xs
xsm
sm
md
lg

S&W ชิงดำ Glock วงการคึกคักทัพบกสหรัฐฯ เปลี่ยนปืนพกจีไอนับแสนกระบอก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>ถึงเวลาต้องเปลี่ยนอีกครั้งและจะเป็นครั้งที่ 3 ในรอบศตวรรษ หลังจากใช้โคลท์ .45 มากว่า 70 ปี เบเร็ตตาเอ็ม 9 อีกเกือบ 30 ปี และเป็นการเปลี่ยนครั้งที่ 2 หลังสงครามเวียดนาม ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสเป็คใหม่ที่กองทัพบกสหรัฐต้องการ แต่การประกวดราคากำลังจะเริ่มขึ้นในเดือน ม.ค.นี้ การจัดหาจะดำเนินต่อไปตลอด 2 ปีข้างหน้า แต่ไม่ว่าจะต้องการกระสุนขนาดใด ว่ากันว่าคู่ชิงดูจะมีเพียง 2 รุ่นคือ M&P ของสมิธแอนด์เวสสัน และ กล็อก ปืนนำเข้าจากออสเตรีย. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองทัพบกสหรัฐฯ กำลังจะทยอยเปลี่ยนปืนพกให้แก่นายทหาร และทหารขั้นประทวนของทั้งกองทัพอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการประกาศเรื่องนี้ให้เป็นข่าวครึกโครม แต่ก็เป็นที่รู้กันในวงในว่า การประกวดราคาจะมีขึ้นในอีกไม่นานนี้ ข่าวนี้ได้สร้างความคึกคักให้แก่อุตสาหกรรมอาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตปืนสั้น กึ่งอัตโนมัติขนาดกระสุน 9x19 มม. และ 11 มม. ทั้งหลายที่มีปืนประเภทโครงสร้างทำจากโพลีเมอร์ พร้อมอยู่ในตลาดขณะนี้

กำลังจะเป็นการเปลี่ยนปืนพกมาตรฐานเพียงครั้งที่ 2 ของกองทัพบกสหรัฐฯ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง นับตั้งแต่เปลี่ยนจากโคลท์ .45 มาเป็นเบเร็ตตา 9 มม. หรือ Beretta M9 เมื่อปี พ.ศ.2528 หรือ 30 ปีก่อนหน้านี้ ถึงแม้ว่าความนิยมชมชอบในโมเดล 1911 ขนาด .45 ในหมู่ทหารจะไม่เคยเสื่อมคลายก็ตาม

ปัจจุบัน ไม่เพียงแต่กองทัพบกเท่านั้นที่ใช้เบเร็ตตา ซีรีส์ เอ็ม 9 (92F รวมทั้ง 96F และ 98F) เป็นปืนพกมาตรฐาน หากยังใช้แพร่หลายในกองทัพเรือ ทั้งเป็นปืนพก (Sidearm) ของผู้บังคับบัญชา และเป็นปืนพกสำหรับยิงฝึกซ้อมของพลทหาร และทหารชั้นประทวนอีกด้วย

ในการประกวดราคาเพื่อเปลี่ยนปืนพกครั้งก่อนนี้ Beretta 92F เฉือนซิกซาวเออร์ (SIG Sauer) P226 ขนาด 9 มม. แบบเส้นยาแดงด้วยราคาที่ต่ำกว่า แต่ Beretta M9 ก็มีคุณสมบัติที่โดดเด่นไม่แพ้ใครอยู่หลายด้าน โครงอะลูมิเนียมของ M9 ใช้งานได้ในอุณหภูมิตั้งแต่ -40 ไปจนถึง 60 องศาเซลเซียส แช่ในน้ำทะเลได้ ผ่านการทดสอบการตกกระทบบนพื้นคอนกรีตหลายๆ ครั้ง หมกในทราย โคลน และในหิมะ นอกจากนั้น ยังผ่านการพิสูจน์อายุการใช้งาน ที่เรียกว่า MRBF หรือ mean rounds before failure คือ ยิงได้ถึง 35,000 นัด ก่อนจะ “ยิงไม่ออก”

