xs
xsm
sm
md
lg

ฝรั่งร่วมวงซัดมันหยด นครโฮจิมินห์ “จ้างครูปินส์สอนปะกิด”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>ครูเจ้าของภาษาคนหนึ่งกำลังสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนประถมศึกษาเลืองเถวีง (Luong The Vinh) ในอำเภอที่ 1 นครโฮจิมินห์ โรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรม ครูต่างชาติจ้างแพงจริงหรือ? หลายคนสงสัย การจ้างครูสอนภาษา ไม่ได้เกี่ยวกับชาตินิยม ท้องถิ่นนิยมหรือภูมิภาคนิยม หากขึ้นกับจุดมุ่งหมายต้องการให้ผู้เรียนได้อะไรเป็นอย่างไรหลังจากนั้น. -- ภาพ: Tuoi Tre Online.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - แผนการจ้างครูฟิลิปปินส์ 100 คน เพื่อสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถม และมัธยมศึกษาในนครโฮจิมินห์กลายเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องถกเถียงกันแบบมันหยดในเว็บไซต์ต่างๆ สัปดาห์นี้ ชาวเวียดนามจำนวนไม่น้อยคัดค้านความคิดนี้ รวมทั้งคัดค้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหารการศึกษานคร ที่มองว่าชาวฟิลิปปินส์พูดภาษาอังกฤษได้มาตรฐานที่สุดในเอเชีย

ความคิดที่จะจัดจ้างครูชาวฟิลิปปินส์จะเริ่มในเดือน พ.ย.นี้ ด้วยค่าจ้าง 2,000 ดอลลาร์ต่อเดือน แต่บรรดาครูใหญ่ และผู้อำนวยการต่างข้องใจในคุณภาพของครูผู้สอน และสาธารณชนตั้งคำถาม นักวิชาการหลายคนคัดค้าน ชาวต่างประเทศเจ้าของภาษาเองจำนวนไม่น้อยร่วมวงออกความเห็นผ่านเว็บไซต์ต่างๆ

บรรดาผู้บริหารโรงเรียนสังกัดนครโฮจิมินห์สงสัยว่า เพราะเหตุใดจึงไม่จ้างครูที่เป็นเจ้าของภาษา ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ อเมริกัน แคนาดา ออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์ เหตุใดจึงจ้างชาวฟิลิปปินส์ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2

นายเลห่มง์เซิน (Le Hong Son) ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาของนครให้สัมภาษณ์นิตยสารปิโตรไทม์ส (Petro Times) ว่า ในขณะที่ครูชาวออสเตรเลียขอเงินเดือน 5,000 และครูชาวอังกฤษ 10,000 ดอลลาร์ ครูชาวฟิลิปปินส์ขอเงินแค่ 2,000 ดอลลาร์เท่านั้น “ใครจะไปรู้ว่ามีสักกี่คนจะยอมรับเงินเดือนเท่านี้”

ทั้งหมดนี้เป็นความพยายามของทางการที่เริ่มฝึกให้ประชาชนทั่วไปเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เตรียมตัวเข้สู่ประชาคมอาเชียนในอีกเพียง 2 ปีข้างหน้า

เหตุที่พิจารณาครูฟิลิปปินส์อันดับแรกก็เพราะ “สำเนียงพูดภาษาอังกฤษได้มาตรฐาน” นอกจากนั้น ภาษาอังกฤษก็ยังเป็นภาษาราชการภาษาที่ 2 ของประเทศ ใช้ในเอกสารของทางการ และใช้สนทนาในชีวิตประจำในของชาวฟิลิปปินส์ นายเซินกล่าว

แต่บรรดาครูใหญ่-ผู้อำนวยการโรงเรียนประถม มัธยม และมัธยมปลายในโฮจิมินห์เห็นว่า ทางการควรประกาศรับสมัครอย่างเป็นทางการ ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ รวมทั้งระบุค่าตอบแทนไปด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้ครูเจ้าของภาษาไม่ว่าจะเป็นชาวอังกฤษ อเมริกัน แคนาดา หรือออสเตรเลียที่มีคุณสมบัติได้ไปสมัครบ้าง

นายเซินกล่าวว่า สำนักงานของตนกับฝ่ายการเงินของนครโฮจิมินห์ได้ไปเยือนฟิลิปปินส์เมื่อเร็วๆ นี้ และประทับใจในภาษาอังกฤษของชาวฟิลิปปินส์ จึงได้ตัดสินใจ และจะกลับไปที่นั่นอีกครั้งหนึ่งเพื่อสัมภาษณ์

