xs
xsm
sm
md
lg

ผู้นำจีนเยือนพม่าสัปดาห์หน้าคาดประกาศให้ความช่วยเหลือชุดใหม่แต่จะไม่พบหารือซูจี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียง ของจีนขณะร่วมการประชุมในกรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 31 ต.ค. เจ้าหน้าที่จีนออกมาเปิดเผยว่า การเยือนพม่าของผู้นำจีนเพื่อเข้าร่วมการประชุมนั้นไม่มีหมายที่จะพบหารือกับนางอองซานซูจี แต่คาดว่าจะมีการประกาศมอบความช่วยเหลือชุดใหม่ให้กับพม่า รวมทั้งข้อตกลงต่างๆ.-- Agence France-Presse/Pool/Takaki Yajima.</font></b>

รอยเตอร์ - นายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียง ของจีน จะไม่พบหารือกับนางอองซานซูจี หัวหน้าฝ่ายค้านพม่า ในระหว่างการเยือนพม่าสัปดาห์หน้า แต่จะประกาศความช่วยเหลือชุดใหม่และข้อตกลงอีกหลายฉบับ ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่จีนวันนี้ (6)

จีน และพม่าแต่เดิมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเนื่องจากพม่าต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อนบ้านทางเหนือที่มีอำนาจรายนี้ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ และการทูตขณะที่ตกอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก ก่อนที่จะเริ่มปฏิรูปการเมืองเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา และปักกิ่งเฝ้ามองด้วยความกังวลตั้งแต่รัฐบาลชุดใหม่หันไปหาสหรัฐฯ

ในสัปดาห์นี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของซูจี กล่าวว่า ซูจีจะเดินทางเยือนจีนเดือนหน้า แม้ว่าซูจีจะกล่าวในภายหลังว่าการเยือนนั้นยังไม่ยืนยันก็ตาม

นายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียง จะเยือนพม่าเพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับภูมิภาค และยังเป็นการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการอีกด้วย แต่การเยือนครั้งนี้ไม่มีแผนที่จะพบหารือกับนางซูจี ตามการระบุของ หลิว เจิ้นหมิน รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศของจีน

“การเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียง เป็นการเยือนระยะสั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการจัดการระดับทวิภาคีกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง เราไม่มีนัดหมายอื่น” หลิว กล่าวในการแถลงข่าว

“ในส่วนของฝ่ายพม่าที่ประกาศถึงการเยือนจีนของอองซานซูจีนั้น เรายังไม่ได้รับการยืนยันในเรื่องนี้ เพียงแค่ได้ยินรายงานจากพม่า ผมไม่แน่ใจว่าการเตรียมการถัดไปจะเป็นสิ่งใด” หลิว กล่าว

นับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่อำนาจในเดือน มี.ค.2554 รัฐบาลนักปฏิรูปของพม่าได้พยายามที่จะลดการพึ่งพาจีนจากที่เคยยึดเหนี่ยวไว้ในช่วงหลายปีของการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกอันเนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า

จีนเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของพม่าที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าสนใจพม่าเพียงเพราะทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ โดยเฉพาะโครงการท่อส่งน้ำมัน และน้ำมัน และโครงการเขื่อนไฟฟ้า

ในปี 2554 ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ระงับโครงการเขื่อนมิตโสน มูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ที่จีนสนับสนุน ซึ่งไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเขื่อนแห่งนี้ 90% จะถูกส่งไปจีน

อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วนรัฐมนตรีพาณิชย์จีน กล่าวว่า ผู้นำจีนจะประกาศแพกเกจความช่วยเหลือใหม่เพื่อช่วยพม่าพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากร รวมทั้งชุดข้อตกลงเกี่ยวกับพลังงาน และการเกษตร.
กำลังโหลดความคิดเห็น