xs
xsm
sm
md
lg

คลิปตื่นตาตื่นใจ เวียดจับปลาตัวโตๆ ได้มากมายผลพลอยได้จากพายุ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ต่างไปจากคอมมูนอื่นๆ ใน จ.ซยาลาย (Gia Lai) ชุมชนย่านอ่างเก็บน้ำอายุนห่า (Ayun Ha) สามารถจับปลาได้อย่างมากมายในช่วงพายุพัดเข้าติดๆ กันเดือนที่แล้ว ขณะที่คอมมูนอื่นๆ ใช้แหหรืออวนหลังเล็กดักหรือทอดหว่าน และได้แต่ปลาตัวเล็ก ชุมชนที่อยู่ตอนใต้ของอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ได้แต่ปลาตัวโต

ตามรายงานของเวียดนามเน็ตสำนักข่าวยอดนิยมภาษาเวียดนาม เครื่องมือดักปลาขนาดใหญ่ที่เห็นในคลิปนี้เป็นนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมาแล้วถึง 3 ครั้งในการประกวดระดับจังหวัด ครั้งล่าสุด เมื่อปี 2550 และเคยนำออกใช้มาแล้วหลายครั้ง แต่ครั้งนี้น่าตื่นตาตื่นใจมากที่สุดในช่วงที่น้ำล้นอ่างเก็บน้ำ เนื่องจากฝนตกหนักตั้งแต่ดีเปรสชันลูกใหญ่พัดเข้าเขตในช่วงปลายเดือน ส.ค. และตามมาด้วยไต้ฝุ่นหวูติ๊บ (Wutip)

เครื่องมือดักปลาที่ประกอบด้วยโครงเหล็กอันแข็งแรงแน่นหนา กับตะแกรงเหล็กขนาดใหญ่ เมื่อนำไปกั้นขวางทางน้ำไหลใต้อ่างเก็บน้ำก็จะจับปลาตัวโตได้อย่างมากมาย โดยปล่อยปลาตัวเล็กที่ไม่ต้องการให้หลุดลอดใต้ท้อง และผ่านทางน้ำไหลที่ออกแบบเอาไว้อย่างปลอดภัย

เวียดนามเน็ตไม่ได้รายงานในรายละเอียดว่า เหตุการณ์ในคลิปดำเนินการโดยเอกชน หรือทางการในระดับท้องถิ่น แต่กล่าวว่าปีนี้นับเป็นปรากฏการณ์แห่งการจับปลาในเขตที่ราบสูงตอนกลางของประเทศที่ดักจับได้แต่ตัวโต และได้จำนวนมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งปลาหนัง และปลาเกล็ด.
.
<bR><FONT color=#000033>เป็นนวัตกรรมที่ไม่ได้สงวนลิขสิทธิ์ สื่อออนไลน์ภาษาเวียดนามไม่ได้บอกว่าที่เห็นในคลิปนี้เป็นของเอกชนหรือของทางการท้องถิ่น แต่ปีนี้ จ.ซยาลาย (Gia Lai) จับปลาได้มากเป็นประวัติกาลด้วยเครื่องมือที่ใช้หลักการคล้ายๆ กันกับ หลี่ เครื่องมือหาปลาที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีทั้งในลาวและไทย.</b>
มันมาจนได้.. ไต้ฝุ่น “หวูติ๊บ” อีสาน-น่าน-พิษณุโลกมีลุ้น
มันมาจนได้.. ไต้ฝุ่น “หวูติ๊บ” อีสาน-น่าน-พิษณุโลกมีลุ้น
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เวียดนามสั่งรับมือไต้ฝุ่นลูกใหม่เต็มพิกัดในวันเสาร์ 28 ก.ย.นี้ ในขณะที่ท้องทะเลกำลังปั่นป่วนหนักด้วยอิทธิฤทธิ์ของพายุลูกใหญ่ที่คาดว่าจะพัดเข้าถึงฝั่งในอีก 48 ชั่วโมงข้างหน้า ภาพจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT ทีเผยแพร่โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาหลายแห่งในย่านนี้แสดงให้เห็นไต้ฝุ่นระดับ 1 กำลังปั่นไอน้ำขึ้นคละคลุ้งบรรยากาศในย่านกลางทะเลจีนใต้ และศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่นของกองทัพเรือสหรัฐพยากรณ์ว่า ปลายทางของมันต้นสัปดาห์หน้าอาจจะอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย หรืออาจไปได้ไกลถึงแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อกลายเป็นดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ
กำลังโหลดความคิดเห็น