xs
xsm
sm
md
lg

จีนตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเลแท่นที่ 2 ใกล้เวียดนามกว่าเดิม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้ชุมนุมประท้วงชาวเวียดนามร้องตะโกนต่อต้านจีนในกรุงฮานอย เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. จีนระบุว่าเคลื่อนแท่นขุดเจาะน้ำมันอันที่ 2 ใกล้ชายฝั่งเวียดนามมากขึ้น ส่วนแท่นขุดเจาะน้ำมันแท่นแรกที่จีนเคลื่อนไปตั้งเมื่อต้นเดือนพ.ค. นอกชายฝั่งเวียดนามจุดชนวนการประท้วงต่อต้านจีนในหลายพื้นที่ของประเทศเมื่อเดือนก่อน และหลายจุดเปลี่ยนเป็นเหตุจลาจลที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ.--Associated Press/Tran Van Minh.</font></b>

เอพี - จีนเผยว่า ได้เคลื่อนแท่นขุดเจาะน้ำมันอันที่ 2 เข้าใกล้ชายฝั่งเวียดนามมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนที่จะอ้างสิทธิอธิปไตยดินแดนของตน และยังคงค้นหาทรัพยากรในน่านน้ำพิพาท แม้จะเผชิญหน้าตึงเครียดกับเวียดนามเกี่ยวกับแท่นขุดเจาะน้ำมันอีกแท่นหนึ่งทางใต้อยู่ก็ตาม

แท่นขุดความยาว 600 เมตร ถูกลากมาทางตะวันตกเฉียงใต้ของจุดตั้งเดิมที่อยู่ทางใต้ของเกาะไหหลำ และตั้งอยู่ในตำแหน่งใหม่ที่ใกล้กับเวียดนามมากขึ้น

คาดว่าเวียดนามจะไม่ตอบโต้รุนแรงต่อการตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันอันที่ 2 นี้ เพราะอยู่ไกลจากน่านน้ำอ่อนไหวรอบหมู่เกาะพาราเซล ที่เรือของสองฝ่ายชนกระแทกกันเป็นเวลามากกว่า 40 วันใกล้กับแท่นขุดเจาะน้ำมันอันแรก

ทางการเวียดนามได้เข้าสลายการชุมนุมขนาดเล็กต่อต้านความเคลื่อนไหวของจีน ชาวเวียดนามประมาณ 10 คน รวมตัวกันที่สวนสาธารณะในกรุงฮานอย และร้องตะโกนต่อต้านจีนเป็นเวลาไม่กี่นาทีก่อนถูกสลาย และมีผู้ชุมนุมอย่างน้อย 2 คนถูกจับตัวไป

การเคลื่อนแท่นขุดเจาะน้ำมันมีขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่จากทั้งสองฝ่ายระบุว่า ไม่มีความคืบหน้าในการหารือเมื่อวันพุธ (18) เกี่ยวกับการตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันอีกอันหนึ่งของจีนเมื่อวันที่ 1 พ.ค. ซึ่งจุดชนวนการเผชิญหน้า โดยทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือหมู่เกาะพาราเซล และกล่าวหาอีกฝ่ายหนึ่งว่า ยั่วยุเข้ากระแทกเรือรอบแท่นขุดเจาะน้ำมัน

การตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันอันแรกก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงต่อต้านจีนทั่วเวียดนามที่นำไปสู่การโจมตีโรงงานหลายร้อยแห่งที่เชื่อว่าจ้างแรงงานชาวจีน และมีโรงงานหลายแห่งสร้าง และดำเนินการโดยนักลงทุนจากไต้หวัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อขัดแย้งดังกล่าว

พรมแดนระหว่างจีน และเวียดนามในพื้นที่ของแท่นขุดเจาะน้ำมันอันที่ 2 ใกล้กับปากอ่าวตังเกี๋ยยังไม่ได้กำหนดเขตอย่างถูกต้องแม้จะมีการหารือในเรื่องนี้ถึง 5 รอบแล้วก็ตาม

จีนอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือพื้นที่เกือบทั้งหมดของทะเลจีนใต้ ที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นเส้นทางเดินเรือที่คึกคักที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่นำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งฟิลิปปินส์.
กำลังโหลดความคิดเห็น