xs
xsm
sm
md
lg

ปธน.พม่าพยายามปลุกชีพเขตเศรษฐกิจทวาย เรียกร้องกลางวงประชุมดันญี่ปุ่นร่วมลงทุน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นชินโซ อาเบะ ปราศรัยระหว่างการประชุมอาเซียนพลัสในเนปีดอ วันที่ 13 พ.ย.2557 ทั้งไทยและพม่าต่างตั้งความหวังเอาไว้อย่างสูงว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะช่วย อุัม โครงการทวาย หลังจากบริษัทเอกชนรายใหญ่ของไทยที่ได้สิทธิ์สัมปทาน ไม่สามารถระดุมทุนก้อนมหึมาได้ จนกระทั่งขณะนี้ก็ยังไม่มีคำตอบว่า ถ้าหากญี่ปุ่นไม่สนใจ ไทยกับพม่าจะหาเงินที่ไหนไปลงทุน. -- Reuters/Soe Zeya Tun. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมผู้นำอาเซียน ได้เรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ระหว่างการประชุมรอบอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 17 ในวันพุธ 12 พ.ย. ให้เข้าร่วมลงทุนในการก่อสร้างโครงการเศรษฐกิจพิเศษทวาย ที่เป็นปัญหาคั่งค้าง และล่าช้ามาหลายปี อันเนื่องมาจากขาดแคลนเงินลงทุน สื่อของทางการรายงานเรื่องนี้ในวันศุกร์

ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหุ้นส่วนรายใหญ่อันดับ 3 ของอาเซียน มีหลายโครงการร่วมมือกับพม่า ทั้งในด้านสาธารณสุข การศึกษา การก่อสร้าง และผู้นำสูงสุดของพม่า ได้เรียกร้องให้ญี่ปุ่นเข้าลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (ในเขตตะนาวศรี) ติลาวา (ชานนครย่างกุ้ง) โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย โครงการขนส่งในย่างกุ้ง โครงการผลิตไฟฟ้า และโครงการพัฒนาในรัฐระไค (ยะไข่) และในวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กต่างๆ

ระหว่างการประชุมด้านธุรกิจและการลงทุนอาเซียน ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ กรุงเนปีดอ วันที่ 11 พ.ย. ปธน.พม่ายังเน้นให้เห็นความสำคัญของเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของพม่าอีกด้วย โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันของรัฐบาล รายงานในวันศุกร์ 14 พ.ย.นี้

เขตเศรษฐกิจทวายซึ่งบริษัทเอกชนรายหนึ่งจากไทยได้สิทธิเป็นเจ้าของสัมปทาน ได้หยุดชะงักมาเป็นเวลา 2 ปี เนื่องจากไม่สามารถระดมเงินทุนได้เพียงพอ ในเวลาต่อมา รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ตกลงกับฝ่ายพม่า “อุุ้ม“” โครงการนี้ ยกระดับขึ้นเป็นโครงการร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยตั้งความหวังว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนใหญ่ในการลงทุน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ได้ตัดสินใจ และตอบสนองการเร่งเร้าของไทย และพม่า โดยให้เงินงบประมาณจำนวนหนึ่งทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในรายละเอียดอีกครั้ง เพื่อดูว่าจำเป็นจะต้องคงโครงการใดไว้ และตัดส่วนไหนออกไป ทั้งนี้ เพื่อลดระดับการลงทุนลง เชื่อว่าจะทราบผลการศึกษาในเดือน มี.ค.ปีหน้า ซึ่งหลายฝ่ายกล่าวว่า เป็นความพยายามเตะถ่วงการตัดสินใจของญี่ปุ่นเอง

แต่ในทางตรงข้าม ญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจ และเน้นการลงทุนก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา (Thilawa) ในย่างกุ้ง โดยประกาศให้เป็น “เรือธง” ในความสัมพันธ์ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับพม่า การลงทุนโดยเอกชนของญี่ปุ่นในติลาวา ดำเนินไปอย่างคึกคักตลอดเวลากว่าหนึ่งปีมานี้

ระหว่างการพบหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีพม่า นอกรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนวันที่ 12 พ.ย. นรม.ญี่ปุ่นยัง เสนอสินเชื่อให้แก่พม่าเป็นเงิน 25,800 ล้านเยน (ประมาณ 8,464 ล้านบาท) โดยรัฐบาลญี่ปุ่นประสงค์ให้ใช้สินเชื่อดังกล่าวในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือ และโรงไฟฟ้าในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา รวมทั้งการเสริมโครงข่ายสายส่งกระแสไฟฟ้า และช่วยเหลือผู้ให้กู้สำหรับกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก

นักลงทุนจากจีนไม่สนใจเขตเศรษฐกิจทวายที่อยู่ใต้ลงไป แต่ทุ่มเทให้แก่การก่อสร้างระเบียงขนส่งอีกสายหนึ่งทางตอนเหนือพม่า เพื่อเชื่อมมลฑลหยุนหนัน กับทะเลเบงกอล เป็นเส้นทางคู่ขนานกับแนวท่องขนน้ำมันดิบและก๊าซ ที่เปิดใช้มา 2 ปีแล้ว.
กำลังโหลดความคิดเห็น