xs
xsm
sm
md
lg

“เต็งเส่ง” ประกาศปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด..เร็วๆ นี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีเต็งเส่งปราศรัยในพิธีเริ่มการรณรงค์เพื่อการพัฒนาชนบทและการปรับปรุงสังคมเศรษฐกิจ ที่จัดขึ้นในสนามกีฬากรุงย่างกุ้งวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ในการปราศรัยทางวิทยุตอนค่ำวันอังคาร 4 มิ.ย.นี้ ผู้นำพม่าประกาศปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่เหลืออยู่ในเรือนจำทั้งหมด ยกเว้นกรณีถูกตัดสินด้วยความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการเมืองยัง สมควรต้องรับโทษ ต่อไป. --   REUTERS/Soe Zeya Tun.</b>
.

ย่างกุ้ง 4 มิ.ย.2556 (เอเอฟพี) - ประธานาธิบดีพม่า กล่าวในวันอังคารว่า รัฐบาลจะปล่อยนักโทษทางความคิดทั้งหมดในเร็วๆ นี้ อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปที่ติดตามมาหลังจากสิ้นสุดการปกครองโดยคณะปกครองทหาร

พม่าได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณากรณีนักโทษที่เกี่ยวกับการเมืองต่างๆ และ “นักโทษทางความคิดทั้งหมดจะได้รับการปล่อยตัวในเร็วๆ นี้” ปธน.เต็งเส่ง กล่าวในระหว่างปราศรัยทางวิทยุ

“เราใช้เวลาพอสมควรในการสอบสวนกรณีที่ทำให้สับสนระหว่างการทำผิดทางอาชญากรรม กับการทำผิดทางการเมือง” ประธานาธิบดีพม่ากล่าว พร้อมเสริมว่า ผู้ที่ถูกตัดสินกระทำความผิดโดยก่ออาชญากรรมรุนแรงที่เกี่ยวเนื่องกับการเมือง “สมควรจะต้องรับโทษตามคำตัดสิน”

ก่อนหน้านี้ คณะปกครองทหารที่ปกครองประเทศเป็นเวลาหลายทศวรรษได้เคยปฏิเสธว่า ไม่มีนักโทษการเมืองอยู่ในพม่า แต่นักโทษการเมืองหลายร้อยคนได้รับการปล่อยตัวนับตั้งแต่ประธานาธิบดีเต็งเส่ง นักปฏิรูปเข้าบริหารประเทศในเดือน มี.ค.2554 และเมื่อเดือน พ.ย.ที่แล้วได้ประกาศจะพิจารณา “ทุกๆ กรณีที่เกี่ยวกับการเมือง”

อย่างไรก็ตาม บรรดานักเคลื่อนไหวกล่าวว่า ยังคงมีนักโทษการเมืองถูกคุมขังในเรือนจำราว 200 คน นักเคลื่อนไหวเหล่านี้กล่าวหารัฐบาลพม่าว่า ใช้การให้อภัยโทษสร้างข่าวเพื่อการสนับสนุนทางการเมือง โดยรู้ตัวว่าประชาคมระหว่างประเทศเฝ้าจับตาดูอยู่

ในการให้อภัยโทษครั้งล่าสุดเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา มีนักโทษการเมืองกว่า 20 คน ได้รับการปล่อยตัว ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีเต็งเส่งจะเดินทางเยือนทำเนียบขาว การให้อภัยโทษครั้งก่อนหน้านั้นก็มีขึ้นเพียง 1 วัน ก่อนที่สหภาพยุโรปจะยกเลิกการคว่ำบาตรต่อพม่าทั้งหมด

การจับกุมคุมขังฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองตามอำเภอใจนับเป็นความโดดเด่นของคณะปกครองทหารเมื่อก่อน ซึ่งทำให้โลกตะวันตกทยอยคว่ำบาตรอันส่งผลต่อเศรษฐกิจพม่า นับตั้งแต่ประธานาธิบดีเต็งเส่ง เข้ารับตำแหน่ง พม่าก็เริ่มทำการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม ซึ่งรวมทั้งการเลือก นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านเข้าสู่รัฐสภาด้วย

การปฏิรูปได้รับการต้อนรับอบอุ่น และการแซงก์ชันทั้งหลายทั้งปวงถูกยกเลิกไปเกือบทั้งหมด และมีคำมั่นสัญญาเป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์ ทั้งในรูปเงินกู้ และเงินลงทุนสำหรับประเทศที่รุ่มรวยด้วยทรัพยากรแห่งนี้

แต่บรรดาผู้นำของโลก และกลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษย์ต่างสนับสนุนการเรียกร้องของ นางซูจี ที่ให้รัฐบาลต้องปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด ซึ่งตัว นางซูจี เองก็เคยถูกกักบริเวณในบ้านพักเป็นเวลาหลายปี โดยระบุว่า เพื่อให้เป็นเครื่องหมายที่บ่งชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้น

ในการปราศรัยครั้งนี้ ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ยืนกรานว่า จุดมุ่งหมายของการให้อภัยโทษก็เพื่อ “ความปรองดองแห่งขาติ.. ไม่มีเป้าหมายทางการเมืองอื่นใดที่พวกเราต้องการ”.
กำลังโหลดความคิดเห็น