xs
xsm
sm
md
lg

เปลี่ยนยุคมา 2 ปี ย่างกุ้งกลายเป็นเมืองรถติดหนึบไปอีกแห่ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>รถยนต์หลากชนิดทั้งเก่าและใหม่เข้าแถวยาวที่สี่แยกชเวกองไท (Shwegontai) ในย่านที่คนพลุกพล่านของกรุงเก่าย่างกุ้งวันที่ 3 ก.ค.2556 หลังจากมีรถยนต์เพิ่มขึ้นอีก 200,000 คันได้เห็นสะพานลอยข้ามแยกผุดขึ้นมา (โปรดดูภาพที่ 2 ประกอบ) ยวดยานต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่การก่อสร้างถนน-สะพานรองรับดำเนินไปอย่างล่าช้า นักวิชาการเตือนแล้วว่าพม่าอาจจะต้องการรถยนต์มากขึ้นอีกเท่าตัวในไม่กี่ปีข้างหน้าท่ามกลางการปฏิรูปอย่างรอบด้าน วันนั้นปัญหารถติดในย่างกุ้งจะย่ำแย่ลงอีก. -- REUTERS/Soe Zeya Tun.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - นครย่างกุ้ง ที่มีประชากรกว่า 6 ล้านคน กลายเป็นเมืองที่การจราจรติดขัดอย่างรุนแรงอีกแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหลายฝ่ายกล่าวโทษรัฐบาลประธานาธิบดีเต็งเส่งที่เปลี่ยนนโยบายอนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ ซึ่งที่ผ่านมา ในเมืองหลวงเก่าแห่งนี้มีรถใหม่ผุดขึ้นบนท้องถนนเกือบ 200,000 คัน

ก่อนหน้านั้น รัฐบาลห้ามนำเข้ารถยนต์อย่างเด็ดขาด แต่จะผ่อนผันให้เพียงไม่กี่กรณีซึ่งผลดีก็คือประหยัดเงินตราต่างประเทศที่หายากในยุคที่พม่าอยู่ใต้ระบอบปกครองทหาร ทั้งที่เป็นค่ายานพาหนะเอง และเงินงบประมาณที่จะต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่มหาศาลยิ่งกว่า

ในยุคก่อน รัฐบาลเป็นผู้นำเข้า และจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเองทั้งหมด ก่อนที่รัฐบาลทหารจะเริ่มแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในช่วงปลายๆ ยุค คือ ปี พ.ศ.2550-2553

เพราะฉะนั้น ใครที่เดินทางไปกรุงย่างกุ้งเพียง 2 ปีก่อนหน้านี้ ก็จะเห็นแต่รถยนต์เก่าๆ ที่จำนวนมากใช้งานมาตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังคงวิ่งอยู่ตามถนน ผ่านการซ่อมแล้วซ่อมอีกเพื่อให้ใช้งานได้ โดยเอกชนนำเข้าอะไหล่เก่ากับเครื่องยนต์เก่าจากต่างประเทศ แต่ผลดีก็คือ การจราจรที่คล่องตัวมากกว่า ในขณะที่รัฐบาลได้พยายามชักชวนให้ประชาชนทั่วไปใช้บริการรถไฟสายรอบเมืองแทน

แล้วจู่ๆ กรุงเก่าก็มีรถยนต์ชนิด และขนาดต่างๆ เพิ่มขึ้นเกือบ 2 แสนคัน ปัญหารถติดก็จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่พื้นผิวการจราจรยังมีอยู่เท่าๆ เดิมขยับขยายไม่ทันกับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นแบบทันทีทันใด สะพาน และถนนสายใหม่ก็สร้างไม่ทัน รถติดกำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในย่านตัวเมืองเก่าที่ถนนแคบ

ก่อนหน้านี้ ในเมืองหลวงพม่ามีรถยนต์ชนิดต่างๆ จำนวนเพียง 100,000 คัน กับเศษอีกเล็กน้อยเท่านั้น การนำเข้ารถใหม่ทำให้จำนวนรถเพิ่มขึ้นเป็น 303,840 คันทันที อีเลฟเว่นส์นิวส์อ้างตัวเลขของนายมี้นส่วย (Myint Swe) มุขมนตรีเขตย่างกุ้ง

“ตอนนี้ปัญหาใหญ่ก็คือ รถติดซึ่งเราได้รับการร้องเรียนมาก บางครั้งรถติดในเมืองกินเวลา 2-3 ชั่วโมง ทำให้ตำรวจจราจรต้องพยายามอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องนี้” นายมี้นส่วยกล่าว

นอกจากปัญหารถติดแล้ว ปัญหาที่ติดตามมา และชาวย่างกุ้งต้องเผชิญอยู่ทุกวันก็ยังมีอีกมาก เช่น การจอดรถเกะกะไม่เคารพกฎ สถานที่จอดรถมีไม่พอ ขับรถกิริยามารยาทไม่ดี และเจ้าหน้าที่จราจรก็มีไม่พอ นายมี้นส่วยกล่าว

หนังสือพิมพ์ฉบับนี้รายงานด้วยว่า ปัจจุบันยังมีรถนำเข้าอีกราว 5,000 คัน จอดอยู่ที่ท่าเรือติลาวารอการชำระภาษี อีกจำนวนมากจอดตามโชว์รูมต่างๆ ซึ่งวันหนึ่งข้างหน้ารถทั้งหมดก็จะลงสู่ท้องถนน เพิ่มปัญหารถติดให้หนักหน่วงยิ่งขึ้น

