xs
xsm
sm
md
lg

ต้องขอบคุณ “ปลาบึก” ไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่ช่วยไล่ “อูซางิ”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ภาพดาวเทียม MTSAT โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติฟิลิปปินส์ แสดงตำแหน่งพายุโซนร้อนอูซางิ (Usagi) กับตำแหน่งของปลาบึก หรือ ปาบึก (Pabuk) ใต้ฝุ่นชื่อลาวเมื่อเวลา 03.32 UTC หรือ 12.32 น.วันจันทร์ 23 ก.ย.2556 ตามเวลาในฟิลิปปินส์ และแสดงให้เห็นทิศทางการไหลเทของมวลไอน้ำตามแรงดึงดูดมหาศาลของไต้ฝุ่นระดับ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิก ปาบึกช่วยทำให้พายุอูซางิมีอายุหดสั้นลง 24-48 ชั่วโมงทีเดียว โปรดชม Satellite Loop (ตามลิงค์ในย่อหน้าที่ 5 ของข่าว) ประกอบ. </b>
[หรือ..คลิกที่นี่]

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ธรรมชาติบางทีก็สร้างสิ่งที่คาดไม่ถึงขึ้นมาให้ปรากฏ เช่นเดียวกันกับการก่อเกิดของไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่โผล่ขึ้นมากลางคัน ในขณะที่อูซางิใต้ฝุ่นลูกใหญ่กำลังทำลายล้างอยู่ทางแถบตอนใต้ของจีนวันจันทร์ 23 ก.ย.หลังจากมีชาวจีนตกเป็นเหยื่อไปอย่างน้อย 25 ชีวิต สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง พายุที่สุดอันตรายลูกนี้ฉับพลันก็สลายตัวไปอย่างรวดเร็วเกินคาด

อูซางิ อ่อนตัวลงเป็นพายุโซนร้อนคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในบริเวณมณฑลกวางตุ้ง-มณฑลกว่างซี ของจีน และอ่อนตัวลงเป็นดีเปรสชันเมื่อเวลาประมาณบ่ายโมงวันจันทร์นี้ และคาดว่าจะมลายเป็นหย่อมความกดอากาศสูงในช่วงเย็นใกล้ชายแดนเวียดนาม ทำให้ไปไม่ถึงชายแดนไทย-ลาวที่หลายท้องถิ่นกำลังประสบอุทกภัยอยู่ในขณะนี้

แต่การเกิดปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หากนำภาพอินฟราเรดโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาปะติดปะต่อกันก็จะสามารถอธิบายเรื่องนี้ได้

“ปลาบึก” หรือ “ปา-บึก” (Pabuk) ไต้ฝุ่นชื่อลาว ก่อเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมูเกาะฟิลิปปินส์ และทิศใต้ของเกาะญี่ปุ่น ในตอนสายวันจันทร์นี้ ได้ปั่นความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ภาพดาวเทียมแสดงให้เห็นไต้ฝุ่นลูกใหญ่หมุนคว้างทวนเข็มนาฬิกาอยู่กลางมหาสมุทร และดูดเอามวลไอน้ำเป็นทางยาวจนถึงย่านทะเลจีนใต้

ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องโดยใช้ภาพจากดาวเทียม (Satellite Loop) หลายสิบภาพเรียงเวลากันตั้งแต่ 22.00 น.วันอาทิตย์ จนถึงบ่ายวันจันทร์นี้ แสดงให้เห็นการดึงดูด และแก่งแย่งพลังงานกันระหว่างไต้ฝุ่นทั้ง 2 ลูก ก่อนจะลงเอยด้วย “ชัยชนะ” ของปลาบึก ซึ่งได้ให้คำตอบคำถามที่ว่าเพราะเหตุใดอูซางิ จึงสลายตัวไปเร็วกว่าที่สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งต่างๆ พยากรณ์ก่อนหน้านี้ถึง 24-48 ชั่วโมง

สำหรับเวียดนาม แม้ว่า อูซางิ จะเคลื่อนไปไม่ถึง แต่ขนาดอันมหึมาของมันได้สร้างแรงกดดันอย่างใหญ่หลวงทำให้ภูมิอากาศทางตอนเหนือแปรปรวนอย่างหนัก เกิดฝนตกหนักในหลายจังหวัด ทั้งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋รายงานในเว็บไซต์ข่าวภาษาเวียดนาม

ในหลายย่านของกรุงฮานอย น้ำเพิ่งหายไปจากท้องถนนได้เพียงไม่กี่วัน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางได้ออกเตือนในบ่ายวันจันทร์นี้ให้ท้องถิ่นต่างๆ ในเมืองหลวงเตรียมรับมือฝนตกหนัก และน้ำท่วมอีกครั้งตั้งแต่คืนนี้เป็นต้นไป

ทั้งหมดเป็นอิทธิพลจากดีเปรสชันที่ปกคลุมอาณาบริเวณกว้าง ตั้งแต่มณฑลกว่างซีของจีน หลังจากพายุโซนร้อนอูซางิสลายตัวไปในบ่ายวันเดียวกัน แต่ชาวเวียดนามจะต้องมี่ลืมขอบคุณไต้ฝุ่นปลาบึก ไม่เช่นนั้นสถานการณ์ก็อาจจะเลวร้ายอย่างคาดไม่ถึง.
.
<bR ><FONT color=#000033>การ แย่งพลังงาน ลงเอยด้วยชัยชนะของไต้ฝุ่นปลาบึกในภาพอินฟราเรดจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT เวลา 03.32 UTC โดย Tropical Storm Risk ในกรุงลอนดอน หรือ 10.32 น.วันจันทน์ 23 ก.ย.2556 เวลาในประเทศไทย ปลาบึกก่อเกิดขึ้นมาในช่วงวิกฤติและช่วยทำให้ไต้ฝุ่นอูซางิซึ่งมีศักยภาพในการทำลายล้างสูงยิ่งต้องอายุหดสั้นลงเร็วกว่ากำหนด หลายฝ่ายจะต้องขอบคุณไต้ฝุ่นชื่อลาวลูกนี้และขอบคุณพระแม่แห่งธรรมชาติผู้ยิ่งใหญ่.</b>
<bR ><FONT color=#000033>แผนภูมิโดยศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับพายุรุนแรง (SWIC) ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) แสดงให้เห็นชัดๆ ตำแหน่งของพายุโซนร้อนอูซางิกับไต้ฝุ่นปลาบึกเมื่อเวลา 14.25 UTC หรือ 21.25 น.วันที่ 23 ก.ย.ตามเวลาในประเทศไทย ไต้ฝุ่นชื่อลาวก่อเกิดขึ้นมาถูกที่ถูกเวลาในยามที่ทั้งภูมิภาคแม่น้ำโขงกำลังต้องการความช่วยเหลือ.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น