xs
xsm
sm
md
lg

กู้ระเบิดในลาวเจอไอ้อ้วน 2,000 ปอนด์ “บิ๊กบอมบ์” อื่นๆ อีกอื้อ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพจาก WWW.Sv-Galena.Com ของ Bill Shaw ทหารผ่านศึกที่เคยปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ลำเลียงระเบิดกองทัพอากาศสหรัฐที่ฐานบินอุบลราชธานีในช่วงปี 2512-2513 เจ้าตัวระบุว่าเป็นระเบิดขนาด 2,000 ปอนด์ รุ่นที่นำวิถีด้วยเลเซอร์เป็นครั้งแรก ซึ่งเครื่องบินทิ้งระเบิด เอฟ-4 แฟนธอม 2 จากที่นี่นำไปโจมตีเป้าหมายในลาว สำนักข่าวของทางการได้รายงานการพบระเบิดแบบนี้ที่ยังไม่ระเบิด 1 ลูกในแขวงสาละวัน ซึ่งเป็นการพบที่ไม่บ่อยครั้ง ในช่วงปี 2512-13 และ 2515-16 เป็นช่วงที่สหรัฐโหมทิ้งระเบิดในภาคกลาง-ภาคใต้ของลาวอย่างหนักเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงลงใต้ของฝ่ายเวียดนามเหนือ. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิดที่หลงเหลือตั้งแต่ครั้งสงครามในลาว ได้ค้นพบระเบิดขนาด 2,000 ปอนด์ลูกหนึ่ง กับระเบิดขนาดใหญ่อื่นๆ อีกจำนวนมาก ในความพยายามเก็บกู้วัตถุระเบิดในจังหวัดภาคกลางของประเทศปีนี้ ซึ่งนับเป็นลูกระเบิดขนาดใหญ่ที่สุดที่ทิ้งลงจากเครื่องบินรบของสหรัฐฯ เท่าที่ค้นพบในลาว

ระเบิดขนาด 2,000 ปอนด์ (กว่า 907 กิโลกรัม) ดังกล่าว พบในแขวงสาละวัน พร้อมกับขนาด 750 ปอนด์ 18 ลูก และ 500 ปอนด์ อีก 50 ลูก รวมจำนวนเป็น 69 ลูก ทั้งนี้ ยังไม่นับระเบิดแบบลูกหว่านที่มีขนาดเท่าๆ ลูกกอล์ฟ กระสุนปืนครก ระเบิดอาร์พีจี และ สรรพาวุธขนาดเล็กอื่นๆ อีกจำนวนมาก

ลูกระเบิดขนาดใหญ่ทั้งหมดถูกถอดชนวน และจัดเก็บเพื่อนำไปทำลายทิ้งในโอกาสต่อไป สื่อของทางการรายงาน

ตัวเลขเหล่านี้ปรากฏอยู่ในรายงานของนายสีเฮง หอมสมบัด รองเจ้าแขวงสาละวัน ที่เสนอต่อ นายพูเขียว จันทะสมบูน หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิด ซึ่งนำคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมการปฏิบัติงานวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา

ลูกระเบิด"บิ๊กบอมบ์" ทั้งหมดเก็บกู้ได้จากหลายแหล่งตามแนวทางหลวงสาย 15A ระหว่างเมืองสาละวันกับเมืองสะม่วย (ที่มุ่งไปยังชายแดน จ.เถือะเทียนเหว เวียดนาม) สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน

เท่าที่มีการรายงานผ่านสื่อของทางการในช่วงหลายปีมานี้ การเก็บกู้ลูกระเบิดขนาดใหญ่ระดับ 2,000 ปอนด์ มีไม่บ่อยครั้งนัก และถึงแม้ว่าระเบิดขนาดใหญ่จะส่งผลต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนลาวน้อยกว่าระเบิดขนาดเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกระเบิดพวง (“บอมบี้” หรือ “บอมเล็ต”) ก็ตาม แต่จะเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงหากเกิดระเบิดขึ้นมา

สื่อของทางการรายงานเหตุการณ์หนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ ต้องใช้กระสอบทรายถึง 6,000 กระสอบ ห่อหุ้มลูกระเบิดขนาด 500 ปอนด์ ก่อนจะทำลายทิ้ง

สาละวันเป็นอีกแขวง (จังหวัด) หนึ่งที่ถูกสหรัฐฯ โจมตีทิ้งระเบิดอย่างหนักไม่ต่างไปจากสะหวันนะเขต และเซกองที่มีพื้นที่ติดกัน ลงไปจนถึงแขวงอัตตะปือ ทางตอนใต้สุด เนื่องจากเป็นช่วงตัดผ่านผ่านของ “เส้นทางโฮจิมินห์” ที่ฝ่ายเวียดนามเหนือใช้ลำเลียงกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ลงสู่ภาคใต้ในสงครามต่อต้านสหรัฐฯ

รายงานของรองเจ้าแขวงระบุว่า เนื้อที่ราว 600,000 เฮกตาร์ (3.75 ล้านไร่) จากทั้งหมดกว่า 1 ล้านเฮกตาร์ ของแขวงสาละวัน ยัง “ครอบคลุมด้วยระเบิด” ที่กระจายอยู่ใน 8 เมือง (อำเภอ) ปฏิบัติการจนถึงปีที่แล้วเก็บกู้ได้กว่า 1 แสนชิ้น ในเนื้อที่เพียง 4,000 เฮกตาร์ (ราว 25,000 ไร่) ไม่ถึง 1% ของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
.





