xs
xsm
sm
md
lg

โรงเรียนสอนภาษามือเปิดโลกใบใหม่ให้คนหูหนวกเขมร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2556 นักเรียนหูหนวกกำลังฝึกงานในร้านตัดผม ในกรุงพนมเปญ กัมพูชาเริ่มมีภาษามือเป็นของตัวเองในช่วงปลายทศวรรษ 1990 โดยบาทหลวงชาวอเมริกันที่เริ่มต้นพัฒนาภาษามือเวอร์ชั่นเขมรด้วยความช่วยเหลือจากนักภาษาศาสตร์และนักวิจัย.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.</font></b>

เอเอฟพี - ร้านทำผมแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา เมื่อคุณเดินเข้าไปกลับพบแต่ความเงียบไร้เสียงพูดคุยอย่างที่ควรจะเป็น เพราะร้านทำผมแห่งนี้ช่างทำผมทุกคนเป็นคนหูหนวก

ช่างทำผมเหล่านี้เรียนจบเพียงแค่หลักสูตรการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นผู้หูหนวกในกัมพูชา ประเทศที่คนที่มีปัญหาการได้ยินส่วนใหญ่ไม่เคยมีโอกาสได้เรียนรู้ภาษามือ

“ผมไม่ได้ติดต่อพูดคุยกับคนนอกครอบครัว มันเหมือนกับติดอยู่ในคุก ผมติดอยู่ในนั้นไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่มีเงิน ไม่มีความรู้” เอือน ดารง ช่างตัดผมฝึกหัด อายุ 27 ปี อธิบายด้วยภาษามือเขมร

กัมพูชาเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่มีภาษามือของตัวเอง จนกระทั่งช่วงปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นผลมาจากการทำงานของ ชาร์ลี ดิตต์มายเออร์ บาทหลวงชาวอเมริกัน ที่ริเริ่มพัฒนาภาษามือในแบบฉบับของกัมพูชาด้วยความช่วยเหลือจากนักภาษาศาสตร์ และนักวิจัยต่างชาติ หลังจากดิตต์มายเออร์ เดินทางมาทำหน้าที่ในกัมพูชาเมื่อ 13 ปีก่อน

“คนที่มาเรียนกับเราอายุมีทั้งอายุ 25 ปี 30 ปี 35 ปี พวกเขาไม่เคยเรียนหนังสือในโรงเรียนมาก่อนเลยในชีวิต ทำให้คนเหล่านี้ไม่มีภาษา” ดิตต์มายเออร์ กล่าว

โครงการพัฒนาคนหูหนวก (DDP) ของดิตต์มายเออร์ เป็นหนึ่งใน 2 โครงการ ที่ให้การศึกษาแก่ผู้มีปัญหาการได้ยินในกัมพูชา โดยอีกโครงการหนึ่งนั้นเป็นโครงการสำหรับเด็ก

นักเรียนหูหนวกประมาณ 30 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป จะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตรเป็นเวลา 2 ปี ที่ศูนย์ DDP ในกรุงพนมเปญ โดยจะเรียนเกี่ยวกับภาษามือ การเขียน อ่าน และทักษะชีวิตอื่นๆ และในปีที่ 3 จะเป็นช่วงของการฝึกงาน เช่น ที่ร้านทำผม ที่นักเรียนจะได้รับคำแนะนำด้วยภาษามือเกี่ยวกับวิธีตัดผม โกนหนวด และทำความสะอาดหู
<br><FONT color=#000033>ชาร์ลี ดิตต์มายเออร์ (ซ้าย) ใช้ภาษามือสื่อสารกับนักเรียนหูหนวกชาวกัมพูชา ในห้องเรียน ในกรุงพนมเปญ.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.</font></b>
<br><FONT color=#000033>บรรยากาศการสอนภาษามือภายในห้องเรียน ที่ศูนย์ DDP ในกรุงพนมเปญ.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.</font></b>
คนหูหนวกจำนวนมากใช้ชีวิตทำงานอยู่ในทุ่งนา หรือเลี้ยงสัตว์ ไม่มีใครสอนคนเหล่านี้ถึงวิธีการใช้ภาษามือ

“ผมอยู่เพียงลำพัง มันเป็นชีวิตที่น่าเศร้า ผมไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้เลย ไม่สามารถที่จะพูดคุยกับครอบครัวของตัวเองได้” ดารง ที่ครั้งหนึ่งเคยคิดว่าตัวเองเป็นคนหูหนวกเพียงคนเดียวในโลก กล่าว

