xs
xsm
sm
md
lg

ไปเยือนกรุงเก่าอังวะเที่ยวหน้า อาจไม่ได้เห็นรถม้าสารถีหญิง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ราษฎรในท้องถิ่นเสนอขายของที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่บริเวณ สถานีขนส่ง รถม้า ในช่วงฤดูแห่งการท่องเที่ยวเดือน ต.ค.-เม.ย. ของทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวไปใช้บริการที่นี่หนาตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไปเที่ยวชมมัณฑะเลย์ก็มักอดไม่ได้จะต้องปีเยือนกรุงเก่าอังวะ (Inwa) ซึ่งเป็นชื่อที่คุ้นเคยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไม่แพ้หงสาวดี ตองอู หรือพะโค ที่อยู่ใต้ลงไป. -- ภาพ: The Myanmar Times.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ผู้ที่จะเดินทางไปเที่ยวชมเมืองเก่าอังวะ (Inwa) ในพม่าเที่ยวต่อไป อาจจะไม่ได้เห็นรถม้าที่ขับโดยสารถีหญิงอีก เนื่องจากทางการท้องถิ่นได้สั่งห้ามมิให้สตรีขับรถม้าบริการนักท่องเที่ยวต่อไป แม้ว่าพลขับที่เป็นสตรีเพศจะพากันประท้วงการตัดสินใจดังกล่าวก็ตาม

นี่คือเมืองหลวงเก่าของนครรัฐในพม่าสมัยโบราณอีกแห่งหนึ่งที่มีความผูกพันกับราชอาณาจักรสยามมากที่สุด ในปัจจุบันก็เป็นอีกปลายทางหนึ่งที่นักท่องเที่ยวจากประเทศไทยนิยม ไปเที่ยวชมมากที่สุด เนื่องจากอยู่ใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์

ในปลายเดือนที่แล้ว คณะกรรมการพัฒนาเมืองทาดาอู (Tada Oo) ได้ตัดสินใจสั่งห้ามสตรีขับรถม้าบริการนักท่องเที่ยวเทียวชมรอบๆ กรุงเก่าอังวะ โดยติดประกาศเรื่องนี้ที่สถานีรถม้าตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. ระบุห้ามมิให้สตรีกับบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ขับรถม้าดังกล่าวด้วยเหตุผล “ด้านความปลอดภัย” นิตยสารข่าวเมียนมาร์ไทม์ส รายงาน

ตามรายงานของคนในพื้นที่ ปัจจุบันมีรถม้าให้บริการนักท่องเที่ยวในอังวะเพียง 130 คัน ในนั้นมีสารถีหญิงเพียง 11 คน ซึ่งจำนวนดังกล่าวหลายคนแสดงความผิดหวังกับคำสั่งของทางการ เนื่องจากประกอบอาชีพนี้มานาน และทำให้ครอบครัวต้องสูญเสียรายได้ไป

สารถีหญิงบางคนบอกกับเมียนมาร์ไทม์สว่า นักท่องเทียวสตรีส่วนหนึ่งชอบที่นั่งรถม้าที่พวกเธอขับมากกว่ารถที่ขับโดยสารถีชาย จึงไม่ทราบเหตุผลอันแท้จริงของการออกคำสั่งดังกล่าว

“ตอนนี้ก็มีคนขับที่อายุต่ำกว่า 18 อยู่เพียง 3 คนเท่านั้น” นายทุนอู (Tun Oo) วัย 40 ปี สารถีอาชีพบอกกับนิตยสารข่าวฉบับนี้

ราษฎรในท้องถิ่นกล่าวว่า จนถึงวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา ก็ยังไม่ได้มีมาตรการเข้มงวดอะไรจากเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติตามคำสั่งห้ามดังกล่าว แต่ก็เชื่อว่าทุกอย่างจะต้องดำเนินไปตามนั้น เจ้าหน้าที่กล่าวว่า คนขับรถม้าหญิงทำให้เกิดอุบัติเหตุแก่นักท่องเที่ยวบ่อยกว่านักขับชาย

นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่ไปเที่ยวชมเมืองมัณฑะเลย์มักจะซื้อทัวร์ไปเที่ยวชมเมืองเก่าที่อยู่รอบๆ รวมทั้งอังวะ ซึ่งครั้งหนึ่งในพม่าเรียกกันว่า “อาวะ” (Ava) ที่อยู่ทางทิศใต้ของมัณฑะเลย์ เพียงนั่งเรือเฟอร์รีข้ามแม่น้ำมี๊ตเหงะ (Myitnge) เท่านั้น

เมื่อย้อนกลับอดีตเมื่อ 4 ศตวรรษก่อน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเตรียมไพร่พลครั้งใหญ่เพื่อยกทัพไปตีกรุงอังวะ นอกจากนั้น นักประวัติศาสตร์ของไทยยังเชื่อว่า พระสรีรังคารของพระเจ้าอุทุมพรแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่ทรงถูกจับเป็นเชลยไปในเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2310 ถูกเก็บเอาไว้ในเจดีย์องค์ใดองค์หนึ่งที่นั่น

ปัจจุบันซึ่งกำลังอยู่ในช่วงฤดูแห่งการท่องเที่ยว (ต.ค.-เม.ย.) นักท่องเที่ยวจำนวนมากกำลังมุ่งหน้าไปยังเขตเมืองหลวงเก่าในยุคราชอาณาจักร เมื่อปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าพม่าถึง 1 ล้านคนเป็นครั้งแรก ทำให้แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้รับอานิสงส์ไปด้วย และบรรดาพลขับรถม้าต่างก็ยุ่งกับงานจนดูสับสนวุ่นวายไปหมด
.
<bR ><FONT color=#000033>สะพานอังวะ (Inwa Bridge) ทั้งเก่าและใหม่ข้ามแม่น้ำอิรวดีไปยังฝั่งสะกาย (Sagaing) ในบริเวณที่เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโบราณในภาคเหนือพม่า ไม่ว่าจะเป็นอังวะ อมราปุระ (Amarapura) หรือมัณฑะเลย์ รวมทั้งพุกาม (Bagan) ที่อยูถัดไป. </b>
2
รถม้าดูจะเป็นคำตอบสำหรับการเที่ยวชมเมืองเก่าในเวลา 1 วัน เพราะได้บรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ ถึงแม้นักท่องเที่ยวหลายคนจะบ่นว่านั่งนานๆ ทำให้เมื่อย เนื่องจากต้องนั่งโยกตัวไปตามจังหวะลุ่มๆ ดอนๆ ของถนนตลอดเที่ยวก็ตาม

อังวะ (เรียกตามเสียงในท้องถิ่น) เป็นเกาะใหญ่กลางแม่น้ำมี๊ตเหงะกับแม่น้ำอิรวดี ก่อตั้งโดยกษัตริย์แห่งอาณาจักรชาน (Shan) พระองค์หนึ่งในปี พ.ศ.1907 เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรเก่าแบบขึ้นๆ ลงๆ แต่เป็นเวลารวมกันนานกว่า 400 ปี และได้ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของนครรัฐต่างๆ ในดินแดนพม่าโบราณตลอดมา

พระเจ้าบุเรงนอง (บาเยงนอง) แห่งนครรัฐหงสาวดี (หันตาวดี) จากทางใต้ ยกทัพเข้าตีกรุงอังวะจนแตกพ่ายในปี พ.ศ.2098 จากนั้น อังวะก็ได้สูญเสียการเมืองศูนย์กลาง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอีกหลายครั้ง ทั้งในสมัยตองอู (Taung Oo) และสมัยกนบอง (Konbaung) ก่อนจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐมอญเบ็ดเสร็จอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2295

หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2133 และเข้าสู่ช่วงเวลา 15 ปีแห่งสงครามกับอาณาจักรต่างๆ ในพม่า ในปี พ.ศ.2148 พระองค์ทรงเตรียมการ เตรียมไพร่พลครั้งใหญ่เพื่อยกไปตีกรุงอังวะซึ่งจะเป็นอาณาจักรสุดท้าย แต่ได้เสด็จประชวรเสียก่อน และเสด็จสวรรคตในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตาม อังวะได้รับความเสียหายอย่างหนักเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ปี พ.ศ.2381 และในปี 2384 เมืองหลวงของดินแดนภาคเหนือพม่าก็ย้ายไปยังอมราปุระ (Amarapura) หรือ “อมรบุรี”

ชื่ออย่างเป็นทางการของกรุงอังวะคือ รัตนาปุระ (Ratanapura) ในวันนี้ไม่เหลือสภาพความเป็นนครรัฐอันยิ่งใหญ่อีกแล้ว พระราชวังเก่าพังเสียหายยับเยิน จนเหลือเพียงหอสูงที่เคยเป็นเป็นส่วนหนึ่งในวังหลวงซึ่งอยู่ในสภาพทรุดเอียง จนเรียกกันว่า “หอคอยเอียงแห่งอังวะ” นอกจากนั้นก็มีพระเจดีย์เก่าไม่กี่องค์ที่รอดมาได้

อย่างไรก็ตาม วัดวาอารามเก่าแก่ในอังวะยังมีหลักฐานที่น่าสนใจหลายอย่างที่สะท้อนอารยธรรมแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งไม้สักสลักเป็นรูปเทพ หรือพระพุทธรูปซึ่งเป็นศิลปะอยุธยา เชื่อกันว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างที่ถูกกวาดต้อนไปเมื่อครั้งพระเจ้าอังวะส่งทัพไปตีเมืองหลวงของราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ.2310 ซึ่งเป็นการเสียกรุงครั้งสุดท้าย.

ย้อนอดีต 4 ศตวรรษ

 <bR><FONT color=#000033>ส่วนหนึ่งของพระราชวังอังวะที่รอดจากการทำลายของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่กว่า 300 ปีก่อน ภาพวันที่ 20 ส.ค.2552 นอกจากนี้ก็มีพระเจดีย์เพียงไม่กี่แห่งที่รอดมาได้. -- ภาพ: Wikipedia/Sarah Depper. </b>
3
 <bR><FONT color=#000033>หอคอยเอียงแห่งอังวะ ที่เคยหอสังเกตุการณ์ในพระราชวังเก่า ในภาพวันที่ 6 ธ.ค.2554 น่าประหลาดใจที่สิ่งปลูกสร้างสูง 27 เมตรนี้รอดจากแผ่นดินไหวมาได้. -- ภาพ: Wikipedia/Hybernator. </b>
4
<bR><FONT color=#000033>ภาพรวบรวมจากเว็บไซต์หลายแห่ง จัดทำขึ้นใหม่ แสดงให้เห็นโบราณสถานจำนวนหนึ่งจากยุคอังวะที่เหลือรอดจากแผ่นดินไหวมาและทางการได้พยายามฟื้นฟูบูรณะ ทั้งหมดนี้อยู่ในสายตาขององค์การยูเนสโก ถึงแม้ว่าขณะนี้จะยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกก็ตาม. </b>
5
 <bR><FONT color=#000033>ภาพจาก Bloggang.Com ซึ่งผู้นำเสนอประกอบสารคดีท่องเที่ยวบริเวณกรุงเก่าอังวะสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของช่างจากกรุงศรีอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนกลับไปยังกรุงอังวะเมื่อเสียกรุงครั้งที่สอง ซึ่งพม่าได้นำราษฎรจากอาณาจักรสยามกลับไปด้วยนับหมื่นคน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะวัฒนธรรมแขนงต่างๆ กับช่างฝีมือเป็นจำนวนมาก. </b>
6
กำลังโหลดความคิดเห็น