xs
xsm
sm
md
lg

หมีขาวคืนถิ่น.. รัสเซียส่งกองเรือแปซิฟิกเยือนฐานทัพเก่าเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>เรือแอดมิรัลแพนเตเลเยฟ (RFS Admiral Panteleyev BPK 548) เรือพิฆาตชั้นอูดาลอย (Udaloy-class) สังกัดกองเรือแปซิฟิกรัสเซียแล่นคู่กับเรือเอ็สเส็กซ์ (USS Essex LHD 2) ระหว่างการฝึกซ้อม ริมแพ็ค 2013 (RIMPAC 2013) ในภาพวันที่ 27 ก.ค.2555 มีเครื่องบินของพันธมิตร 22 ประเทศกว่า 200 ลำ เรือรบกว่า 40 ลำ และกำลังพลอีกกว่า 22,000 คนเข้าร่วม กองทัพไทยส่งคณะไปร่วมด้วย ขณะที่เวียดนามส่งเจ้าหน้าที่ร่วมสังเกตการณ์ เรือแพนเตเลเยฟกำลังแล่นผ่านมหาสมุทรอินเดียในสัปดาห์นี้ เพื่อไปเยือนครั้งประวัติศาสตร์ ฐานทัพเก่าอ่าวกามแรง (Cam Ranh) ในเวียดนาม. -- US Navy Photo/Chief Mass Communication Specialist Keith W DeVinney.<b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองเรือรบของรัสเซียแล่นเข้าสู่มหาสมุทรอินเดียในสัปดาห์นี้ มุ่งหน้าสู่เวียดนามเพื่อไปเยี่ยมเยือนฐานทัพเก่าที่อ่าวกามแรง (Cam Ranh, คัมราน) สื่อในรัสเซียรายงานเรื่อง ขณะที่ยังไม่มีข่าวสารใดๆ จากฝ่ายเวียดนาม และหากทุกอย่างเป็นไปตามนี้ ก็จะเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 20 ปีที่เรือรบของรัสเซียได้กลับไปเยือนฐานทัพเก่ายุคสหภาพโซเวียต ซึ่งตั้งอยู่ในจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ในทะเลจีนใต้

“กองเรือแปซิฟิกที่นำโดยเรือพิฆาตแอดมิรัลแพนเตเลเยฟซึ่งเป็นเรือปราบเรือดำน้ำขนาดใหญ่ ที่กำลังทำการฝึกในทะเล จะแวะเยือนอ่าวกามแรงของเวียดนาม” สำนักข่าวอิตาทาส ของทางการรัสเซียรายงาน อ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าว แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับจำนวนเรือรบที่ร่วมขบวน

เรือแพนเตเลเยฟไม่ได้แปลกหน้าสำหรับเวียดนาม เพราะว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เคยแวะเยือนประเทศนี้อย่างน้อย 2 ครั้ง รวมทั้งเมื่อต้นปีที่แล้ว ซึ่งได้แวะจอดท่าเรือนครโฮจิมินห์ ขณะมุ่งหน้าไปปฏิบัติภารกิจต่อต้านโจรสลัดที่ชายฝั่งประเทศโซมาเลีย แต่กำลังจะเป็นครั้งแรกที่ไปแวะเยือนฐานทัพเก่าอ่าวกามแรง

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์กวนโด่ยเยินซเวิน (Quan Doi Nhan Dan) หรือ “กองทัพประชาชน” เวียดนามได้เปิดท่าเรือเพียง 2 แห่งสำหรับรองรับการแวะเยือนสันถวไมตรีของเรือรบจากประเทศเพื่อนมิตรคือ ท่าเตียนซา (Tien Sa) นครด่าหนัง กับท่าไซ่ง่อนในโฮจิมินห์

ถ้าหากเป็นไปตามที่สื่อรัสเซียรายงาน ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกเช่นกันที่เวียดนามเปิดอ่าวกามแรงรับเรือรบของต่างชาติ

หลายปีมานี้ เวียดนามได้เปิดส่วนที่เป็นท่าเรือพาณิชย์ในกามแรงให้เรือสนับสนุนของกองทัพเรือที่ 7 สหรัฐฯ จำนวนหนึ่ง แวะเข้าไปใช้บริการซ่อมบำรุงได้ แต่ยังไม่เคยมีเรือรบของสหรัฐฯ ไปแวะที่นั่น และราวกับว่าจะให้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการกลับคืนสู่ทะเลจีนใต้ของ “ฝ่ายที่สาม” เรือรบลำแรกที่จะเข้าไปยังฐานทัพเรือแห่งนี้ เป็นเรือแอดมิรัลแพนเตเลเยฟ

