xs
xsm
sm
md
lg

บริษัทไทยยื่นเสนอสร้างโรงไฟฟ้าพลังก๊าซ 60 เมกะวัตต์ในทวาย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>พื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 60 เมกะวัตต์ ในพื้นที่กานบอก เขตตะนาวศรี.  --Photo-Phyo Zin/EMG.</font></b>

อีเลฟเว่นนิวส์ - บริษัท Admin Power & Utility Co Ltd ที่มีสำนักงานในไทย ได้ยื่นเสนอต่อกระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่าที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 60 เมกะวัตต์ ใน อ.ทวาย ที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติจากโครงการก๊าซซอว์ติก้าในการผลิต เจ้าหน้าที่จากบริษัทของไทยเผย

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการโรงไฟฟ้าพลังก๊าซขนาด 500 เมกะวัตต์ โดยโรงไฟฟ้าขนาด 60 เมกะวัตต์แห่งนี้จะสร้างขึ้นภายในเวลา 8 เดือน เพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปยังพื้นที่ในทวายหลังได้รับอนุมัติจากกระทรวง

เจ้าหน้าที่ และทีมวิศวกรของบริษัทได้เข้าตรวจพื้นที่ในทวาย เมื่อวันเสาร์ (21) ที่ผ่านมา เพื่อศึกษาพื้นที่สำหรับก่อสร้างโรงไฟฟ้า และได้เข้าพบหารือกับมุขมนตรีของเขตตะนาวศรี

“บริษัท Admin Power & Utility Co Ltd ได้ลงนามในข้อตกลงความเข้าใจกับกระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่า เพื่อดำเนินการสำรวจเบื้องต้นในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติในพื้นที่กานบอก (Kanbauk) ซึ่งในเวลานี้เราอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการสำรวจเบื้องต้น โครงการโรงไฟฟ้าแห่งนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 500 เมกะวัตต์ รวมทั้งการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า และโรงไฟฟ้า (สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าขนาด 500 เมกะวัตต์)” เจ้าหน้าที่จาก Admin Power & Utility Co Ltd กล่าว

“เราจะเริ่มรับก๊าซธรรมชาติเข้าสู่กระบวนการผลิตประมาณเดือน มี.ค.2557 เราจะพยายามที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 60 เมกะวัตต์ให้ได้โดยเร็วเพื่อไม่ให้สูญเสียก๊าซ ในเวลาเดียวกัน เราจะสร้างสายส่งกระแสไฟฟ้า 230 KVA และเราได้ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 60 เมกะวัตต์ไว้แล้ว” เจ้าหน้าที่ระบุ

“โรงไฟฟ้าแห่งนี้สามารถสำรองไฟฟ้าให้แก่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าจะถูกส่งไปยังกระทรวงพลังงานไฟฟ้า กระทรวงจะจัดสรรไฟฟ้าไปยังพื้นที่ต่างๆ ตามความจำเป็น หลังโครงข่ายสายส่งกระแสไฟฟ้ากานบอก-ทวาย เสร็จสมบูรณ์ เราพร้อมที่จะจัดสรรไฟฟ้าไปยังพื้นที่ใกล้เคียงที่อยู่ใกล้กับสายส่งกระแสไฟฟ้า” เจ้าหน้าที่ตอบคำถามของสำนักข่าวอีเลฟเว่นเดลี่

นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ยังระบุว่า บริษัทจะตั้งอัตราค่าไฟตามที่กระทรวงกำหนด โดยบริษัทจะรับผิดชอบแต่เพียงภาคส่วนการผลิตเท่านั้น

“เราต้องการให้กระทรวงพลังงานไฟฟ้าอนุมัติโครงการโดยเร็ว นับตั้งแต่รัฐยะไข่มีไฟฟ้าจากโครงการฉ่วย (Shwe) ในอัตราค่าไฟของรัฐบาล ประชาชนที่นี่ก็ต้องการไฟฟ้าเช่นกัน กระทรวงพลังงานไฟฟ้าจำเป็นที่จะต้องยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการการลงทุนพม่า (MIC) โดยเร็ว และแม้ว่าบริษัทจะระบุไว้ว่า ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 8 เดือน แต่พวกเขาสามารถที่จะทำให้สำเร็จได้ภายใน 4 เดือน หากงานด้านเอกสารเสร็จเร็วขึ้น” วิน ชเว รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมของเขตตะนาวศรี กล่าว

“สำคัญอย่างยิ่งที่อัตราค่าไฟที่นี่จะเท่ากันกับในรัฐยะไข่ หากค่าไฟในรัฐยะไข่หน่วยละ 35 จ๊าต ที่ทวายก็น่าจะ 35 จ๊าตเช่นกัน แน่นอนว่าจะมีกิจการเกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมากเมื่อเรามีไฟฟ้า” วิน ชเว กล่าว
.
<br><FONT color=#000033>ภากจากเว็บไซต์กลุ่มอนุรักษ์สภาพแวดล้อมต่อต้านโครงการของบริษัทอิตาเลียนไทยร่วมกับราษฎรในท้องถิ่นปักป้าย หยุดการเอามาบตาพุดมาตั้งที่ทวาย.</b>
.
ตามที่วิน ชเว ระบุ บริษัทจะสามารถเริ่มต้นดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อลงนามข้อตกลงความเข้าใจ และคาดว่าจะเริ่มโครงการได้ประมาณเดือน มี.ค.

โรงไฟฟ้าขนาด 500 เมกะวัตต์ จะสร้างขึ้นในพื้นที่กานบอก ห่างจากทวายราว 96 กิโลเมตร โดยบริษัทได้ออกแบบที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 160 เมกะวัตต์ ในช่วงระหว่างเดือน ก.พ.2557 ถึงเดือน ม.ค.2558 ในระยะแรกของโครงการ และโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 180 เมกะวัตต์ ระหว่างเดือน ก.ค.2557 ถึงเดือน ก.ค.2558 ในระยะที่สอง และโครงการโรงไฟฟ้าขนาด 160 เมกะวัตต์ ระหว่างเดือน ธ.ค.2558 ถึงเดือน ธ.ค.2559 ในระยะที่สาม

จากการที่เขตตะนาวศรีไม่ได้อยู่ในระบบโครงข่ายสายส่งกระแสไฟฟ้าของชาติ ประชาชนในพื้นที่ต้องจ่ายค่าไฟหน่วยละ 460 จ๊าต ปัจจุบัน การใช้พลังงานไฟฟ้าในทวาย และพื้นที่ใกล้เคียงอยู่ที่ประมาณ 2 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้หากค่าไฟถูกลง

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้จัดส่งก๊าซ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากโครงการซอติก้า (Zawtika) ให้แก่โรงไฟฟ้า

นอกเหนือไปจากโครงการโรงไฟฟ้า 500 เมกะวัตต์แล้ว ยังมีโครงการอื่นๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการในเขตตะนาวศรี เช่น โครงการไฟฟ้าพลังงานลมขนาด 200 เมกะวัตต์ ในทรีฮิลล์ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 50 เมกะวัตต์ ใน อ.มะริด โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 8 เมกะวัตต์ ใน อ.เกาะสอง และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 500 เมกะวัตต์ ในเมืองบตปิน (Boatpyin)

พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโครงการเหล่านี้จะถูกเชื่อมต่อกับโครงข่ายสายส่งกระแสไฟฟ้ามะละแหม่ง และส่งต่อไปยังโครงข่ายสายส่งกระแสไฟฟ้าของประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น