xs
xsm
sm
md
lg

พม่าผวาดินไหวถี่ยิบ กางแผนลงสำรวจรอยเลื่อนสะกาย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> สภาพสะพานที่พังถล่มเพราะแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวรุนแรงในภาคกลางใกล้เมืองมัณฑะเลย์ เมื่อเดือนพ.ย. 2555 และทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 คน และบาดเจ็บหลายสิบคน พื้นที่ภาคกลางของพม่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากอยู่บนรอยเลื่อนสะกาย. --  AFP PHOTO / Soe Than Win. </font></b>
.

อีเลฟเว่นนิวส์ - พม่ากำลังเตรียมการที่จะดำเนินการสำรวจแผ่นดินไหวใน 3 เมืองหลักทางภาคกลางของประเทศ ด้วยการสนับสนุนด้านเทคนิคจากสหประชาชาติ สมาคมธรณีวิทยาแห่งพม่า (MGS) ระบุ

สมาคมวิศวกรรมแห่งพม่า (MES) จะทำงานร่วมกันกับ MGS ดำเนินการโครงการสำรวจแผ่นดินไหวในเมืองพะโค เมืองตองอู และเมืองสะกาย ที่อยู่ในภาคกลางของประเทศ

เจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการแผ่นดินไหวพม่า (MEC) ระบุว่า กระทรวงสวัสดิการสังคม การบรรเทาทุกข์ และการย้ายถิ่นฐาน จะเป็นผู้นำโครงการเพื่อประเมินความเสี่ยงแผ่นดินไหวของเมืองต่างๆ ร่วมกันกับสหประชาชาติ เมืองเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงจากการเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากอยู่บนรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งควรตระหนักถึงความจริงที่ว่า แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดในพื้นที่แถบนี้เกิดขึ้นเมื่อกว่า 30 ปีก่อน

รอยเลื่อนสะกายมีความยาว 1,000 กม. และเป็นรอยเลื่อนแปรสภาพ (Continental transform fault) ในพม่าที่อยู่ระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดีย และแผ่นเปลือกโลกซุนดา ในอดีตแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มักเกิดตามแนวรอยเลื่อน

“ควรที่จะตระหนักถึงความจริงที่ว่า ไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ตามรอยเลื่อน แต่ในปีนี้เราประสบกับเหตุแผ่นดินไหวขนาดเล็ก และกลางบ่อยครั้งในภาคกลางของประเทศ แผ่นดินไหวไม่เกิดขึ้นแค่ตามแนวรอยเลื่อนสะกายเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงด้วย เราจะเก็บข้อมูลที่รวบรวมโดยสถานี GPS ตามแนวรอยเลื่อน” เจ้าหน้าที่กล่าว

นายโซ ตูระ ตุน เลขาธิการ MEC กล่าวว่า คณะกรรมการอยู่ในกระบวนการของการสร้างแผนที่แสดงรายละเอียดแผ่นดินไหวสำหรับเมืองทั้ง 3 เมือง และในอนาคตจะสร้างแผนทื่แผ่นดินไหวสำหรับเมืองอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงทั่วประเทศ

เมื่อเดือน มี.ค.2556 เกิดเหตุแผ่นดินไหว 4 ครั้งในภาคกลางของประเทศติดต่อกันใกล้กับกรุงเนปีดอ รวมทั้งเมืองอื่นๆ เช่น ทารัต ตองอู ภายใน 3 วัน.
.
<bR ><FONT color=#000033>แผ่นดินไหวทางตอนเหนือเมืองท่าขี้เหล็กในรัฐชานปลายเดือน มี.ค.2554 ทำให้เกิดภาพติดตาชาวโลก มีผู้เสียชีวิอย่างน้อยที่สุด 75 คน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าครั้งนี้จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งอยู่ในรอยเลื่อนของเปลือกโลก ที่นักธรณีวิทยาทั่วโลกรู้จักกันดี ปีที่แล้วไหวทางตะวันตกของประเทศ ตายอีก 13 บ้านเรือนกับสะพานใหญ่ข้ามแม่น้ำอิรวดีพังเสียหายมากมาย พม่ากำลังเร่งสำรวจเพื่อหาทางมาตรการป้องกัน. --  AFP Photo/HO/World Vision Myanmar. </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น