xs
xsm
sm
md
lg

นาวีไทยได้ของดี จรวด ESSM ซัดขีปนาวุธดำดิ่งเร็วสูงอยู่หมัด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>เรือพิฆาตชาฟี (USS Chafee -- DDG 90) เรือต้นตำรับที่ติดระบบจรวด ESSM นำหน้าขบวนเรือรบของราชนาวีไทย ซึ่งประกอบด้วยเรือหลวงนเรศวร (HTMS Naresuan --FFG 421) เรือหลวงคีรีรัฐ (HTMS Khirrirat -- FS 432) เรือหลวงมกุฏราชกุมาร (HTMS Makutrajakuman -- FF 433) กับเรือหลวงจักรีนฤเบศ (HTMS Chakri Naruebet -- CVH 911) ระหว่างฝึก CARAT 2009 ในอ่าวไทยวันที่ 13 ก.ค.2552 เรือฟรีเกตชุดเรือหลวงนเรศวรกับเรือหลวงตากสิน กำลังจะติดตั้งระบบ ESSM เช่นเดียวกับเรือพิฆาตสหรัฐลำนี้ บริษัทเรย์ธีออนกล่าวว่าของไทยจะติดระบบท่อยิงแนวดิ่ง MK41 แต่ไม่ได้อธิบายเพราะเหตุใด ขณะที่ ESSM สามารถติดตั้งท่อยิงแบบอิสระได้. -- US Navy Photo/Lt Ed Early </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - การทดสอบจรวดซีสแปโรว์รุ่นวิวัฒน์ หรือ ESSM ได้ผลดีเกินคาด ในสัปดาห์ที่ผ่านมา จรวดนำวิถีสุดล้ำได้ทำลายเป้าหมายเคลื่อนที่แนวดิ่งด้วยความสูงระดับซูเปอร์โซนิก ประสบความสำเร็จในวันที่ 14 พ.ค. บริษัทเรย์ธีออน (Raytheon Company) ผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ของสหรัฐฯ ระบุเรื่องนี้ในคำแถลงฉบับหนึ่งที่ออกในเมืองทูซอน (Tucson) รัฐแอริโซนา (Arizona)

“ความสำเร็จของการยิงที่มีจุดเด่นอยู่ที่การรุกไล่ติดตามอย่างกระชั้นชิดทันการณ์นั้นเป็นผลโดยตรงจากการปรับปรุงเสริมขยายสมรรถนะของสิ่งที่เป็นจรวดนานาชาติอันแท้จริง” นายริค เนลสัน รองประธานคนหนึ่งของเรย์ธีออนกล่าวถึงจรวดแบบยิงจากพื้นสู่อากาศแบบซีสแปโรว์รุ่นพัฒนา หรือ Evolved SeaSparrow Missile ซึ่งในปัจจุบันมีใช้ในไม่กี่ประเทศที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ ทั่วโลก โดยมีไทยรวมอยู่ด้วย

ราชนาวีไทยได้เซ็นเอกสารกับฝ่ายสหรัฐฯ เมื่อต่นปีนี้ ขอซื้อ ESSM จำนวน 9 ชุด เพื่อติดตั้งบนเรือฟรีเกต 2 ลำ คือ เรือหลวงนเรศวร กับเรือหลวงตากสิน ตามโครงการอัปเกรดที่ดำเนินต่อเนื่องหลายปี

ระบบจรวด ESSM เป็นผลผลิตจากการร่วมพัฒนาระหว่างเรย์ธีออน กับบริษัทเทคโนโลยีด้านกลาโหมรวม 18 แห่ง ของ 10 ประเทศ เพื่อนำเข้าใช้งานร่วมกัน ซึ่งจนถึงปัจจุบันสามารถพัฒนาไปสู่ระบบที่ติดตั้งฐานยิงบนพื้นดินได้แล้ว จากแต่เดิมที่ยิงจากเรือรบ เพื่อให้สามารถรับมือการต่อสู้ในหลายรูปหลาบแบบยิ่งขึ้น

