xs
xsm
sm
md
lg

ปินส์เผยเวียดนาม-อินโดฯ-บรูไน หนุนแผนลดความตึงเครียดทะเลจีนใต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีเบนิกโน อะคีโน ของฟิลิปปินส์ (ขวา) และนายอัลเบิร์ต เดล โรซาริโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ (ซ้าย) ขณะเข้าร่วมพิธีปิดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 20 ในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2555 ล่าสุดฟิลิปปินส์เผยว่าจะยกแผนคลายความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ที่ได้รับการสนับสนุนจาก 3 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ขึ้นหารือในที่ประชุมระดับภูมิภาคที่กำลังจะจัดขึ้นในพม่าสัปดาห์นี้.-- Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.</font></b>

เอเอฟพี - ฟิลิปปินส์ เผยวันนี้ (4) ว่า ได้รับเสียงสนับสนุนจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และบรูไน ต่อแผนที่จะช่วยคลายความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ที่ฟิลิปปินส์ตั้งใจจะเสนอในที่ประชุมระดับภูมิภาคในสัปดาห์นี้

จีน และหลายชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปัญหาติดขัดไม่ลงรอยกันในข้อขัดแย้งดินแดนในทะเลจีนใต้ ซึ่งปักกิ่งอ้างสิทธิอธิปไตยเกือบทั้งหมดของพื้นที่

แผนของมะนิลา เรียกร้องการยุติกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการยกระดับความตึงเครียดไว้ชั่วคราวโดยทันที และดำเนินการจัดทำแนวทางปฏิบัติ (Code of Conduct) ทางทะเล ที่เป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าสำคัญ และเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของแหล่งน้ำมัน และก๊าซปริมาณมหาศาล

แผนดังกล่าวที่คาดว่าจะถูกเสนอในที่ประชุมอาเซียนในพม่าสัปดาห์นี้ ถูกยกขึ้นหารือในระหว่างที่นายอัลเบิร์ต เดล โรซาริโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ เดินทางเยือนบรูไน เวียดนาม และอินโดนีเซีย

ชาร์ลส โฆเซ่ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ เผยว่า นายเดล โรซาริโอ เดินทางไปยังประเทศเหล่านี้เพื่อยกระดับแผนให้มีน้ำหนักเป็น 3 เท่า ซึ่งทั้ง 3 ประเทศในตอนนี้ต่างแสดงความสนับสนุนต่อแผนริเริ่มดังกล่าว

ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย และเวียดนาม รวมทั้ง จีน และไต้หวัน ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสมาชิกอาเซียน ต่างอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือพื้นที่บางส่วน หรือทั้งหมดของทะเลจีนใต้

ความตึงเครียดพุ่งสูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมื่อจีนเพิ่มความแข็งกร้าวมากขึ้นในการอ้างสิทธิอธิปไตย และการเคลื่อนแท่นขุดเจาะน้ำมันของจีนในน่านน้ำที่แย่งชิงกันอยู่ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดเหตุจลาจลต่อต้านจีนขึ้นในเวียดนาม และทำให้ความสัมพันธ์ของสองประเทศดิ่งลง

แผนของมะนิลา ยังรวมทั้งการเรียกร้องให้ดำเนินการตามปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ที่ลงนามในปี 2545 ระหว่างอาเซียน และจีน และหากลไกการจัดการที่สอดคล้องต่อกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง

การประชุมที่พม่า จะยังเกี่ยวข้องกับการหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และประเทศคู่เจรจาจากคู่ค้าหลักระดับภูมิภาคของกลุ่ม คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นอกจากนั้น จะยังมีการประชุมความมั่นคงระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับ 27 ประเทศ รวมทั้งประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ รัสเซีย และออสเตรเลีย.
กำลังโหลดความคิดเห็น