กามแรงได้ชื่อเป็นอ่าว และท่าเรือน้ำลึกที่ดีที่สุดในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นทั้งฐานทัพเรือ และฐานทัพอากาศที่สหรัฐฯ ฟื้นฟูบูรณะขึ้นมาใช้งานในช่วงสงครามเวียดนาม

เมื่อสหรัฐฯ ต้องถอนตัวออกไปในปี 2518 ฐานทัพแห่งนี้ได้ถูกเวียดนามเหนือเข้ายึดครอง หลังจากนั้น ได้ให้สหภาพโซเวียตเข้าใช้เป็นฐานทัพในรูปแบบการเช่าระยะยาว 25 ปี แต่จักรวรรดิใหญ่คอมมิวนิสต์ล่มสลายลงในปี 2532 ก่อนสัญญาเช่าจะสิ้นสุดอายุในปี 2545
.
<bR ><FONT color=#000033>เรือแอดมิรัลแพนเตเลเยฟ (RFS Admiral Panteleyev BPK 548) แล่นขนานกับเรือพิฆาตแลสเส็น (USS Lassen DDG 82) ซึ่งเป็นเรือชั้นอาร์ลีห์เบิร์ก (Arleigh Burke-class) กองทัพเรือสหรัฐระหว่างร่วมฝึก Pacific Eagle 2007 เรือแพนเตเลเยฟไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมในย่านนี้ เป็นหนึ่งในบรรดาเรือชั้นอูดาลอย (Udaloy-class) จำนวน 12 ลำ ที่สหภาพโซเวียตสร้างขึ้นมาระหว่างทศวรรศที่ 1970-1990 ติดระบบเรดาร์ ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานและอาวุธในภารกิจปราบปรามเรือใต้นำกับสงครามผิวน้ำเพรียบพร้อม เรือลำนี้กำลังจะไปเยือนฐานทัพเก่าอ่าวกามแรงในเวียดนาม สำนักข่าวของทางการรัสเซียรายงานในสัปดาห์นี้. -- US Navy Photo/Chantel M Clayton. </b>
.
2
ฐานทัพอ่าวกามแรงเป็นฐานทัพใหญ่นอกประเทศเพียงแห่งเดียวของสหภาพโซเวียตในย่านนี้ และเป็นเพียงแห่งที่ 2 ในเอเชียแปซิฟิก ถัดจากวลาดิวอสต็อก ในภาคตะวันออกไกล เคยเป็นที่จอดของเรือรบหลากหลายประเภท รวมทั้งเรือดำน้ำ และเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ของโซเวียตด้วย

พัฒนาการในเรื่องนี้ยังมีขึ้นเพียงไม่นานหลังการเดินทางเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของ พล.อ.เซอร์เก ชอยกู (Sergei Shoigu) รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย ซึ่งได้ไปเยี่ยมเยือนอ่าวกามแรงด้วย

พล.อ.ชอยกู ให้สัมภาษณ์ในกรุงมอสโกเวลาต่อมาว่า เวียดนามอนุญาตให้เรือรบของรัสเซียเข้าไปใช้อ่าวกามแรงได้ แต่ไม่ได้อธิบายในรายละเอียด

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า รัสเซียกำลังก่อสร้างฐานจอดเรือดำน้ำให้แก่เวียดนามในอ่าวกามแรงแห่งนี้ ซึ่งรวมอยู่ในแพกเกจจัดซื้อเรือดำน้ำ ชั้นคิโล (Kilo-class) จำนวน 6 ลำ และหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนการ เวียดนามจะได้รับ 2 ลำแรกในปีนี้

ทางการเวียดนามได้ประกาศมาหลายครั้งว่า ได้มอบหมายให้รัสเซียก่อสร้างท่าเรือขึ้นอีกแห่งหนึ่งในอ่าวกามแรง ซึ่งเวียดนามจะอนุญาตให้เรือทุกชนิด รวมทั้งรบของประเทศเพื่อนมิตรแวะเข้าไปใช้ได้