ตัวเลข MRBF ของ M9 สูงเป็น 4-6 เท่าอายุการใช้งานของปืนพกกึ่งอัตโนมัติทั่วไป ซึ่งเหมาะต่อกองทัพบกสหรัฐฯ มากที่สุด เนื่องจากใช้ปืนพกสมบุกสมบันมากกว่าชาติพันธมิตรยุโรป โดยสงครามอิรักถูกยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ ซึ่งในหลายเหตุการณ์ระหว่างการสู้รบในเมือง ได้กลายเป็นการเผชิญหน้ากันด้วยปืนพก เป็นการรบในสมรภูมิเนื้อที่จำกัด เช่น การสู้รบในสถานที่อาศัยต่างๆ หรือการปะทะระหว่างการเข้าตรวจค้นบ้านพัก หรือห้องพักของผู้ต้องสงสัย ซึ่งปฏิบัติการด้วยปืนเล็กยาวไม่สะดวก ไม่ทันการณ์
.
<bR><FONT color=#00003>20 ปีก่อนหน้านี้ผู้ผลิตในสหรัฐประเมินปืนโครงโพลิเมอร์จากยุโรปต่ำเกินไป กว่าจะตั้งหลักได้ ปืนกล็อกก็ครองตลาดไปกว่าครึ่งหนึ่ง กำลังตำรวจราว 2 ใน 3 ทั่วสหรัฐใช้กล็อก หน่วยงานความมั่นคงหลายหน่วยก็ใช้ ปืน-ปาส-ติก จากออสเตรียเช่นกัน จนในที่สุด S&W M&P ก็ก่อเกิดขึ้นมาเพื่อหยุดการรุกคืบของ Glock. </b>
2
ทั้งนี้ทั้งนั้นได้พิสูจน์ว่า เบเร็ตตา M9 นั้นทนทายาดไม่แพ้ใคร และใช้รบได้จริง แต่ปืนพกมาตรฐานของกองทัพบกสหรัฐฯ ในปัจจุบันก็มีจุดอ่อน ไม่ต่างกับอาวุธปืนยี่ห้ออื่นๆ ในขนาดเดียวกัน รวมทั้งอาจจะไม่เหมาะต่อการพกในยุคใหม่ ไม่คล่องตัวเท่ากับปืนดีไซน์ใหม่ๆ ที่ “แชสซีส์” หรือโครงทำจากวัสดุโพลีเมอร์ พลาสติกที่มีความแข็งแกร่งที่สุดชนิดหนึ่งในอุตสาหกรรม และทั่วโลกหันมานิยม “ปืนปาสติก” มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ถึงแม้ว่าจะใช้เบเร็ตตา M9 มาเพียงประมาณ 30 ปี แต่ก่อนหน้านั้น กองทัพสหรัฐฯ ใช้โคลท์ M1911 กับ M1911A1 มาเป็นเวลา 70 ปี หรือถ้าหากจะรวมถึงวันนี้ก็ปาไปกว่าศตวรรษแล้ว เพราะฉะนั้น ข่าวการเปลี่ยนปืนพกมาตรฐานของกองทัพจึงเป็นข่าวใหญ่ เพราะว่าโอกาสที่จะได้ชิงเค้กก้อนใหญ่แบบนี้เป็นครั้งหนึ่งในชีวิตเลยทีเดียว บรรดาผู้ผลิตรายใหญ่จึงเคลื่อนไหวกันคึกคักในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เพราะเดาทิศทางกันไว้ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกล็อก แห่งออสเตรีย เบเร็ตตาเจ้าเก่า แห่งอิตาลี ซีซี (CZ) หรือ “ซีแซด” จากสาธารณรัฐเช็ก ซิกซาวเออร์ จากเยอรมนี สมิธแอนด์เวสสัน หรือแม้กระทั่งโคลท์ ที่ไม่เคยทำ “ปืน-ปาส-ติก” มาก่อน ก็ได้ออกดีไซน์ล่าสุดเป็นปืนพกโครงโพลิเมอร์ มาถามทางตลาดเช่นกัน


*มวยคู่เอก : Glock vs S&W M&P*


ผู้ผลิตปืนค่ายสหรัฐฯ นั้นตื่นตัวช้า และดูแคลนปืนโครงโพลีเมอร์มากเกินไปก็ว่าได้ กว่าจะมีสำนึกก็ต่อเมื่อปืนกล็อกจากยุโรป เข้าไปครองส่วนแบ่งใหญ่ตลาดในประเทศเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งสถิติบ่งบอกว่าจนถึงปัจุบันปืน มีการนำเข้ากล็อกรุ่น และขนาดต่างๆ รวมกันประมาณ 2.7 ล้านกระบอก และราว 60% ของกำลังตำรวจ ตั้งแต่ระดับเมืองจนถึงระดับเคาน์ตี และระดับรัฐ ได้หันไปใช้กล็อกกันหมด เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านความมั่นคง ทั้งซีไอเอ และเอฟบีไอ ต่างก็หันไปใช้กล็อก รวมทั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษหลายหน่วยของกองทัพเองด้วย ซึ่งเรื่องแบบนี้ย่อมสร้างความปวดร้าวให้แก่ปืนเจ้าถิ่น โดยเพาะอย่างยิ่งคือ ยักษ์ใหญ่สมิธแอนด์เวสสัน (Smith&Wesson) กับโคลท์ (Colt) ที่ได้ชื่อเป็นปืนคู่บ้านคู่เมือง คู่ประวัติศาสตร์ของประเทศ

