xs
xsm
sm
md
lg

เสือเหลืองตอกสื่อจีน “ปั้นน้ำ” ไม่มีเรือรบจีนไปซ้อมรบใกล้ฝั่ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>แผนที่แสดงจุดที่ตั้งแนวปะการังเจมส์โชล ชายฝั่งรัฐซาราวักในน่านน้ำของมาเลเซีย .. ซึ่งอยู่นอกเขต แผนที่ลิ้นวัว สงสัยสื่อจีนจะมันเขี้ยวหรือไม่ก็ตั้งใจโม้มากไปหน่อย ผู้สังเกตการณ์ในย่านนี้เริ่มสงสัยความตั้งใจในปฏิบัติการทางจิตวิทยาของสื่อจีน นับเป็นครั้งที่ 2 ในชั่วข้ามสัปดาห์ที่รายงานของฝ่ายจีนถูกปฏิเสธโดยประเทศที่พาดพิงถึง หลังจากสัปดาห์ก่อนสำนักข่าวอิตาทาสของทางการรัสเซียออกปฏิเสธรายงานของ CCTV เกี่ยวกับการเซ็นสัญญาซื้อขายเครื่องบิน Su-35 และเรือดำน้ำ. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รัฐบาลมาเลเซียได้ออกปฏิเสธรายงานของโทรทัศน์จีนที่ว่า กองเรือยกพลขึ้นบกของจีนได้ไปซ้อมรบในบริเวณที่เรียกว่า เจมส์โชล (James Shoal) ใกล้ฝั่งมาเลเซียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมาเลเซียระบุว่า ไม่มีเรือจีนไปซ้อมรบที่นั่น หรือไปปรากฏตัวบริเวณนั้น รายงานของโทรทัศน์แห่งชาติจีนจึงเป็นเพียงการเสกสรรปั้นแต่งที่ไร้พื้นฐานข้อเท็จจริง

หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ (Strait Times) รายงานเรื่องนี้ในเว็บไซต์สัปดาห์นี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 2 ในชั่วเวลาห่างกันเพียง 1 สัปดาห์ที่รายงานของโทรทัศน์จีนถูกปฏิเสธจากเจ้าของประเทศที่พาดพิงถึง

“เจมส์โชล” คือหมู่เกาะปะการังที่อยู่ในเขตน่านน้ำของมาเลเซีย ห่างจากฝั่งรัฐซาบาห์เพียง 80 กิโลเมตร ห่างจากฝั่งประเทศบรูไนราว 200 กม. และอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลที่อยู่ใกล้ที่สุดของจีนถึง 2,000 กม.

กองทัพเรือมาเลเซียลาดตระเวนตรวจการณ์น่านน้ำแห่งนั้นเป็นประจำ และไม่เคยพบเห็นเรือลำใดของทัพเรือจีนปรากฏตัวที่นั่น ทั้งในอดีตนานมาแล้ว และตามรายงานของสื่อจีนเมื่อเร็วๆ นี้ สเตรทไทมส์กล่าว

เมื่อสัปดาห์ก่อน สำนักข่าวของทางการรัสเซียได้ออกรายงานปฏิเสธรายงานของสถานีโทรทัศน์กลาง (CCTV) ของจีนที่ว่า ระหว่างการเยือนรัสเซียโดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิง สองฝ่ายได้เซ็นสัญญาซื้อขายเครื่องบินรบล้ำยุคแบบซู-35 (Su-35 “Super Flanker”) จำนวน 24 ลำ กับเรือดำน้ำชั้นลาดา (Lada-class) อีก 4 ลำ และอาวุธอีกหลายชนิด รวมทั้งเครื่องยนต์ไอพ่นที่ติดเครื่องบิน Su-30 อีกจำนวนมาก

สำนักข่าวอิตาทาส (ITA TASS) ของรัสเซียปฏิเสธว่า ไม่มีการเซ็นสัญญาซื้อขายอาวุธดังกล่าว และก่อนหน้านั้น ก็มีเพียงการเซ็นความตกลงที่เรียกว่า “กรอบปฏิบัติ” (Framework Agreement) เกี่ยวกับการซื้ออาวุธ ซึ่งสองฝ่ายคาดว่า จะเซ็นข้อตกลงซื้อขายกันได้ในปี 2558 และจะส่งมอบได้ “หลังจากปีนั้น”

