สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ เผยพายุดีเปรสชันเคลื่อนตัวทางตะวันตกอย่างช้าๆ ก่อนค่อยๆ อ่อนกำลังลง คาดสลายตัว 20 ก.ย.เชื่อไม่ส่งผลน้ำท่วมพื้นที่ทุ่งรังสิตและอยุธยา แต่ต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง
วันนี้ (19 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รศนา ปฏิมาประกร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) กล่าวภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการน้ำว่า ขณะนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานความรุนแรงของพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ ที่ได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางเมื่อคืนวันที่ 18 ก.ย.และได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเช้าที่ 19 ก.ย.เมื่อเวลา 10.00 น.มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
ทั้งนี้ กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกอย่างช้าๆ ด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ที่จะเคลื่อนตัวผ่านแนวจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และนครราชสีมา จากนั้นจะเริ่มค่อยๆ อ่อนกำลังลง คาดว่า จะสลายตัวบริเวณภาคกลางวันที่ 20 ก.ย.ทำให้ผลกระทบที่จากพายุดีเปรสชันลูกนี้ลดความรุนแรงลงส่งผลให้ปริมาณฝนตกระหว่างวันที่ 21-22 ก.ย.นี้ ไม่หนักเท่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้จนอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ทุ่งรังสิต และบางพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้ประชาชนคลายความกังวลลงได้
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และนครราชสีมา และภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดสระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด ส่วนพื้นที่ประกาศแจ้งเตือนภัยวันนี้จะเกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำเพิ่มขึ้นบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยาบริเวณอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และ อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งได้ประกาศยกเลิกการแจ้งเตือนและเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ในจังหวัดสุโขทัยและเพชรบูรณ์
น.ส.รศนา กล่าวต่อว่า คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้กำชับให้ สบอช. ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำและน้ำฝนอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เนื่องจากยังไม่หมดฤดูฝน คาดว่า จะมีพายุพาดผ่านและเข้าประเทศไทยโดยตรงอยู่ ส่วนกรณีประชาชนที่อาศัยริมแม่น้ำเจ้าพระยาในอำเภอบางบาลเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เป็นพื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำ และอยู่ปลายน้ำ หรือท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดน้ำท่วมนั้นมาจากการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ของประเทศ จะระบายน้ำล้นฉุกเฉินบริเวณแนวคันกั้นน้ำ ประกอบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ด้านบนมีการระบายน้ำของจากนาข้าว ทำให้เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำให้พื้นที่ดังกล่าว
วันนี้ (19 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รศนา ปฏิมาประกร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) กล่าวภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการน้ำว่า ขณะนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานความรุนแรงของพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ ที่ได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางเมื่อคืนวันที่ 18 ก.ย.และได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเช้าที่ 19 ก.ย.เมื่อเวลา 10.00 น.มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
ทั้งนี้ กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกอย่างช้าๆ ด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ที่จะเคลื่อนตัวผ่านแนวจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และนครราชสีมา จากนั้นจะเริ่มค่อยๆ อ่อนกำลังลง คาดว่า จะสลายตัวบริเวณภาคกลางวันที่ 20 ก.ย.ทำให้ผลกระทบที่จากพายุดีเปรสชันลูกนี้ลดความรุนแรงลงส่งผลให้ปริมาณฝนตกระหว่างวันที่ 21-22 ก.ย.นี้ ไม่หนักเท่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้จนอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ทุ่งรังสิต และบางพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้ประชาชนคลายความกังวลลงได้
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และนครราชสีมา และภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดสระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด ส่วนพื้นที่ประกาศแจ้งเตือนภัยวันนี้จะเกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำเพิ่มขึ้นบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยาบริเวณอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และ อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งได้ประกาศยกเลิกการแจ้งเตือนและเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ในจังหวัดสุโขทัยและเพชรบูรณ์
น.ส.รศนา กล่าวต่อว่า คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้กำชับให้ สบอช. ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำและน้ำฝนอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เนื่องจากยังไม่หมดฤดูฝน คาดว่า จะมีพายุพาดผ่านและเข้าประเทศไทยโดยตรงอยู่ ส่วนกรณีประชาชนที่อาศัยริมแม่น้ำเจ้าพระยาในอำเภอบางบาลเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เป็นพื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำ และอยู่ปลายน้ำ หรือท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดน้ำท่วมนั้นมาจากการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ของประเทศ จะระบายน้ำล้นฉุกเฉินบริเวณแนวคันกั้นน้ำ ประกอบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ด้านบนมีการระบายน้ำของจากนาข้าว ทำให้เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำให้พื้นที่ดังกล่าว