จรวด ESSM มีชื่ออย่างเป็นทางคือ The RIM-162 (Evolved SeaSparrow Missile) หรือ RIM-162 ESSM นำเข้าประจำการเป็นครั้งแรกในปี 2547 บนเรือพิฆาตชาฟี (USS Chafee -- DDG 90) ก่อนจะเป็นอาวุธมาตรฐานอีกชนิดหนึ่งบนเรือพิฆาตชั้นอาร์ลีห์เบิร์ก (Arleigh Burke- class) ทุกลำของกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อยิงทำลายขีปนาวุธโจมตีเรือของฝ่ายข้าศึก ออกแบบมาเพื่อรับมือกับขีปนาวุธทุกชนิด ทั้งที่มีความเร็วสูง และความเร็วต่ำ

ตามรายงานในเว็บไซต์ข่าวกลาโหม การยิงทำลายขีปนาวุธแบบแล่นระดับต่ำเหนือผิวน้ำไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นอาวุธที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของเสียง (Sub-sonic) หรือเร็วกว่าความเร็วเสียง (Supersonic) แต่อาวุธที่พุ่งลงในแนวดิ่งเหนือลำเรือ และในความเร็วระดับซูเปอร์โซนิกนั้น มีอันตรายมาก รับมือได้ยากมากกว่า

ความสำเร็จจากการทดลองยิงจรวด ESSM สัปดาห์ที่แล้วจึงเป็นการตอกย้ำในเรื่องประสิทธิภาพ

ระบบ Evolved SeaSparrow พัฒนาต่อจาก ระบบจรวด RIM-7 “ซีสแปโรว์” ที่ใช้แพร่หลายมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น จนกระทั่งถูกเรียกเป็น “จรวดนาโต้” อีกชนิดหนึ่ง แต่ ESSM มีขนาดใหญ่กว่า มีระบบขับดันที่ทรงพลังกว่า รัศมีปฏิบัติการไกลกว่า มีรูปลักษณ์คล่องตัวมากยิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับอาวุธโจมตีที่มีความเร็วเหนือเสียงเป็นหลัก ขณะที่ RIM-7 ออกแบบมาเพื่อยิงเครื่องบินโจมตีของฝ่ายข้าศึกอีกด้วย

นอกจากจะติดตั้งร่วมในระบบอีจิส (Aegis) แล้ว ESSM ยังติดตั้งเดี่ยวๆ บนท่อยิงชุด Mk41VLS หรือท่อยิงแนวตั้งแบบ 4 ท่อ สำหรับจรวด 4 ลูก

หลายประเทศต้องการซื้อจรวดรุ่นนี้ แต่ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะมีโอกาสได้เป็นเจ้าของ ปัจจุบัน ระบบ ESSM มีประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี ตุรกี กรีซ ญี่ปุ่น เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ สเปน และไทยเป็นรายล่าสุดที่ถูกบรรจุลงในบัญชีรายชื่อ โดยอาจจะมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกรายที่อยู่ระหว่างเจรจาขอซื้อ

บริษัทเรย์ธีออนกล่าวในเดือน ม.ค. ปีนี้ว่า ไทยกำลังจะนำจรวดนำวิถี ESSM เข้าติดตั้งบนเรือหลวงนเรศวร กับเรือหลวงตากสิน ผู้แทนราชนาวีไทยได้ร่วมลงนามในเอกสาร LOA (Letter of Offer and Acceptance) กับผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ แล้ว ซึ่งทำให้ไทยเป็นเพียงประเทศที่ 13 ที่มีระบบอาวุธนี้ประจำการ

“การใช้ ESSM จะทำให้ราชนาวีไทยมีขีดความสามารถในการป้องกันเรือที่ไร้เทียมทาน รวมทั้งจะทำให้กองเรือรบได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของขีปนาวุธนี้อีกด้วย” นายริค เนลสัน รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์การป้องกันทางนาวีของระบบขีปนาวุธเรย์ธีออน กล่าว.



.
กำลังโหลดความคิดเห็น