ต่อกรณีล่าสุดนี้ กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียกระบุแต่เพียงว่า “มาเลเซียติดตามการรายงานของสื่อจีนอย่างใกล้ชิด” และไม่ยอมให้ความเห็นใดๆ อีก

“มาเลเซียได้ทำการลาดตระเวนในเขตทะเลจีนใต้อยู่เป็นปรกติ แต่หน่วยงานกำกับควบคุมทางทะเลไม่เคยมีรายงานการพบเห็นเรือของกองทัพเรือจีนปรากฏตัวในมาเลเซียตามที่ (สื่อจีน) รายงาน” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียบอกเรื่องนี้กับ “สเตรทไทมส์” เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2556

มาเลเซียเรียกหมู่เกาะปะการังเจมส์โชล ว่า “บินตูลู” ซึ่งในประวัติศาสตร์ก็ไม่เคยมีการปรากฏตัวใดๆ ของจีนในหมู่เกาะแห่งนี้ สื่อของมาเลเซียกล่าว

นับเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจที่สื่อจีนรายงานการซ้อมรบในน่านน้ำมาเลเซีย ซึ่งข่ายโทรทัศน์ของจีนกล่าวว่า ทหารเรือ และนายทหารประจำกองเรือได้ลั่นว่าจาด้วยว่า จะปกป้องน่านน้ำ และเขตแดนที่จีนกล่าวอ้างเป็นเจ้าของอย่างถึงที่สุด
.
<bR ><FONT color=#000033>ทีวีจีนรายงานเรือยกพลขึ้นบกจิ่งกังซาน (Jinggangsan) ลำนี้ไปซ้อมรบถึงน่านน้ำมาเลเซียสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียออกแถลงปฏิเสธแบบทันควันเหมือนกัน พอถามถึงเรือ.. สื่อจีนรายงานอีกครั้งว่าได้แล่นออกจากพื้นที่ไปเขตแปซิฟิกตะวันตกแล้ว แถมยังไปซ้อมรบที่นั่นด้วยกระสุนจริงอีกต่างหาก.</b>
<bR ><FONT color=#000033>ภาพที่เผยแพร่ผ่านสำนักข่าวออนไลน์หลายแห่งในงจีน ระบุว่าเป็นเรือยกพลขึ้นบกจิ่งกังซาน ขณะซ้อมรบในน่านน้ำเกาะไหหลำเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2556. </b>
.
ผู้สังเกตการณ์กล่าวกับสเตรทไทมส์ว่า การที่สื่อจีนรายงานมีเรือรบไปซ้อมรบถึงบริเวณเจมส์โชลนั้น อาจจะเป็นสัญญาณเตือนบรรดาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า จีนจะใช้กำลังในการแก้ไขปัญหาพิพาทในแถบนี้

รายงานของสื่อจีนทำให้ทุกฝ่ายในย่านนี้แปลกประหลาดใจมากพออยู่แล้ว การออกปฏิเสธของมาเลเซียยิ่งทำให้ประหลาดใจหนักขึ้นไปอีก สเตรทไทมส์กล่าว

อย่างไรก็ตาม สื่อจีนกล่าวว่า กองเรือดังกล่าวได้แล่นออกไปยังย่านแปซิฟิกตะวันตกแล้ว เพื่อไปซ้อมรบในบริเวณดังกล่าวโดยการยิงด้วยกระสุนจริง

นักวิเคราะห์ทางการทหารกล่าวว่า ประเทศต่างๆ ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรจะจัดซ้อมรบร่วมกันบ่อยครั้งขึ้น หลังจากจีนได้กล่าวอ้างเอาทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมดเป็นของตนแต่ผู้เดียว โดยทำ “แผนที่ลิ้นวัว” ขึ้นมา ซึ่งสร้างความขุ่นใจให้แก่หลายประเทศ ทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย รวมทั้งอินโดนีเซียด้วย

“คงจะไม่มีประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถทำอะไรสักอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้ และไม่มีประเทศใดในอาเซียนที่มีทรัพยากรเพียงพอสามารถต่อกรกับจีนได้”

สเตรทไทมส์อ้างความเห็นของ ดร.ฮัมซาห์ อาห์หมัด นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางทะเล มหาวิทยาลัยแห่งมาเลเซีย (University of Malaysia) ซึ่งเสนอให้อาเซียนจัดการซ้อมรบร่วมบ่อยครั้งในรอบปี.
กำลังโหลดความคิดเห็น