.
เริ่มจากที่นี่..ประเทศไทย www.Sv-Galena.Com
<bR ><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์แห่งเดียวกันระบุว่าเป็นระเบิดขนาด 2,000 ปอนด์ของสหรัฐ ที่ฐานบินอุบลราชธานีในช่วงปี 2512-2513 เป็นรุ่นแรกที่นำวิถีด้วยเลเซอร์ สื่อของทางการรายงานการพบระเบิดขนาดเดียวกันนี้ 1 ลูกในแขวงสาละวัน เป็นระเบิดที่หลงเหลือมาตั้งแต่ครั้งสงครามขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีรายงานการพบในดินแดนลาว.  </b>
2
<bR ><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ของทหารผ่านศึกสหรัฐคนเดียวกันที่เจ้าตัวระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของคลังระเบิดขนาด 2,000 ปอนด์ที่ฐานทัพอากาศอุบลราชธานีของสหรัฐในช่วงปี 2512-2513 ที่นี่ถูกใช้เป็นศูนย์ในการโจมตีทิ้งระเบิดทำลายเส้นทางลำเลียงของฝ่ายเวียดนามเหนือที่ตัดผ่านแขวงภาคกลางกับภาคใต้ของลาวไปยังเวียดนามใต้.</b>
3
 <br><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์แห่งเดียวกัน เจ้าตัวอธิบายว่าสมาชิกร่วมทีมกำลังจัดเตรียมบรรจุชนวนระเบิดขนาด 500 ปอนด์ ก่อนนำไปติดตั้งเครื่องบินเอฟ-4 แฟนธอม 2 ซึ่งนำไปทิ้งทำลายเส้นทางลำเลียงของฝ่ายเวียดนามเหนือที่ตัดผ่านดินแดนลาวลงสู่เวียดนามใต้เพื่อต่อสู้กับสหรัฐ ปีนี้ทีมเก็บกู้ระเบิดในแขวงสาละวันพบ บิ๊กบอมบ์ ถึง 69 ลูก รวมทั้งขนาด 2,000 ปอนด์ 1 ลูกด้วย. </b>
4
<br><FONT color=#000033>วิลเลี่ยม ชอว์ (Bill Shaw) ทหารผ่านศึกอเมริกัน เจ้าของเว็บไซต์บอกว่าเป็น บิ๊กบอมบ์ ขนาด 500 ปอนด์ที่ฐานทัพอากาศอุบลราชธานีในช่วงปี 2512-2513 เตรียมพร้อมสำหรับลำเลียงไปยังเครื่องบิน เพื่อนำไปทิ้งทำลาย เส้นทางโฮจิมินห์ ปัจจุบันยังมีระเบิดที่ยังไม่ระเบิดอีกจำนวนมากในภาคกลางกับภาคใต้ของลาว รวมทั้งแขวงสาละวันด้วย. </b>
4
<bR ><FONT color=#000033>เครื่องบินแบบเอฟ-4 แฟนธอม 2 ที่ฐานทัพอากาศอุบลราชธานี ในภาพจาก WWW.Sv-Galena.Com ของ Bill Shaw ทหารผ่านศึกที่เคยปฏิบัติงานที่นั่นในช่วงปี 2512-2513 เครื่องบินรบเหล่านี้นำระเบิดขนาด 2,000 ปอนด์ 650 ปอนด์ และ 500 ปอนด์ ไปทิ้งทำลาย เส้นทางโฮจิมินห์ ที่ฝ่ายเวียดนามเหนือใช้ขนส่งลำเลียงยุทโธปกรณ์ลงสู่เวียดนามใต้ผ่านดินแดนลาว ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ราว 30% ของระเบิดที่สำหรัฐทิ้งลงในลาวในช่วงสงครามนั้น ยังไม่ระเบิด. </b>
6
ในช่วงหลังสงคราม ทั่วแขวงมีราษฎรประสบเคราะห์จากวัตถุระเบิดกว่า 1,000 คน ในนั้นกว่าครึ่งหนึ่งเสียชีวิต เหยื่อสวนใหญ่เป็นเกษตรกรที่จะต้องขุดดินเพาะปลูกหาเลี้ยงชีพ แต่ในช่วงปี 2540-2555 ที่มีการเก็บกู้ จำนวนผู้ได้รับผลกระทบเริ่มลดลงคือ มีเพียง 140 คน ในนั้น 90 คนบาดเจ็บ อีก 50 คนเสียชีวิต

