xs
xsm
sm
md
lg

สิทธิเสรีภาพเบ่งบาน หนังสือพิมพ์รายวันทยอยแจ้งเกิดในพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ผู้สื่อข่าวยกหนังสือพิมพ์ตัวอย่างของ เดอะว้อยซ์เดลี่ ให้ภายดูในห้องข่าว ในภาพวันที่ 31 มี.ค.นี้ ขณะที่พนักงานคนอื่นๆ ทำงานขะมักเขม้น เตรียมออกฉบับปฐมฤกษ์วันจันทร์ 1 เม.ย.2556 ทางการทหารไม่ยอมออกใบอนุญาตให้ออกหนังสือพิมพ์รายวันมาตั้งแต่ปี 2506 หลังการยึดอำนาจ แต่กำลังจะมีออกมาอีกหลายฉบับในเดือน เม.ย.นี้ หลังวจากยกเลิกการเซ็นเซอร์ในปี 2554 และ ออกกฎหมายสิ่งพิพม์ฉบับใหม่เมื่อปีที่แล้ว.--  REUTERS/Soe Zeya Tun. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - หนังสือพิมพ์รายวันฉบับใหม่คือ “เดอะวอยซ์เดลี่” (The Voice Daily) กำลังจะออกสู่ตลาดในวันจันทร์ 1 เม.ย.2556 นี้ อีกหลายฉบับกำลังจะทยอยออกมาในสัปดาห์ต้นเดือนเดียวกัน หลังจากทางการได้ออกใบอนุญาตให้หนังสือพิมพ์รายวันอีก 8 ฉบับในเดือน มี.ค.นี้ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกที่กว้างขวางยิ่งขึ้นในยุคปฏิรูปโดยรัฐบาลทหารกึ่งพลเรือนของประธานาธิบดีเต็งเส่ง

ขณะที่สื่อของเอกชนกำลังจะต้องแข่งขันกันอย่างแบบเดือดปุด สื่อของทางการหลายฉบับรวมทั้ง “นิวไลท์ออฟเมียนมาร์” ก็จะต้องลงสนามแข่งรายวันด้วย โดยจะไม่ได้สังกัดกระทรวงแถลงข่าวอีกต่อไป

“โกลเด้นเฟรชแลนด์” (Golden Fresh Land) หนังสือพิมพ์รายวันภาษาพม่าอีกฉบับหนึ่งกำลังจะออกมาในสัปดาห์หน้านี้เช่นกัน โดยมีถึง 20 หน้า ในนั้น 10 หน้าจะเป็นหน้าสี ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่สูงลิ่วทั้งค่ากระดาษนิวส์ปรินต์ ค่าพิมพ์ และค่าดำเนินการด้านการตลาด

ขณะที่ นายมอง์มอง์หลา (Muang Maung Hla) เจ้าของ “โกลเด้นเฟรชแลนด์” บอกกับนิตยสารข่าวเดอะเมียนมาร์ไทมส์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ยังคงมีปัญหาการจัดจำหน่าย และ “ไม่ใช่ทุกคนในประเทศที่จะหาซื้ออ่านได้ทุกวัน”

พรรคสหภาพเพื่อการพัฒนาและสมานฉันท์ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลได้ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวัน “เดอะยูเนี่ยน” หรือ “ปีดอง์ซู” (Pyidaungsu) ฉบับทดลองชื่อ และแจกฟรีที่รัฐสภาในเมืองหลวงเนปีดอวันที่ 18 มี.ค. เพื่อให้บรรดา ส.ส.-ส.ว. ได้ทดลองอ่าน และเชื่อว่าจะออกสู่ตลาดในเร็วๆ นี้เช่นกัน

ปัจจุบัน พม่ามีหนังสือพิมพ์รายวันราว 15 ฉบับ เกือบทั้งหมดเป็นมีเนื้อหาด้านการกีฬา ตีพิมพ์เผยแพร่ข่าวฟุตบอลต่างประเทศเป็นหลัก ที่นำเสนอข่าวสารการเมือง และข่าวทั่วไปส่วนใหญ่ยังเป็นนิตยสารรายสัปดาห์ ซึ่งหลายฉบับได้รับความนิยมมาก รวมทั้ง “เดอะวอยซ์” และ “เดอะอีเลฟเว่นนิวส์” รวมทั้ง “เดอะเซเวนเดย์นิวส์” ด้วย

การเปิดกว้างสิทธิเสรีภาพของสื่อมีขึ้นหลังจากปีที่แล้ว รัฐบาลยกเลิกการเซ็นเซอร์เนื้อหาของสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุโทรทัศน์ และรัฐสภาผ่านรัฐบัญญัติการพิมพ์ฉบับใหม่ออกมา

นอกจากนั้น ยังมีสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์ กับรายสะดวกที่จดทะเบียนกับกระทรวงแถลงข่าว รวมกันทั้งหมด 187 ฉบับ ยังไม่นับรวมสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจตามรัฐต่างๆ

รัฐบาลทหารพม่าในอดีตเคร่งครัดกับการนำเสนอข่าวสารมาก ทุกเนื้อหาจะต้องส่งให้กระทรวงฯ ตรวจแก้ไขก่อนนำตีพิมพ์ ซึ่งจะไม่มีการนำเสนอข่าวสารที่ “ล่อแหลม” ต่างๆ รวมทั้งข่าวการคุมขังนางอองซานซูจี หรือข่าวเกี่ยวกับองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนการคว่ำบาตรพม่า

ในยุคหนึ่งจะมีหนังสือพิมพ์รายวัน กับสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ จากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเดีย และไทยเล็ดลอดเข้าไปสู่กรุงย่างกุ้งอยู่เสมอๆ แต่เมื่อทราบทางการก็จะออกเก็บจากแผง และลงโทษผู้เกี่ยวข้องโดยการปรับ

ในปี 2553 ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporter without Border) ในฝรั่งเศส จัดพม่าไว้อันดับ 174 จากทั้งหมด 178 อันดับ ในดัชนีบ่งชี้สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในประเทศต่างๆ นำหน้าอิหร่าน เติร์กเมนิสถาน เกาหลีเหนือ กับประเทศเอริเทรีย ในทวีปแอฟริกาเท่านั้น

ในปี 2553 หลังการเลือกตั้งในเดือน พ.ย.2553 องค์การดังกล่าวจัดพม่าขึ้นสู่อันดับ 169 ใน “เพรสฟรีดอมอินเด็กซ์”.

ตามกันออกมา Reuters/AFP

2

3

4

5

6
กำลังโหลดความคิดเห็น