xs
xsm
sm
md
lg

เวียดรำลึกครบรอบ 45 ปี “การสังหารหมู่หมีลาย”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>หลายฝ่ายรวมตัวกันที่อนุสรณ์สถานหมู่บ้านเซินหมี (Sơn Mỹ) อ.เซินติง (Sơn Tịnh) จ.กว๋างหงาย (Quảng Ngãi) ในภาคกลางตอนบน บ่ายวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อรำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตทั้ง 504 คน จากการสังหารหมู่ของทหารสหรัฐฯ ภาพเหตุการณ์วันที่ 16 มี.ค.เมื่อ 45 ปีก่อนที่ถ่ายไว้โดยโรนัลด์ ฮีเบอร์เลอ (Ronand Haeberle) ช่างภาพกองทัพสหรัฐจากที่เกิดเหตุ เมื่อถูกเผยแพร่ออกไปในภายหลัง ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับคนทั้งโลก. -- ภาพ: Tuoi Tre Online.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการจังหวัด คณะกรรมการแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนาม กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยว จ.กว๋างหงาย (Quảng Ngãi) ได้จัดพิธีขึ้นในค่ำวันศุกร์ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อรำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่ทั่วโลกรู้จักกันดีในชื่อ “การสังหารหมู่ที่หมู่บ้านหมีลาย” (thảm sát Mỹ Lai ) ที่เวียนมาบรรจบครบรอบปีที่ 45 ในวันเสาร์ 16 มี.ค.นี้

งานพิธีจัดขึ้นอย่างเรียบง่ายที่อนุสรณ์สถานซึ่งอยู่ในท้องที่ อ.เซินติง (Sơn Tịnh) รำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์เมื่อปี 2511 ซึ่งทหารสังกัดกองร้อย “ชาร์ลี” แห่งกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 20 กองพลน้อยที่ 11 ทำการกวาดล้างกองกำลังฝ่ายเวียดกง ตามยุทธวิธี “ค้นหาและทำลาย” ซึ่งได้สังหารชาวบ้านไป 504 คน เกือบทั้งหมดเป็นเด็ก สตรี กับผู้สูงวัย สตรีหลายคนถูกข่มขืนหมู่ก่อนจะถูกสับเป็นชิ้น หรือถูกกระทำทารุณจนเสียชีวิต

ทหารสหรัฐฯ มีศัพท์เรียกชื่อหมู่บ้านที่อยู่ในเขตแทรกซึมของฝ่ายเวียดกงกับเวียดนามเหนือว่า “พิงค์วิลล์” (Pinkville) ซึ่ง “เขตสีชมพู” ดังกล่าวเป็นเป้าหมายของการค้นหาและทำลาย (Search and Destroy)

กองทัพบกสหรัฐฯ ได้พยายามปิดบังเรื่องนี้เป็นเวลาปีเศษก่อนจะรั่วออกไปยังสื่อมวลชนและนำไปสู่การไต่สวนโดยศาลทหาร ซึ่งมีการตั้งข้อกล่าวหาอาชญากรรมแก่ทหารจำนวน 26 นาย แต่มีนายทหารยศร้อยตรีซึ่งเป็นหัวหน้าของทหารกองร้อยดังกล่าวเพียงคนเดียวถูกตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิตฐานสังหารราษฎรชาวเวียดนามไป 22 คน แต่ถูกกักบริเวณในบ้านพักเพียง 3 ปีครึ่ง ก็ได้รับอภัยโทษ

เหตุการณ์สังหารหมู่ที่หมีลายได้ทำให้ทหารอีก 3 คน กลายเป็นวีรบุรุษของชาวเวียดนาม เมื่อพวกเขานำเฮลิคอปเตอร์ลงขัดขวางการเข่นฆ่าของเพื่อนร่วมรบ และช่วยเยียวยาราษฎรที่บาดเจ็บในเบื้องต้น

ในยุคสมัยนั้น ทหารทั้ง 3 คนถูกประณามจากสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ จำนวนหนึ่ง กับชาวอเมริกันจำนวนหนึ่งฐานเป็น “ผู้ทรยศ” พวกเขาถูกข่มขู่เอาชีวิตในหลายรูปหลายแบบ แต่ในที่สุด คนทั้ง 3 ก็ได้รับการยกย่องจากกองทัพบกสำหรับการกระทำ “อันองอาจกล้าหาญ” และได้รับเหรียญสดุดี

เหตุการณ์สังหารหมู่เมื่อ 45 ปีที่แล้ว ได้สร้างความโกรธแค้นให้แก่ผู้คนเป็นวงกว้างไม่เฉพาะแต่ในหมู่ชาวอเมริกันที่ใฝ่สันติเท่านั้น การต่อต้านสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนามได้แพร่ขยายไปทั่วโลก จากทวีปสู่ทวีป แต่ถึงกระนั้นสงครามก็ยังดำเนินต่อมาอีก 7 ปีเต็ม

คณะกรรมการจัดงาน ผู้แทนครอบครัวผู้ที่เสียชีวิตได้ร่วมประกอบพิธีทางศาสนา จุดธูปบูชา ประกอบการสีไวโอลินของอดีตทหารผ่านศึกชาวอเมริกันคนหนึ่งที่เดินทางไปร่วมงานพิธีรำลึกทุกๆ ครั้ง พิธีรำลึกสิ้นสุดลงด้วยการปล่อยนกพิราบกับลูกโป่ง รวมจำนวน 504 ตัว และเป็นสัญลักษณ์ของการเรียกร้องหาสันติภาพ สำนักข่าวออนไลน์ภาษาเวียดนามหลายแห่งรายงานในค่ำวันเดียวกัน

ในเวียดนามเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “การสังหารหมู่ที่หมู่ที่บ้านเซินหมี” (thảm sát Sơn Mỹ) ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านท้องที่เกิดเหตุ อันเป็นแหล่งที่ราษฎรจากบ้านหมีลาย กับอีก 2 หมู่บ้านที่กระจัดกระจายยู่ในละแวกเดียวกันหลบหนีการเข่นฆ่าของทหารอเมริกัน และจำนวนมากเสียชีวิตลงที่นั่น

อนุสรณ์สถานรำลึกถึงเหตุการณ์ก็ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเซินหมีแห่งนี้
.
<bR ><FONT color=#000033>ไมค์ โบห์ม (Mike Boehm) ทหารผ่านศึกสหรัฐในสงครามเวียดนาม แม้จะไม่ได้อยู่เหตุการณ์สังหารหมู่โดยตรง แต่เขากลับไปที่นั่นแทบจะทุกปี และจะกลับไปร่วมในทุกพิธีพร้อมกับไวโอลิน เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เศร้าสะเทือนใจ.-- ภาพ: Tuoi Tre Online.</b>

โรนัลด์ ฮีเบอร์เลอ (Ronald Haeberle) ช่างภาพของกองทัพบกสหรัฐฯ ผู้ถ่ายภาพเหตุการณ์สังหารหมู่ที่หมีลายเมื่อ 45 ปีก่อน กลับไปที่นั่นในเดือน ต.ค.2554 เขากล่าวขอโทษผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ถ่ายภาพความรุนแรง และดูอุจาดนัยน์ตาเหล่านั้นเอาไว้ เจ้าตัวกล่าวว่า เพียงแต่พยายามบันทึกเหตุการณ์ที่มันเป็นความจริง และโดยส่วนตัวก็ทั้งช็อก และเศร้าสะเทือนใจในขณะปฏิบัติหน้าที่

<bR ><FONT color=#000033>พิธีในค่ำวันศุกร์ 15 มี.ค. จัดขึ้นอย่างเรียบง่าย มีพระสงฆ์รับนิมนต์ไปทำพิธีทางศาสนารำลึกถึงผู้เสียชีวิตทั้ง 504 คนใน พิงค์วิลล์ แห่งนี้. -- ภาพ: Tuoi Tre Online.</b>
.
ในเวียดนาม หรืออย่างน้อยที่สุดในหมู่ประชาชน กำลังมีการจัดรำลึกถึงหลายเหตุการณ์สำคัญในช่วงเดือนนี้ รวมทั้ง “สงครามสั่งสอน” ซึ่งกินเวลาเพียง 27 วัน ระหว่าง 17 ก.พ.-16 มี.ค.2522 ที่เวียนมาบรรจบครบ 34 ปี เพื่อรำลึกถึงวีรชนที่สละชีวิตปกป้องปิตุภูมิ แต่เป็นเหตุการณ์สู้รบที่ 2 ฝ่ายเสียชีวิตนับหมื่นๆ คน และ 2 ประเทศเพื่อนบ้านต่างต้องการจะลืม

อย่างไรก็ตาม ปีนี้นักวิชาการเวียดนามได้รวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐบาลบรรจุเหตุการณ์นี้ในหนังสือแบบเรียนประวัติศาสตร์เพื่อบอกเล่าข้อเท็จจริงต่างๆ

สัปดาห์นี้ ชาวเวียดนามจำนวนหนึ่งได้จัดการเดินขบวนต่อต้านจีนขึ้นในกรุงฮานอย มีการชูประป้ายประณามจีน ซึ่งเมื่อ 25 ปีก่อน ได้ส่งเรือรบหลายลำยิงโจมตีเรือลำเลียงสัมภาระเวียดนามลำหนึ่งที่หมู่เกาะสแปร็ตลีย์ ทหารเวียดนามเสียชีวิตกว่า 60 คน

เวียดนามกล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ฝ่ายจีนปรากฏตัวที่หมู่เกาะแห่งนี้ จีนไม่เคยอยู่ที่นั่นมาก่อนในรอบหลายร้อยปี และไม่เคยปรากฏอยู่ในแผนที่ของจีนฉบับใดเลยเมื่อสืบค้นย้อนหลังไป 300 ปี แต่จีนได้ใช้เหตุการณ์นี้ในการกล่าวอ้างเป็นเจ้าของหมู่เกาะซึ่งเชื่อกันว่าเป็นอาณาบริเวณที่รุ่มรวยด้วยน้ำมันดิบ

แต่ในปัจจุบัน หมู่เกาะสแปร็ตลีย์มิได้เป็นกรณีพิพาทลำพังระหว่างจีนกับเวียดนามเท่านั้น คู่กรณียังรวมทั้ง บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไต้หวันด้วย ซึ่งต่างกล่าวอ้างเป็นเจ้าของหมู่เกาะทั้งหมด หรือบางส่วน.
กำลังโหลดความคิดเห็น