กว่า 20 ปีที่ผ่านมา กล็อก แห่งออสเตรีย และกล็อก ยูเอสเอ ได้ผลิตปืนพกโครงโพลีเมอร์ออกมาหลายรุ่นครอบคลุมกระสุนทุกขนาด เพื่อสนองตลาดสหรัฐฯ ทั้ง 9 มม, 10 มม, .380 และ 11 มม. มีข้อดีข้อเด่นมากมาย กล็อกจึงพร้อมที่ผลิตตามออร์เดอร์ล็อตใหญ่ได้ทันที ก็จึงถูกมองเป็นหนึ่งในตัวเต็งสุดขีดในการจัดหาปืนพกของกองทัพบกสหรัฐฯ ครั้งนี้ แต่ในขณะเดียวกัน วงการก็ไม่อาจมองข้าม S&W ได้ เพราะเตรียมการเรื่องนี้มาหลายปีเช่นกัน จะเห็นได้จากการที่สมิธฯ ผนึกกำลังเป็นพันธมิตรกับบริษัทเจเนอรัลไดนามิกส์ (General Dynamics) ผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่ร่วมงานกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มานาน เพื่อพัฒนาปืนพก S&W ซีรีส์ M&P ออกมาชิงตลาดปืนโครงโพลีเมอร์ ซึ่งตัวย่อหลังนั้นก็คือ “military” กับ “police” นั่นเอง เป็นการตั้งเป้าแย่งตลาดในวงการป้องกันประเทศ และตลาดผู้รักษากฎหมาย รักษาความสงบของสังคม ให้กลับคืนมาเป็นของสมิธฯ อีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่โคลท์ยังพัฒนาไม่ถึงขั้นจะเป็นคู่แข่งได้ ในปืนเซกเมนต์นี้

เบเร็ตตา ก็ไม่ได้ต่างกันกับปืนค่ายสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ ที่ไหวตัวช้าเกี่ยวกับปืนโครงโพลีเมอร์ และซีรีส์ใหม่ภายใต้รหัส Px4 Storm ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ก็พิสูจน์แล้วว่า ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าจะมีนวตกรรมออกมาหลายเรื่อง รวมทั้งการใช้ลูกเลื่อนกับลำกล้องหมุนสลับ คล้ายๆ กับปืน “แกตลิ่ง” (Gatling Gun) ด้วย ซีรีส์ที่ออกในช่วงหลังๆ ก็ไม่เวิร์ก ซึ่งต่างไปจาก S&W M&P ที่ถูกพัฒนามาเป็นปืนแบบสามัญๆ แต่ก็เฉือนกล็อกไปได้ในหลายด้าน และได้รับความนิยมอย่างมากมายในขณะนี้ S&W - General Dynamics เอาใจใส่ในรายละเอียดในการผลิตปืนเพื่อให้ใช้ได้กับฝ่ามือทุกขนาด ซึ่งแต่ละคนไม่เท่ากัน และเพศชายกับเพศหญิงก็ต่างกัน ซึรีส์ M&P ของ S&W สนองความต้องการในเรื่องนี้ได้ก่อนใครๆ โดยแถม “ประกับ” ด้ามปืนมาด้วยหลายขนาด เพื่อใช้เปลี่ยนให้กระชับอุ้งมือได้ตามสภาพความกว้างของฝ่ามือแต่ละคนนั่นเอง
.

.

.

.

.

.

.

