xs
xsm
sm
md
lg

UN เปิดตัวเลขชี้การผลิตฝิ่นในสามเหลี่ยมทองคำยังอยู่ในระดับสูง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2557 ทหารของกองกำลังปลดปล่อยชาติปะหล่อง (TNLA) กำลังกำจัดไร่ฝิ่นในเมืองหมั่นตอง รัฐชาน พม่าเป็นแหล่งผลิตฝิ่นรายใหญ่อันดับสองของโลกรองจากอัฟกานิสถาน ซึ่งรายงานของ UNODC ระบุว่า การผลิตฝิ่นในพม่าปีนี้ลดลงเกือบ 25% แต่การปลูกฝิ่นในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำกลับเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน.-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

ซินหวา - สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) เผยว่า การปลูกฝิ่นในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำของพม่า และลาวเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 400,000 ไร่ ในปี 2557 ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน และมีจำนวนมากกว่าปี 2549 ถึง 3 เท่าตัว

รายงานของ UNODC ระบุว่า พม่ายังคงเป็นประเทศผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่อันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอัฟกานิสถาน

ในปี 2557 พม่า และลาวผลิตฝิ่นได้ทั้งหมด 762,000 กิโลกรัม ที่ส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นสารเคมีตั้งต้นเพื่อผลิตเฮโรอีน ได้ราว 76,000 กิโลกรัม และลักลอบขายในประเทศเพื่อนบ้าน และนอกภูมิภาค

“การค้าสองทางทั้งในส่วนของสารเคมีที่ส่งออกไป และกลับมาในรูปของเฮโรอีนจากพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ เป็นความท้าทายอย่างมากต่อความมั่นคง และกฎหมาย” เจเรมี ดักลาส ผู้แทน UNODC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าว

“ความต้องการเฮโรอีนในปริมาณมากของภูมิภาคก่อให้เกิดสิ่งจูงใจที่สร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ ไม่เพียงแค่การนำเข้าสารเคทีที่จำเป็นในการผลิตเฮโรอีน แต่ยังรวมถึงการลักลอบค้า และจำหน่ายยาเสพติดไปยังตลาดต่างๆ ในจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่วนอื่นๆ ของโลกอีกด้วย” ดักลาส กล่าว

รัฐชาน ในภาคเหนือของพม่า ยังคงเป็นศูนย์กลางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับฝิ่น และเฮโรอีน ที่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89 ของการปลูกฝิ่นในสามเหลี่ยมทองคำ ส่วนที่ลาว จากการสำรวจของ UNODC ยืนยันว่า การปลูกฝิ่นพบในแขวงพงสาลี แขวงเชียงขวาง และแขวงหัวพัน ทางภาคเหนือ

ส่วนการสำรวจทางเศรษฐกิจของเกษตรกรในหมู่บ้านที่ปลูกฝิ่นพบว่า รายได้ที่ได้จากการปลูกฝิ่นเป็นสิ่งจำเป็นต่อชาวบ้านให้ปลอดจากความไม่มั่นคงทางอาหาร และความยากจน รายงานของ UNODC ระบุ

ชีค ตูเร่ ผู้จัดการของ UNODC ประจำประเทศลาว กล่าวว่า ความเชื่อมโยงระหว่างความยากจน การขาดแคลนโอกาส และตัวเลือกในเศรษฐกิจทางเลือก กับการปลูกฝิ่นนั่นเป็นที่ชัดเจน ผู้ปลูกฝิ่นไม่ใช่คนไม่ดี แต่เพราะความยากจน ความไม่มั่นคงทางอาหาร อาศัยอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลาง และตลาดที่จะสามารถขายผลผลิตอื่นๆ ทำให้คนเหล่านี้จำเป็นต้องพึ่งพาการปลูกฝิ่น

UNODC เตือนว่า ธุรกิจ และการค้าเกี่ยวกับฝิ่นเป็นภัยคุกคามต่อแผนการพัฒนาและการรวมตัวของภูมิภาค

พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ เป็นศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง และแผนการขยายการเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่ง การคลายอุปสรรคทางการค้า และการควบคุมพรมแดนกำลังดำเนินไปด้วยดี

“เราจำเป็นต้องลงมือดำเนินการ...เครือข่ายที่ได้ประโยชน์จากการค้ายาเสพติดผิดกฎหมายนั้นตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดีอย่างมากในการใช้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มของภูมิภาค” ดักลาส กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น