xs
xsm
sm
md
lg

UN เผยความช่วยเหลือเข้าไม่ถึงประชาชนในพื้นที่ขัดแย้งทางภาคเหนือของพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือน ต.ค. 2555 เด็กชาวยะไข่นั่งอยู่ข้างกระสอบข้าวจากโครงการอาหารโลกในค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศที่ตั้งอยู่ในเมืองซิตตะเว รัฐยะไข่ ของพม่า สหประชาชาติระบุว่าความช่วยเหลือของหน่วยงานไม่สามารถเข้าถึงประชาชนในรัฐกะฉิ่น ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมของกลุ่มกบฎมาตั้งแต่เดือนก.ย. เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งและเหตุปะทะกันที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้..-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - สหประชาชาติเปิดเผยว่า ไม่สามารถเข้าถึงผู้พลัดถิ่นหลายพันคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งกลุ่มกบฏควบคุมอยู่ในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือของพม่า มาเป็นเวลากว่า 2 เดือนแล้ว และความตึงเครียดยิ่งเพิ่มสูงหลังเกิดเหตุปะทะกันเมื่อเร็วๆ นี้

ขบวนรถที่จัดส่งความช่วยเหลือให้แก่ผู้คนกว่า 30,000 คน เกือบทุกเดือนมาเป็นเวลากว่า 1 ปี ตอนนี้ไม่สามารถข้ามเข้าไปในพื้นที่ที่อยู่นอกการควบคุมของรัฐบาลได้ นับตั้งแต่เดือน ก.ย. ตามข่าวประกาศเดือน พ.ย. ของสหประชาชาติ

“ส่วนใหญ่เนื่องจากสถานการณ์ความไม่มั่นคง และระบบราชการที่ล่าช้าในการขออนุญาตจากรัฐบาล” รายงานของสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านสิทธิมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (OCHA) ระบุ ซึ่งประกาศนี้มีขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์การต่อสู้ระหว่างกองกำลังของรัฐบาล และกลุ่มกบฏกะฉิ่นในพื้นที่

สหประชาชาติ ระบุว่า การจัดส่งอาหารของโครงการอาหารโลกต้องระงับลง และกลุ่มบรรเทาทุกข์ท้องถิ่นพยายามที่จะให้ความช่วยเหลือในจุดที่มีความต้องการอย่างเร่งด่วน

สหประชาชาติยังเตือนว่า มีผู้พลัดถิ่นราว 27,500 คน ยังไม่ได้รับมอบผ้าห่ม และเสื้อผ้าเพื่อเตรียมรับมือต่อฤดูหนาวที่มาถึง

การต่อสู้อย่างหนักในรัฐกะฉิ่นใกล้พรมแดนจีนปะทุขึ้นในเดือน พ.ย. หลังเกิดเหตุยิงปืนใหญ่โจมตีค่ายฝึกอบรมของกองทัพกะฉิ่นอิสระ (KIA) โดยกองทัพทหารพม่า

นับตั้งแต่ข้อตกลงหยุดยิง 17 ปีสิ้นสุดลงในปี 2554 ประชาชนในรัฐกะฉิ่น และพื้นที่ทางเหนือของรัฐชาน ราว 98,000 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ไร้บ้านที่อยู่ในพื้นที่นอกความควบคุมของรัฐบาล ตามการระบุของสหประชาชาติ

“สหประชาชาติ และหุ้นส่วนขององค์กรยังคงเรียกร้องการเข้าถึงด้านมนุษยธรรมอย่างยั่งยืนต่อผู้พลัดถิ่น และชุมชนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความขัดแย้ง” รายงานระบุ

กลุ่มกบฏ 14 กลุ่มจากทั้งหมด 16 กลุ่มใหญ่ ได้ลงนามข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลกึ่งพลเรือนของพม่า อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แต่ข้อตกลงกับ KIA และกองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง ในรัฐชาน ยังคงไม่ได้ข้อสรุป.
กำลังโหลดความคิดเห็น