.
เอาแค่เรื่องเดียวนี้กล็อกก็พลาดแบบไม่เป็นท่า เพราะไม่ว่าปืนจะดีแค่ไหนก็ตาม ก็ใช่ว่าทุกคนจะถือปืนกล็อกได้อย่างกระชับมือพอดี.. ดีพอที่จะเหนี่ยวไกยิงอย่างแม่นยำได้ และกว่ากล็อกจะรู้ตัวก็อีกหลายปีต่อมา จนกระทั่งถึง GEN 4 หรือกล็อกเจเนอเรชันที่ 4 นี่เอง จึงเริ่มแถมประกับด้ามปืนมาคู่กับปืนด้วยแบบเป็นเรื่องเป็นราว แบบเดียวกับ S&W M&P ซึ่งก็ดูจะช้าเกินไป เพราะอเมริกันชนหลายหมื่น รวมทั้งกลุ่มสตรี ได้ซื้อปืนของสมิธฯ เรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลเดียวนี้

เรื่องความสะดวกในการพกพา กับแม่นยำกินกันไม่ลง ในขณะที่โครงโพลีเมอร์ของ M&P ดูจะได้เปรียบที่เสริมโครงเหล็กชั้นใน ทนต่อแรงกระทบ แรงกดทับมากกว่า ไม่บิดไม่เบี้ยว และในขณะที่กล็อกสวยอย่างเรียบหรู M&P ก็สวยอย่างมีดีไซน์ และมีลวดลายที่หรูหราไม่แพ้กัน นอกจากนั้นรางแบบพิแคนตินีของ M&P ก็ยังติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลายชนิดมากกว่ารางของกล็อก จึงสนองความต้องการของกองทัพได้มากกว่า

ประการสำคัญที่สุดสำหรับ สมิธฯ กับเจเนอรัลไดนามิกส์ ข้อได้เปรียบอย่างยิ่งก็คือ การที่ M&P เป็นปืน Made-in-USA ที่คนอเมริกันภาคภูมิใจ ซึ่งต่างกับกล็อกที่มาจากแดนไกล เช่นเดียวกันกับเบเร็ตตา แห่งแดนมะกะโรนี ถึงแม้ว่าในเวลาต่อมารายหลังนี้จะมีโรงงานประกอบในรัฐแมริแลนด์ก็ตาม

เพราะฉะนั้น คู่ชิงที่ถูกจับตามองมากที่สุดสำหรับล็อตใหญ่กองทัพบกสหรัฐฯ ก็จึงเป็น “ปืน-ปาส-ติก” 2 รุ่น คือ Glock 19 GEN 4 9x19 มม. กับ S&W M&P 9x19 มม. “โปรซีรีส์” นั่นเอง
.
<bR><FONT color=#00003>ไม่ได้เป็นเพียงปืนพกมาตรฐานของกองทัพบกเท่านั้น เกือบ 30 ปีมานี้เบเร็ตตา M9 ยังใช้แพร่หลายในกองทัพเรือและหน่วยกำลังอื่นๆ เป็นทั้งปืนพกนายทหาร และปืนฝึกซ้อมของพลทหารและชั้นประทวน เบเร็ตตาเปิดเผยว่าเกือบ 30 ปีมานี้่ขาย 62F, 96F และ 98F ให้กองทัพสหรัฐไป 600,000 กระบอก ยังมียอดค้างส่งมอบอีก 20,000 กระบอก. </b>
3
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบรายละเอียดอย่างสิ้นเชิงในขณะนี้ว่า กองทัพบกสหรัฐฯ ต้องการปืนพกมาตรฐานแบบไหน สเปกไหน ใช้กระสุนขนาดเท่าไร ซึ่งเมื่อครั้งเปลี่ยนปืนพกมาตรฐานครั้งล่าสุดนั้น สหรัฐฯ ได้ทิ้งโคลท์ M1911A1 ขนาด.45 (หรือ 11 มม.) ไปใช้เบเร็ตตา M9 กระสุน 9 มม. หรือ “9x19 มม. พาราเบลลัม” ตามพันธมิตรในยุโรป ที่ต้องการกระสุนปืนพกที่มีขนาดเล็กลงและราคาถูกลง รวมทั้งเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มนาโต้ ที่กำลังเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็นนั่นเอง

แต่ตลอดเวลาเกือบ 30 ปีมานี้ จะมีเสียงบ่นของเหล่าทหารให้ได้ยินกันอยู่เสมอๆ ว่า อำนาจหยุดยั้งของกระสุน 9 มม. นั้นต่ำเกินไป เจอศัตรูตัวโตๆ เข้าต้องรัวจนหมดแม็กจึงจะแน่ใจว่าจอดแน่ ซึ่งแทนที่จะประหยัดได้ ก็กลับต้องจ่ายมากขึ้น ต่างกับกระสุน 11 มม.ที่ขนาดใหญ่กว่าและแรงกว่า ซึ่งโดยทั่วไปนัดเดียวก็เอาอยู่ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลใดๆ ว่าครั้งนี้กองทัพบกจะกลับไปใช้กระสุนขนาดใหญ่กว่าอีกหรือไม่