ดารง เกิดมาในครอบครัวเกษตรกร ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน ดารง เป็นเพียงคนเดียวที่ไม่ได้เรียนหนังสือ

“ผมถูกทิ้งให้อยู่บ้าน เลี้ยงวัว ตกปลา และทำงานในสวน ขณะที่พวกเขาออกไปเรียนวิธีอ่านเขียน” ดารง กล่าว

ส่วนนักเรียนคนอื่นๆ ในโรงเรียนคนหูหนวกแห่งเดียวกันนี้ ก็มีประสบการณ์ชีวิตที่เลวร้าย เช่น นักเรียนคู่หนึ่งถูกช่วยออกมาจากศูนย์บำบัดแห่งหนึ่งของประเทศ ที่ดิตต์มายเออร์ อธิบายว่า ไม่มีทักษะทางสังคมใดๆ ไม่รู้แม้กระทั่งวิธีิอาบน้ำ

“เรากำลังพยายามที่จะให้พวกเขาเปิดรับความคิดใหม่ๆ หลังจากนั้น พวกเขาก็จะเริ่มพัฒนาภาษามือ เรามีหน้าที่บันทึกภาษามือเหล่านั้น เราวาดมัน ตรวจสอบ และใส่ลงไปในหนังสือและพจนานุกรม” ดิตต์มายเออร์ กล่าว

“เมื่อพวกเขาเริ่มต้องการที่จะพูดคุยในประเด็นใหม่ พวกเขาก็จะพัฒนารูปแบบภาษามือใหม่ๆ ขึ้นมา ภาษามือพวกนี้ไม่ควรมาจากคนที่ฟังพูดได้ แต่มันควรมาจากคนหูหนวกด้วยกัน และเมื่อนั้น ชีวิตพวกเขาก็จะเปิดกว้างออกไป ภาษามือของพวกเขาก็เติบโตขยายตามไปด้วย โลกของพวกเขาก็จะกว้างขึ้นอีก”
<br><FONT color=#000033>นักเรียนหูหนวกเหล่านี้จะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตรภายในศูนย์ 2 ปี ที่ประกอบไปด้วยการเรียนภาษามือ เขียน อ่าน และทักษะชีวิตต่างๆ ก่อนออกไปฝึกงานอีก 1 ปี.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.</font></b>

ทั่วทั้งประเทศคาดว่ามีคนหูหนวกมากกว่า 5,000 คน และแค่เพียงเศษเสี้ยวเท่านั้นที่ได้เรียนภาษามือ และสำหรับผู้ที่รู้ภาษามือ ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไป

“ฉันสามารถสื่อสารได้แล้วในตอนนี้ ผู้คนเลิกที่จะเพิกเฉย หรือเลือกปฏิบัติกับฉัน ไม่เหมือนเวลาที่อยู่บ้านหรือที่หมู่บ้าน” เค็ง นัธ นักเรียนอายุ 23 ปี กล่าว

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในกัมพูชาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากที่อื่น ซึ่งผู้อำนวยการด้านสิทธิผู้พิการ ของฮิวแมนไรท์วอช กล่าวว่า ในทั่วโลก เด็กและคนหนุ่มสาวที่หูหนวกมักไม่ได้รับการศึกษา รวมทั้งภาษามือ แต่ภาษามือนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนหูหนวกเพื่อที่จะสามารถสื่อสาร แสดงออก และเรียนรู้

สมาพันธ์คนหูหนวกโลก (WDF) ได้รณรงค์การเข้าถึงการศึกษาที่ดียิ่งขึ้นสำหรับคนหูหนวกกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาที่ขาดครูผู้ฝึกสอนภาษามือที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี และในหลายๆ ประเทศ คุณภาพการศึกษาสำหรับคนหูหนวกยังอยู่ในระดับต่ำ และอัตราการไม่รู้หนังสืออยู่ในระดับสูง

สิ่งแรกที่นักเรียนต้องทำเมื่อเข้ามายังศูนย์ DDP ในกรุงพนมเปญ คือ เลือกชื่อภาษามือของตัวเอง อันเป็นก้าวสำคัญในการทิ้งชีวิตโดดเดี่ยวไว้เบื้องหลัง

“ผมได้พบกับคนหูหนวกมากมายที่นี่ และตอนนี้เราเป็นเพื่อนกัน ผมไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวอีกต่อไปแล้ว” ดารง กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น