รัสเซียประกาศปลายปีที่แล้วจะฟื้นฟูส่งกองเรือกลับสู่มหาสมุทรแปซิฟิกอีกครั้ง พร้อมกับเรือรบรุ่นใหม่ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมทั้งเรือดำน้ำติดขีปนาวุธนิวเคลียร์ด้วย

ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการ กองเรือแปซิฟิกของรัสเซียจะประกอบด้วย เรือดำน้ำยุทธศาสตร์พลังงานนิวเคลียร์ และติดอาวุธนิวเคลียร์ จำนวน 5 ลำ เรือดำน้ำอเนกประสงค์ขนาดต่างๆ อีก 10 ลำ เรือรบชนิดต่างๆ อีก 10 ลำ สำหรับปฏิบัติการในทะเลลึก กับอีก 32 ลำ ปฏิบัติการในย่านใกล้ฝั่ง

กองกำลังแปซิฟิกยังประกอบด้วย เครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ Tu-22M3, Tu-142 “แบร์” เครื่องบินขับไล่โจมตี MiG-31 ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องความเร็ว นอกจากนั้น ยังมีเฮลิคอปเตอร์ กับเครื่องบินปราบเรือดำน้ำอีกจำนวนหนึ่ง

กองกำลังแปซิฟิกของรัสเซียยังมีระบบป้องกันชายฝั่งแบบ S-300 อีกด้วย.

30 ปีแห่งความหลัง
ภาพแฟ้มจากอินเทอร์เน็ต
<bR ><FONT color=#000033>ภาพจากอดีต -- ในยุคหนึ่งเรือบรรทุกเครื่องบินมินสค์ (Minsk) กองกำลังแปซิฟิกของสหภาพโซเวียต ไปแวะอ่าวกามแรงบ่อยที่สุด ขนาด 45,000 ตัน ยาว 273 เมตร บรรทุกเครื่องบินรบได้ 30 ลำ รวมทั้ง Yak-38 ที่ขึ้นลงแนวดิ่ง 12 ลำ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนส่งและปราบเรือดำน้ำอีกรวมจำนวน 16 ลำ วันข้างหน้าอาจได้เห็นเรือบรรทุกเครื่องบินแอดมิรัลคุซเน็ตซอฟ (Admiral Kuznetsov) ไปเยือนที่นั่นบ้าง.  </b>
3
<bR ><FONT color=#000033>ภาพจากอดีต -- เรือดำน้ำหลากหลายชั้นของกองกำลังแปซิฟิกสหภาพโซเวียต รวมทั้งเรือพลังงานนิวเคลียร์และติดขีปนาวุธนิวเคลบียร์กับทหารเรือหลายร้อยคนประจำที่อ่าวกามแรงของเวียดนาม รัสเซียในยุคปัจจุบันมีเรือดำน้ำหลากหลายชั้น และ กำลังผลิตเรือดำน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลกออกมา จำนวนหนึ่งจะส่งประจำการกองเรือแปซิฟิกเช่นกัน. </b>
4
<bR ><FONT color=#000033>ภาพเดือน ม.ค.2538 เครื่องบินขับไล่โจมตีมิก-23 ฟล็อกเกอร์ (MiG-23 Flogger) กับนักบินประจำการที่ฐานทัพอากาศอ่าวกามแรง นี่คือสุดยอดเครื่องบินขับไล่แห่งยุค เป็นรุ่นแรกๆ ที่พับปีกลู่ไปข้างหลังได้และพัฒนาไปไกลกว่ามิก-17/19 รุ่นพี่มาก ได้ชื่อเป็นจ้าแห่งความเร็ว ก่อนจะถูกตระกูล Su-27/30 เข้าแทนที่. </b>
5
 <bR><FONT color=#000033>ภาพจากอดีต -- ตูโปเลฟ Tu-142 แบร์ (Bear) ของกองกำลังเอเชียแปซิฟิกโซเวียต ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นหนึ่งของ Tu-95 เครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ 4 เครื่องยนต์ติดขีปนาวุธนิวเคลียร์ของกองทัพอากาศ ปัจจุบันรัสเซียพัฒนาไปไกลกว่านี้มาก เป็นไอพ่นความเร็วเหนือเสียงหลากหลายรุ่น.   </b>
6
กำลังโหลดความคิดเห็น