนเสียงเพียงแค่ 30-40 คนเท่านั้น ตามการรายงานของตัวแทนสังเกตการณ์ที่คูหาเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่จากคูหาต่างๆ

รายงานระบุว่า ประชาชนบางคนมีชื่ออยู่ในรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงแต่ไม่ทราบสถานที่ที่จะไปใช้สิทธิ ขณะที่บางกรณีพบว่า หัวหน้าครอบครัวที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง แต่บุคคลผู้นั้นกลับอยู่ในระหว่างการเดินทาง และสมาชิกที่เหลือในครอบครัวก็ไม่สามารถลงคะแนนเสียงแทนได้ นอกจากนั้น ยังมีกรณีที่พบว่า คูหาเลือกตั้ง 2 คูหา ที่ตั้งอยู่ในย่านเดียวกัน แต่ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเดินทางไปยังคูหาแรกเพื่อลงคะแนนเสียง แต่กลับไม่มีชื่ออยู่ในรายชื่อประจำคูหานั้น ทำให้ต้องเดินทางไปยังคูหาที่สอง ส่วนอีกกรณีคือ คูหาทั้งแห่งแรก และแห่งที่สอง อยู่ห่างจากกันมากจนทำให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงตัดสินใจกลับบ้านแทนการไปใช้สิทธิ

นักวิจารณ์กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 60 ปี ครั้งนี้ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจาก ประชาชนขาดความไว้วางใจในหน่วยงานบริหาร และขาดความสนใจในคณะกรรมการพัฒนานครย่างกุ้ง รวมทั้งการจำกัดผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงที่ระบุให้สิทธิเพียงแค่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี 1 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ และประชาชนจำนวนมากมองว่าสิ่งนี้เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงจึงมีจำนวนน้อย.
กำลังโหลดความคิดเห็น