นอกจากนั้น ก็ยังไม่ทราบว่ากองทัพบกสหรัฐฯ จะกลับไปหาปืนพกโครงสเตนเลส หรือยังจะใช้โครงอะลูมิเนียมแบบ Beretta M9 ต่อไป หรือว่าจะเปลี่ยนไปใช้ปืนโครงโพลีเมอร์ตามสมัยนิยม แต่อย่างน้อยที่สุดประวัติศาสตร์ก็บอกให้รู้ว่า การเปลี่ยนปืนทุกครั้งหมายถึงการเปลี่ยนยุค และกองทัพสหรัฐฯ ก็เคยเปลี่ยนจากปืนเล็กยาวที่มีน้ำหนักมากกว่า ไปใช้ปืนที่มีน้ำหนักเบากว่ามาแล้ว เช่น จาก M-14 ในสงครามเวียดนาม ได้เปลี่ยนมาใช้ M-16 ที่ใช้ชิ้นส่วนไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบทำให้เบาลงมาก และเปลี่ยนมาเป็น M-4 ในปัจจุบัน

ยังไม่ทราบเช่นกันว่ากองทัพบกสหรัฐฯ กำลังจะจัดหาปืนพกมาตรฐานรุ่นใหม่จำนวนทั้งสิ้นกี่กระบอก ทราบแต่เพียงว่า กระบวนการประกวดราคาจะเริ่มในเดือน ม.ค.2558 นี้ และจะดำเนินไปตลอด 2 ปีข้างหน้า และ ... ตัวเลขที่น่าตื่นตาตื่นใจของเบเร็ตตา ก็คือ ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา บริษัทนี้ขาย M9 รุ่นต่างๆ ให้กองทัพสหรัฐฯ ไปกว่า 600,000 กระบอก ส่วนใหญ่ใช้ในกองทัพบก และตอนนี้ก็ยังมีสัญญาที่จะต้องส่งมอบอีก 20,000 กระบอก.
.

<bR><FONT color=#00003>สำหรับตำรวจระดับเมืองใหญ่หรือระดับนครในสหรัฐ กล็อก 1 กระบอกขนาด 9 มม.หรือ .380 หรือ 11 มม. และมีลูกโม่ .38 สเปชี่ยล หรือ .357 แม็กนั่มอีก 1 กระบอกก็อุ่นใจแล้ว วันนี้ตำรวจในสหรัฐทุกระดับกว่า 2 ใน 3 หันไปใช้กล็อก.</b>
4
<bR><FONT color=#00003>M&P หรือ military & police เป็นผลงานร่วมระหว่างสมิธแอนด์เวสสันกับเจเนอรัลไดนามิกส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐมานานปี การผนึกกำลังของสองค่าย แสดงให้เห็นการเตรียมพร้อมมานานหลายปีเพื่อชิงดำเค้กก้อนใหญ่ครั้งนี้. </b>
5
<bR><FONT color=#00003>ส่วนหนึ่งของปืนสั้นในครอบครัว Glock และ กว่า 20 ปีมานี้กล็อกผลิตรุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเรื่อยมา พร้อมจะลุยผลิตล็อตใหญ่ส่งกองทัพได้ทันทีเช่นกัน แต่ในเรื่องคุณภาพ S&W M&P ไม่ได้มีอะไรเป็นรองปืนจากออสเตรีย และ ข้อได้เปรียบสำคัญของ M&P ก็คือ เป็นปืน Made-in-USA ผลิตโดยบริษัทอาวุธชั้นนำของประเทศ.   </b>
6
<bR><FONT color=#00003>โคลท์ .45 - 1911A1 (ค.ศ.1924-1985) ขวัญใจตลอดกาลของแยงกี้ โคลท์เจ้าตำรับยังคงผลิตดีไซน์อมตะนี้ออกมาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ รวมทั้งบริษัทปืนอีกหลายแห่งทั้งในและนอกสหรัฐด้วย. </b>
7
<bR><FONT color=#00003>กล็อก 17 กับ สมิธแอนด์เวสสัน M&P9 ฟูลไซส์ ทั้งคู่ พอฟัดพอเหวี่ยงกัน แต่คู่ชิงน่าจะเป็น (M&P) โปรซีรีส์ กับ Glock 19 Gen 4 ซึ่งเป็นซีรีส์ที่ใหม่กว่า. </b>
8
กำลังโหลดความคิดเห็น