xs
xsm
sm
md
lg

“ฮุน มาเนต” ร่วมพิธีเปิดการซ้อมร่วมทางทหาร “อังกอร์เซนทิเนล 2014”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

br><FONT color=#000033>พล.ท.ฮุน มาเนต และพล.จ.จอห์น กู๊ดเดล เดินตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ระหว่างการฝึกซ้อมร่วมทางทหารกัมพูชา-สหรัฐฯ ในจ.กำปงสะปือ กัมพูชา วันที่ 21 เม.ย. การฝึกซ้อมร่วมทางทหารประจำปีครั้งนี้จะดำเนินเป็นเวลา 10 วัน เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคและเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสองประเทศ.-- Xinhua/Phearum.</font></b>

ซินหวา - สถานทูตสหรัฐฯ ออกคำแถลงระบุว่า กัมพูชา และสหรัฐฯ ในวันนี้ (21) ได้เริ่มฝึกซ้อมร่วมทางทหารเป็นเวลา 10 วัน เพื่อส่งเสริมความสงบสุข และความมั่นคงของภูมิภาค และเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหารระหว่าง 2 ประเทศ

การฝึกซ้อมร่วมประจำปีภายใต้ชื่อรหัส “อังกอร์ เซนทิเนล 2014” ในครั้งนี้ พล.ท.ฮุน มาเนต บุตรชายคนโตของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ซึ่งเป็นรองผู้บัญชาการกองทัพบกกัมพูชา และ พล.จ.จอห์น กู๊ดเดล จากกองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก ได้ทำพิธีเปิดยังศูนย์ฝึกอบรมกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติ ที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญ ทางตะวันตกราว 70 กม.

คำแถลงระบุว่า เจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชามากกว่า 370 นาย และเจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐฯ 100 นาย ได้เข้าร่วมในการฝึกซ้อมนี้ ที่มุ่งไปยังการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการบรรเทาภัยพิบัติ เช่น การฝึกซ้อมเจ้าหน้าที่ทหาร การแลกเปลี่ยนทางวิศวกรรม การฝึกอบรมทางการแพทย์ และกิจกรรมในการเตรียมพร้อมกองกำลังทหารกัมพูชาเพื่อปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ เป็นต้น

พล.จ.กู๊ดเดล กล่าวว่า การฝึกซ้อมเป็นการยืนยันถึงความสำคัญของความพยายามที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีของกองทัพสหรัฐฯ ประจำกองบัญชาการภาคพื้นแปซิฟิก ต่อการมีส่วนร่วมกับกองทัพแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ที่การฝึกซ้อมถูกออกแบบให้ส่งเสริมสันติภาพ และความมั่นคงในภูมิภาค และการฝึกซ้อมนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศใกล้ชิดยิ่งขึ้นในฐานะพันธมิตร รวมทั้งการเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินการภารกิจให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ

พล.ท.ฮุน มาเนต กล่าวว่า การฝึกซ้อมแสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออันดีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯ และจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารระหว่าง 2 ประเทศให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น การฝึกซ้อมยังมีความสำคัญต่อการเสริมศักยภาพของกองกำลังทหารของกัมพูชา และการแลกเปลี่ยนยุทธวิธี เทคนิค และความเชี่ยวชาญต่างๆ ระหว่างกองทัพของ 2 ประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น