หลังจากตกอยู่ใต้การปกครองของระบอบทหารมานานครึ่งทศวรรษ พม่าได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในเดือน พ.ย.2553 รัฐบาลกึ่งพลเรือนชุดแรกได้เข้าบริหารประเทศในเดือน มี.ค.ปีถัดมา ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอย่างรอบด้าน ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ปลดปล่อยนักโทษการเมือง ปรับปรุงแก้ไขระบบการเงินการธนาคารให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งลอยตัวค่าเงินจ๊าต

เพียง 2 ปีเท่านั้น พม่าได้กลายเป็นปลายทางสุดฮอตสำหรับการลงทุนของต่างประเทศ การค้าขายก็คึกคัก เขตเศรษฐกิจพิเศษกำลังผุดขึ้นในย่านท่าเรือ กับย่านชานเมือง การพัฒนาอย่างรอบด้านที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วทำให้มีความต้องการการคมนาคมขนส่งที่สะดวกมากขึ้น และการนำเข้ารถยนต์รุ่นใหม่ๆ เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้

ปัจจุบัน พม่ากำลังแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดกว้างทางการเมืองยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อให้นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านสามารถเข้าชิงตำแหน่งผู้นำคนต่อไปได้ด้วย ก่อนหน้านี้ ได้เคยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบย่อยๆ มาครั้งหนึ่ง เพื่อเปิดทางให้ นางซูจี ลงสมัครเลือกตั้งซ่อมเดือน เม.ย.ปีที่แล้ว ซึ่งพรรคฝ่ายค้านชนะแบบถล่มทลาย

ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจคาดว่า พม่าอาจจะต้องนำเข้ารถยนต์อีกเท่าตัวในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ และได้กล่าวเตือนให้รัฐบาลต้องเร่งจัดมาตรการรองรับ เพราะเมื่อถึงวันนั้นปัญหาการจราจรติดขัดจะลามไปยังนครมัณฑะเลย์ กับเมืองใหญ่อื่นๆ รวมทั้งพะโค เมาะตะมะ ไกลขึ้นไปจนถึงเมืองตองยีในรัฐชาน กับสิตตเวทางตะวันตกด้วย.
.
<bR ><FONT color=#000033>สี่แยกเดียวกันกับในภาพที่ 1 วันที่ 11 ก.ย.2553 เวลาห่างกันเกือบ 3 ปีครั้งนั้นยังไม่มีการก่อสร้างสะพานข้ามแยก จากวันนั้นถึงวันนี้กรุงเก่าย่างกุ้งที่มีประชากรกว่า 6 ล้านคนมีรถยนต์เพิ่มขึ้นอีก 200,000 คัน อีกกว่า 5,000 คันกำลังจะออกจากท่าเรือและโชว์รูม การจราจรติดขัดเป็นเรื่องที่ต้องทำใจ. -- REUTERS/Soe Zeya Tun/Files.</b>
2
<bR ><FONT color=#000033>ถนนสายมหาเจดีย์บัณฑูลากลายเป็นย่านรถติดซ้ำซาก ยังมีอีกหลากหลายปัญหาที่มากับการจราจรติดขัดรวมทั้งการจอดรถเกะกะไม่เคารพกฏ ผู้ขับขี่ไร้มารยาท ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาแบบไก่กับไข่ ฯลฯ ยังไม่นับปัญหามลพิษในสภาพแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น. -- ภาพ: EMG </b>
3
<bR ><FONT color=#000033>รถยนต์หลากรุ่นต่างยุคเข้าแถวยาวที่ถนนอลัญพญาเจดีย์ที่ปรับเป็นวันเวย์วันที่ 3 ก.ค.2556 เป็นภาพเปรียบระหว่างรถเก่าที่ใช้มานาน 30-40 ปีผ่านการซ่อมแล้วซ่อมอีกกับรถเก่าที่นำเข้าในช่วง 2 ปีมานี้ นักวิชาการเตือนว่าพม่าอาจต้องนำเข้ารถอีกเท่าตัวในไม่กี่ปีข้างหน้า ในขณะที่ประเทศพัฒนาไปไม่หยุดยั้ง. -- REUTERS/Soe Zeya Tun. </b>
4
<bR ><FONT color=#000033>คนขับแท็กซี่จอดรถริมถนนสายหนึ่งในกรุงเก่าย่างกุ้งวันที่ 27 ก.ย.2554 รถคันนี้อาจจะอยู่มานานถึง 40 ปี แต่สีมันแผล็บข้างในเป็นเครื่องยนต์ใหม่มือสองและอาจจะหมายถึงช่วงล่างใหม่ทั้งหมดด้วย นโยบายห้ามนำเข้ารถยนต์ของรัฐบาลทหารในอดีตทำให้สาธารณชนต้องซ่อมรถเก่าใช้ จำนวนถูกจำกัดเอาไว้เพียง 100,000 คันเศษๆ แต่ 2 ปีมานี้มีรถใหม่นำเข้าบนท้องถนนอีก 200,000 คันตามนโยบายใหม่ทำให้จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสน. -- REUTERS/Soe Zeya Tun. </b>
5
<bR ><FONT color=#000033>รถรุ่นสิงห์สงครามก็ยังมีใช้อยู่ เป็นรถเมล์โดยสารในย่างกุ้ง กระเป๋าลงจากรถคุยกับ พขร.ระหว่างจอดรอผู้โดยสารวันที่ 27 ก.ย.2554 หรือ 2 ปีก่อนหน้านี้ ปัจจุบันย่างกุ้งมีรถทั้งเก่าและใหม่รวมกว่า 300,000 คัน ปัญหารถติดจึงไม่มีทางเลี่ยง. -- REUTERS/Soe Zeya Tun. </b>
6
กำลังโหลดความคิดเห็น