แต่นายเซินก็กล่าวว่า จะจ้างแต่ครูฟิลิปปินส์เรียนภาษาอังกฤษเป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรี หรือโท และจะต้องมีประกาศนียบัตรการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 (TESOL) หรือประกาศนียบัตรสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ (TEFL) อีกด้วย

แต่ประเด็นไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ นักวิชาการด้านภาษามหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในโฮจิมินห์ ได้แนะนำทางการนครใช้ครูที่เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษสอนภาษาอังกฤษ และควรระวังเรื่องสำเนียง การออกเสียง และการเน้นระดับเสียงสูงต่ำของภาษาอังกฤษโดยชาวฟิลิปปินส์
.
<bR><FONT color=#000033>คุณครูเรเชล แอ็กนีว (Rachel Agnew) กำลังสอนนักเรียนที่โรงเรียนสอนภาษาแห่งหนึ่งในนครโฮจิมินห์ ครูชาวอังกฤษต้องจ้างเดือนละ 10,000 ดอลลาร์จริงหรือ? ทำไมจึงจ้างชาวฟิลิปปินส์ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ครูใหญ่-ผู้อำนวยการโรงเรียมประถมและมัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย จำนวนไม่น้อยสงสัยตัวเลขและเจตนาของเจ้าหน้าที่ทางการ. -- ภาพ: Tuoi Tre Online. </b>
.
“เราควรหลีกเลี่ยงใช้ครูชาวฟิลิปปินส์ที่ -- เป็นฟิลิปปินส์มากเกินไป -- มาสอนภาษาอังกฤษ” ดร.ทู อาจารย์สอนวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์กล่าว

ตรงกันข้าม -- ดร.หวูถิเฟืองแอง (Vu Thi Phuong Anh) อาจารย์สอนมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งกลับสนับสนุนครูฟิลิปปินส์ โดยระบุว่า “ภาษาอังกฤษของชาวฟิลิปปินส์ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

“ดิฉันไปฟิลิปปินส์มาหลายครั้ง และเห็นว่าคนฟิลิปปินส์พูดภาษาอังกฤษได้ใกล้เคียงเจ้าของภาษามาก” ดร.แองกล่าวกับหนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋ ซึ่งนักวิชาการอีกหลายคนโต้แย้งว่า สำหรับฟิลิปปินส์ภาษาอังกฤษเป็นเพียงภาษาที่ 2 ไม่ใช่ “ภาษาแม่” และพวกเขาจะทำให้เด็กๆ เวียดนามมีโอกาสที่จะพูดภาษาอังกฤษสำเนียงเดียวกับชาวฟิลิปปินส์

นายเซินให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋สัปดาห์นี้กล่าวแก้ว่า แผนการจ้างครูฟิลิปปินส์เป็นเพียงแผนการระยะสั้น ในช่วงที่ยังขาดแคลนครูชาวเวียดนาม นอกจากนั้น ครูเวียดนามเองก็มักจะมีปัญหาทั้งในเรื่องการฟัง การออกเสียง และการพูดภาษาอังกฤษ

แต่ครูสอนภาษาอังกฤษชาวเวียดนามโต้แย้งว่า ถ้าหากจ้างชาวฟิลิปปินส์ได้ ทำไมไม่ให้โอกาสครูชาวเวียดนามที่ไปร่ำเรียนภาษาอังกฤษจากเมืองนอก และหลายคนจบการสอนภาษาอังกฤษมาด้วย ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้คนชาติเดียวกันได้ขวนขวายเรียนรู้เพิ่มเติม และครูชาวเวียดนามจ้างได้ด้วยเงินเดือนเท่ากัน หรือต่ำกว่ากันถึงครึ่ง

แผนการใช้ครูฟิลิปปินส์สอนภาษาอังกฤษได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติในเวียดนามไม่น้อย บางคนชี้ให้เห็นว่า ค่าจ้างสำหรับชาวตะวันตกที่นั่นไม่ได้สูงมากมายตามกล่าวอ้าง และเงินเดือน 5,000-10,000 ดอลลาร์ที่ว่านั้น เป็น “การโกหก” เพราะปัจจุบัน ครูชาวอังกฤษ หรือออสเตรเลียได้รับค่าจ้างไม่ต่างกับครูชาวฟิลิปปินส์ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการต่อรองด้วย

ผู้ที่แสดงตนเป็นชาวออสเตรเลียผู้หนึ่งบอกว่า ได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวฟิลิปปินส์ที่อาศัยทำกินในออสเตรเลียหลายคน และพบว่าไม่มีชาวฟิลิปปินส์คนใดพูดภาษาอังกฤษเป็นสำเนียงเดียวกันเลย “แล้วภาษาอังกฤษแบบฟิลิปปินส์คืออะไร มาตรฐานอยู่ตรงไหน”

