xs
xsm
sm
md
lg

ประชุมผู้นำอาเซียน ไม่แตะทะเลจีนใต้-สิทธิมนุษยชน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>งามหน้าเขมร -- ผู้นำ 10 ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเปิดประชุมเจรจาอย่างไม่เป็นทางการในกรุงพนมเปญตอนเช้าวันอาทิตย์ 18 พ.ย. ด้วยเนื้อหาการประชุมที่ไม่มีการแตะต้องปัญหาพิพาทน่านน้ำะเลจีนใต้ที่มีสมาชิก 4 ชาติของกลุ่มเป็นคู่กรณีด้วย นอกจากนั้นคำประกาศด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มก็ถูกวิจารณ์จากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ว่ามีเนื้อหาที่อ่อนมาก ต่ำกว่ามาตรฐานโลก. --  AFP Photo/Romeo Gacad. /b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ผู้นำอาเซียน 10 ชาติเปิดประชุมอย่างไม่เป็นทางการในกรุงพนมเปญวันอาทิตย์ 18 พ.ย.นี้โดยไม่มีวาระเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ และไม่มีถ้อยคำใดๆ เกี่ยวกับน่านน้ำพิพาทแห่งนี้ ในหัวข้อประชุมเจรจา

นอกจากนั้น ยังไม่มีวาระสิทธิมนุษยชน แต่บรรดาผู้นำกำลังจะรับรองเอาร่างคำประกาศของกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกว่า มีเนื้อหาที่อ่อน และไม่ได้มาตรฐานระหว่างประเทศ

นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซน ซึ่งทำหน้าที่ประธานองค์ประชุมกล่าวแสดงความหวังว่า ที่ประชุมคงจะมีสัมฤทธิผลในการหารือ 5 หัวข้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และความร่วมมือภายในของกลุ่มตามกฎบัตรอาเซียน เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

ผู้นำของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ชาติคือ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม จะหารือปัญหา “ความมั่นคงในภูมิภาค” ซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของกลุ่ม แต่ไม่มีการแตะต้องข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ที่จีนร่วมลงนามกับกลุ่มอาเซียนเมื่อปี 2545

จีนได้กล่าวเตือนก่อนหน้านี้แสดงความหวังว่า การประชุมผู้นำอาเซียนจะไม่ถูกปกคลุมด้วย “เงามืด” แห่งข้อขัดแย้งทางทะเล

ตามรายงานของสำนักข่าวกัมพูชาต่อเรื่องนี้ บรรดาผู้นำ “จะสืบต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านขีดความสามารถ และกลไกลความร่วมมือกับบรรดาคู่สนทนาอาเซียน เพื่อหาทางจัดการปัญหาเกี่ยวกับสินติภาพกับความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งจะต้องธำรงเพื่อความเจริญรุ่งเรือง และการเติบโตร่วมกัน”

จีนเป็นคู่พิพาทโดยตรงกับสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศเกี่ยวกับน่านน้ำทะเลจีนใต้ ซึ่งได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน กับมาเลเซีย และจีนยืนยันที่จะจัดการกับปัญหานี้ด้วยการเจรจากับคู่กรณีที่อ่อนแอกว่าทุกทางแบบเป็นรายตัว จะไม่เจรจาแบบกลุ่มใหญ่ ทั้งยังคัดค้านการเข้ายุ่งเกี่ยวข้องใดๆ ของสหรัฐฯ อีกด้วย

ที่ประชุมอาเซียนไม่สามารถออกคำแถลงร่วมใดๆ ได้หลีังการประชุมเมื่อต้นปีนี้ เนื่องจากกัมพูชาเจ้าภาพพยายามกีดกันมิให้บรรจุถ้อยคำใดๆ เกี่ยวกับกรณีนี้ในเอกสาร

นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 40 ปี ที่กลุ่มอาเซียนไม่สามารถออกคำแถลงใดๆ ได้หลังการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่ม
.

2

3

4

5
สหรัฐฯ ประกาศวางตัวเป็นกลางในกรณีพิพาท แต่ก็ไม่ยอมรับการประกาศครอบครองพื้นที่เกือบ 80% ของทะเลจีนใต้ของฝ่ายจีน และจะพิทักษ์เส้นทางเดินเรือเสรีทะเลจีนใต้ นอกจากนั้น ยังเป็นที่ชัดเจนว่า สหรัฐฯ ช่วยฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไนเสริมสร้างความเข้มแข็งทางทหาร ในฐานะเป็นชาติพันธมิตรในภูมิภาค

จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่กัมพูชา ผู้นำอาเซียนกำลังจะร่วมกันลงนามรับรองคำประกาศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของกลุ่มที่ยืดเยื้อมานานข้ามปี แต่เนื้อหาที่ออกมาจะเป็นเพียงการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองเท่านั้น ซึ่งกลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนต่างๆ แสดงความผิดหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กัมพูชาเจ้าภาพซึ่งถูกกล่าวหาว่า มีรัฐบาลที่ปราบปรามกดขี่ประชาชนหนักหน่วงที่สุดในกลุ่ม

สัปดาห์ที่ผ่านมา วุฒิสมาชิกที่มีชื่อเสียงหลายคนของพรรครีพับลิกัน รวมทั้งอดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 2 คนคือ นายจอห์น แม็คเคน กับ นายโจเซฟ ลีเบอร์แมน ได้ทำหนังสือถึง ปธน.สหรัฐฯ ให้กดดันรัฐบาลฮุนเซน เพื่อให้ปรับปรุงด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การยึดที่ และขับไล่ราษฎรออกจากที่ดินทำกิน การปราบปรามฝ่ายค้าน นักเคลื่อนไหวด้านสิมธิมนุษยชน และนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่า นายโอบามาจะไม่หารืออะไรกับผู้นำกัมพูชาในเรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นการกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ ในขณะที่สหรัฐฯ กำลังเผชิญหน้ากับการชิงดีชิงเด่นของจีนที่ใช้กัมพูชาเป็นหัวหาดเข้าไปมีอิทธิพลในกลุ่ม และในภูมิภาค

ในโอกาสประชุมสุดยอดครั้งนี้ ผู้นำอาเซียนกำลังจะพบเจรจาอย่างไม่เป็นทางการกับนายโอบามา นายกรัฐมนตรีจีน เวินเจียเป่า ปธน.ลีเมียงบั๊ก แห่งเกาหลี และนายโยชิฮิโกะโนดะ นรม.ญี่ปุ่น ภายใต้กรอบอาเซียน+1 และอาเซียน+3 อีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น