xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ ทะยานขึ้นเป็นตลาดนำเข้ารองเท้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>แรงงานหญิงชาวเวียดนามทำงานอยู่ในสายผลิตภายในโรงงานผลิตรองเท้าแห่งหนึ่ง ชานกรุงฮานอย สหรัฐฯ กลายเป็นตลาดที่นำเข้ารองเท้าจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุดแซงหน้าสหภาพยุโรป หลังสหรัฐฯ ย้ายคำสั่งซื้อจากโรงงานในจีน เนื่องจากเงื่อนไขการดำเนินธุรกิจไม่เอื้อประโยชน์เท่าเวียดนาม.--Reuters/Kham.</font></b>

เตื่อยแจ๋ - สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะแซงสหภาพยุโรปกลายเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของผลิตภัณฑ์รองเท้าเวียดนาม เมื่อผู้นำเข้าหลายรายได้ย้ายคำสั่งซื้อจากโรงงานในจีน มายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของจีนที่แข่งขันได้น้อยลง

ตลาดสหภาพยุโรป เคยมีสัดส่วนนำเข้ารองเท้าจากเวียดนามมากกว่าร้อยละ 50 แต่ตัวเลขปรับลดลงเหลือร้อยละ 35 ในปีก่อน ในขณะที่ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวขึ้นร้อยละ 33 ตามข้อมูลจากศุลกากรเวียดนาม โดยในปี 2556 เวียดนาม ส่งออกผลิตภัณฑ์รองเท้ารวมมูลค่า 3,300 ล้านดอลลาร์

แมตต์ พรีสต์ ประธานผู้จัดจำหน่ายและร้านค้าปลีกรองเท้าแห่งอเมริกา กล่าวว่า รองเท้าเวียดนามส่งออกไปยังสหรัฐฯ ขยายตัวขึ้นปีละ 20-21% นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา และในช่วงระหว่างเดือนม.ค.-ต.ค. ของปีนี้ เวียดนาม ส่งออกรองเท้าไปยังสหรัฐฯ รวมมูลค่า 2,670 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เหวียน จิง จึง ผู้อำนวยการบริษัทผลิตรองเท้าในนครโฮจิมินห์ กล่าวว่า บริษัทใกล้จะส่งออกรองเท้าได้ตามเป้าหมายที่ 3 ล้านคู่ในปีนี้ โดยยอดส่งออก 60-70% เป็นการส่งออกรองเท้าไปยังปลายทางสหรัฐฯ และในเวลานี้สหรัฐฯ กลายเป็นตลาดส่งออกหลักของบริษัท

สก็อต โทมัส ผู้แทนจากบริษัท Wolverine WorldWide ในสหรัฐฯ กล่าวว่า นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าประทับใจในส่วนของผู้ผลิตรองเท้าของบริษัท โดยในปี 2550 บริษัทสั่งซื้อรองเท้าจากบริษัทของจีน ร้อยละ 81.7 และจากบริษัทเวียดนาม 10% แต่ในปี 2556 การนำเข้าจากจีนตกลงเหลือ 75% ขณะที่การสั่งซื้อจากเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 14.5% บริษัทคาดการณ์ว่า ภายในปี 2563 ตัวเลขการนำเข้าจากเวียดนามจะเพิ่มขึ้นเป็น 35% และจากจีนจะลดลงเหลือ 33%

“หนึ่งในเหตุผลหลักของการย้ายคำสั่งซื้อรองเท้าจากจีนมายังเวียดนามเพราะสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของจีนเสียเปรียบหลายอย่าง” รองประธานสมาคมรองเท้าและเครื่องหนังเวียดนาม กล่าว

การส่งออกรองเท้าผลิตจากเวียดนามไปยังสหรัฐฯ คาดว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง หากข้อตกลง TPP ลงนามกันในปีหน้า และเมื่อข้อตกลงการค้ามีผลบังคับใช้ ผลิตภัณฑ์รองเท้าของเวียดนามจะได้สิทธิภาษีนำเข้า 0% เมื่อเทียบกับปัจจุบัน 50% และจากโอกาสดังกล่าว รองประธานสมาคมรองเท้าและเครื่องหนังของเวียดนาม แนะว่า นอกจากการดำเนินการตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดแล้ว ผู้ผลิตรองเท้าของเวียดนามจะต้องสามารถตอบสนองต่อคำสั่งซื้อจำนวนมากจากผู้นำเข้าสหรัฐฯ ได้.
กำลังโหลดความคิดเห็น