ชาวอเมริกันคนหนึ่งเขียนว่า เคยทำงานกับครูฟิลิปปินส์ถึง 5 คนในโรงเรียนสอนภาษานานาชาติในโฮจิมินห์ และพบว่า ทุกคนมีปัญหาเรื่อการเขียน นอกจากนั้น การพูดก็มีปัญหา ไม่ใช่เพียงเรื่องสำเนียงเพี้ยนอย่างเดียว หากพูดผิดไวยากรณ์อีกด้วย และอยากจะให้ทางการนครโฮจิมินห์ออกประกาศรับสมัคงานทั่วไป ตนเองมีคุณสมบัติครบตามต้องการ และจะไปสมัครเพื่ออาสาทำงานนี้
.
 <bR><FONT color=#000033>คุณครูชาวเวียดนามนำนักเรียนเล่นเกมส์ประกอบการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ที่โรงเรียนประถมศึกษาฟานดี่งฝุ่ง (Phan Dinh Phung) อันมีชื่อเสียงในอำเภอที่ 3 นครโฮจิมินห์ คำถามคือ ครูเวียดนามที่เรียนภาษาอังกฤษจบจากเมืองนอกเมืองนา หลายคนจบวิชาการสอน มีสิทธิ์สอนในโรงเรียนสังกัดนครโฮจิมินห์หรือไม่ ด้วยค่าจ้างเท่ากันหรือต่ำกว่า เหตุใดจึงต้องจ้างเฉพาะครูชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษาเช่นกัน. -- Photo: Tuoi Tre Online.
.
“It takes time.” ครูฟิลิปปินส์จะพูดว่า “อิด เต้ก ไตม์” แทนที่จะเป็น “อิท เทคส์ ไทม์ส” -- อีกคนหนึ่งเขียน

ชาวเวียดนามอีกคนหนึ่งแสดงตัวเองเป็นนักเรียนเก่าสหรัฐฯ เขียน “Thirty thrashing fish thrust themselves further through my brother's other clothes” และท้าให้ทั้งครูชาวเวียดนามกับครูฟิลิปปินส์อ่าน เพื่อดูว่าจะมีสักกี่คนออกเสียง “TH” ในประโยคนี้ได้ถูกต้อง ซึ่งเป็นเหตุสมควรจ้างครูที่เป็นเจ้าของภาษาในการสอนภาษาอังกฤษ

ผู้อ่านอีกคนหนึ่งแสดงตนเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนสอนภาษานานาชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า อัตรา 2,000 ดอลลาร์เป็นค่าจ้างทั่วไปของครูสอนภาษาชาวต่างชาติในเวียดนาม แม้แต่มหาวิทยาลัย RMIT (สถาบันการศึกษาจากออสเตรเลีย) สาขานครโฮจิมินห์ ก็จ้างอาจารย์สอนภาษาอังกฤษเพียง 2,900 ดอลลาร์ จึงไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวียดนามไปได้ตัวเลข 5,000 กับ 10,000 ดอลลาร์ไปจากแหล่งใด

ชาวออสเตรเลียอีกคนหนึ่งตอบโต้ ดร.หวูถิเฟืองแอง ที่อ้างว่า ครูฟิลิปปินส์ออกเสียง และพูดภาษาอังกฤษได้ดีเท่าๆ กับเจ้าของภาษา

“เธอเป็นเจ้าของภาษาหรือจึงรู้ว่าชาวฟิลิปปินส์พูดได้ดีเท่าเจ้าของภาษา หรือไปรู้มาจากไหน ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัด”

“มันเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าให้ชาวต่างชาติเช่นพวกเราบรรยายความแตกต่างระหว่างภาษาเวียดนามของชาวเวียดนามในภาคเหนือกับชาวเวียดนามในภาคใต้ พวกเราซึ่งไม่ใช่ชาวเวียดนามคงบอกความแตกต่างไม่ได้ทั้งหมด” บุคคลเดียวกันอธิบาย

ชาวต่างชาติอีกหลายคนที่สอนภาษาอังกฤษในเวียดนามปัจจุบันต่างกล่าวว่า มีครูอเมริกันกับครูชาวอังกฤษไม่กี่คนที่ได้รับค่าจ้างสูงกว่า 2,500 ดอลลาร์ต่อเดือน และ สงสัยเจ้าหน้าที่เวียดนามว่าไปได้ตัวเลข 5,000-10,000 ดอลลาร์ จากที่ใดมาอ้างถึง

“หรือเป็นตัวเลขที่รวมจำนวนที่ต้องจ่ายใต้โต๊ะเอาไว้ด้วย?” เจ้าตัวตั้งคำถาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น