การค้นพบระเบิดขนาดใหญ่ในสาละวัน ได้ตอกย้ำให้เห็นความพยายามอย่างสิ้นหวังของฝ่ายสหรัฐในการโจมตีทำลายเป้าหมายขนาดใหญ่ และตัดเส้นทางลำเลียงขนส่งดังกล่าวในดินแดนลาว

ตามตัวเลขในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างกรุงวอชิงตันดีซี ระหว่างปี 2508-2515 สหรัฐส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดในดินแดนลาวกว่า 580,000 เที่ยว คือ ทุกๆ 8 นาที ตลอด 24 ชั่วโมง รวมเป็นน้ำหนักระเบิดชนิดต่างๆ กว่า 2.5 ล้านตัน มากกว่าที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งลงดินแดนเยอรมนี และญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมกัน

ตามรายงานของคณะกรรมการเก็บกู้ระเบิดแห่งชาติลาว วัตถุระเบิดที่เป็นภัยต่อชีวิตของราษฎรมากที่สุดในปัจจุบันคือ ระเบิดบอมบี้ซึ่งตัวเลขของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า ถูกทิ้งลงในดินแดนลาวประมาณ 277 ล้านลูก

ตามตัวเลขของสหรัฐฯ เช่นกัน เกือบ 30% ของลูกระเบิดชนิดต่างๆ ที่ทิ้งลงในดินแดนลาว เวียดนาม และกัมพูชาเมื่อครั้งสงครามนั้นยังไม่ระเบิด

สหรัฐฯ ได้ใช้ลูกระเบิดขนาดใหญ่หลายชนิดโจมตีทำลายที่มั่นของฝ่ายตรงข้ามทั้งในดินแดนเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ รวมทั้งระเบิดขนาด 13,000-15,000 ปอนด์ด้วย แต่ในช่วงกว่า 10 ปีมานี้ ยังไม่เคยมีบันทึกการพบระเบิดที่มีขนาดใหญ่กว่า 2,000 ปอนด์ ในดินแดนลาว

บันทึกของทหารผ่านศึกอเมริกันที่เคยปฏิบัติงานประจำฐานทัพอากาศจังหวัดอุดรธานี และอุบลราชธานีของไทย เมื่อครั้งสงครามได้บ่งชี้ว่า การทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ในดินแดนลาวส่วนใหญ่ไปจาก 2 แหล่งนี้ โดยใช้เครื่องบินแบบเอฟ-4 "แฟนธอม 2" เป็นหลัก

อีกจำนวนหนึ่งไปจากฐานทัพฐานทัพตาคลี จ.นครสวรรค์ในภาคกลางตอนบน และสนามบินอู่ตะเภาในภาคตะวันออกของไทย โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์แบบ บี-52 อีกจำนวนหนึ่งไปจากฐานทัพสหรัฐในเวียดนามใต้.
6
มรดกที่ลาวไม่ต้องการ
คณะกรรมการเก็บกู้ระเบิดฯ แห่งชาติ
<bR ><FONT color=#000033>ภาพทำขึ้นใหม่จากแผนที่ของสานักงานคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อบริหารการเก็บกู้ระเบิดในลาว แสดงบริเวณที่สหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนัก สีม่วงแแสดงบริเวณที่ถูกทิ้งระเบิดทั่วไป สีเหลืองเป็นบริเวณที่ปฏิบัติการโดยเครื่องบินบี-52 ซึ่งส่วนใหญ่ไปจากประเทศไทย กับสีเขียวบริเวณที่สหรัฐโปรยเคมีที่ทำให้ใบไม้ร่วงหล่น ทำลายแหล่งหลบซ่อนของทหารเวียดนามเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในดินแดนเวียดนาม. </b>
7
<bR><FONT color=#000033>แผนที่ของคณะกรรมการแห่งชาติฯ เพื่อการเก็บกู้ระเบิดฯ แสดงให้เห็นบริเวณที่สหรัฐโจมตีทิ้งระเบิดตั้งแต่แขวงภาคเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งแขวงเชียงขวาง ลงไปจนถึงแขวงอัตตะปือที่อยู่ตอนใต้สุด สถิติของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐระบุว่า ระหว่างปี 2507-2515 มีการทิ้งระเบิดในดินแดนลาวกว่า 580,000 เที่ยวบิน รวมเป็นระเบิดกว่า 2.5 ล้านตัน มากกว่าที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งในเยอรมนีและญี่ปุ่นรวมกัน.</b>
8

9

10

11

12

13

14

15

16

17
กำลังโหลดความคิดเห็น