xs
xsm
sm
md
lg

ผู้นำอาเซียนไปร่วมไว้อาลัยกษัตริย์สีหนุครั้งสุดท้าย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ทำพิธีสักการะพระศพกษัตริย์สีหนุในวันที่ 19 ต.ค.2555 นอกจากผู้นำรัฐบาลแล้ว นายเลห่มง์กวน (Le Hong Quan) ประธานคณะกรรมการประชาชน (ผู้ว่าราชการ) นครโฮจขิมินห์เป็นอีกคนหนึ่งที่เดินทางไปกัมพูชาเพื่อการเดียวกันนี้ เช่นเดียวกันกับผู้นำของกลุ่มอาเซียนอีกหลายคน. -- ภาพ: สำนักพระราชวัง/พนมเปญ. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ช่วงที่ผ่านมา บรรดาผู้นำกลุ่มอาเซียน หรือผู้แทน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงได้เดินทางไปยังกัมพูชา เพื่อแสดงความอาลัยกษัตริย์สีหนุเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งรวมทั้งนายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหวียนเติ๋นยวุ๋ง และนายกรัฐมนตรีลาว ทองสิง ทำมะวง ในขณะที่พิธีไว้อาลัยอย่างเป็นทางการ 7 วันกำลังจะสิ้นสุดลงในวันอังคาร 23 ต.ค.นี้

ช่วงที่ผ่านมา สถานที่ราชการทุกแห่งได้ลดธงชาติลง 1 ใน 3 ของเสา และทั่วทั้งสังคมหยุดกิจกรรมบันเทิงทุกอย่าง

อย่างไรก็ตาม หลังจากวันอังคารนี้เป็นต้นไป ทุกอย่างในชีวิตประจำวันจะกลับคืนสู่ปกติ แต่รัฐบาลยังตั้งพระศพไว้ในพระราชวัง และยังเปิดให้ผู้คนทั่วไป ตลอดจนแขกบ้านแขกเมืองเข้าร่วมไว้อาลัย จนกว่าจะครบ 3 เดือน ที่จะประกาศกำหนดการถวายพระเพลิงอีกครั้งหนึ่ง

ทางการกัมพูชาได้ประกาศในวันจันทร์ 22 ต.ค.นี้ กำหนดให้วันที่ 15 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงกษัตริย์สีหนุ “กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ พระบิดาแห่งเอกราช และทรงสร้างกัมพูชาที่เป็นปึกแผ่น” สำนักข่าวของทางการกล่าว

อดีตกษัตริย์ทรงมีพระราชสมภพวันที่ 31 ต.ค.2465 ทรงครองกัมพูชาสองช่วง คือในระหว่างปี 2484-2498 และอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี 2536 แต่ได้ทรงสละราชบังลังก์ในวันที่ 7 ต.ค.2547 เพื่อเปิดทางให้พระราชโอรสขึ้นครองราชย์สืบแทน ซึ่งก็คือ สมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ในปัจจุบัน

“พระชนก” แห่งกษัตริย์กัมพูชา ทรงนำประเทศให้ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี 2546 โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ จนได้รับการเทิดพระเกียรติเป็น “พระบิดาแห่งเอกราช บูรณภาพเหนือดินแดน และเอกภาพแห่งชาติ” สำนักข่าวกัมพูชากล่าว

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้เซ็นคำสั่งฉบับหนึ่งในวันจันทร์นี้ ระบุให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ทั้งของรัฐ และของเอกชนให้เผยแพร่พระประวัติของอดีตกษัตริย์ เผยแพร่พระราชกรณีย์กิจ พระเกียรติคุณ ตลอดจนความสำเร็จต่างๆ ของพระองค์ ในวันที่ 15 ต.ค.ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันสำคัญของชาติอีกวันหนึ่ง

นายกรัฐมนตรีเวียดนามเดินทางถึงกรุงพนมเปญในวันที่ 19 ต.ค. เพื่อเคารพพระศพ ผู้นำอาเซียนคนอื่นๆ ที่เดินทางไปกัมพูชาในช่วงที่ผ่านมา ยังรวมทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นรม.ไทย นายลีเซียลูง นรม.สิงคโปร์ และรองประธานาธิบดีพม่า นพ.สายหมอกคำ ของพม่าด้วย สำนักข่าวกัมพูชาอ้างรายงานอย่างเป็นทางการของสำนักพระราชวัง
.
  <bR><FONT color=#000033>นายกรัฐมนตรีลาว ทองสิง ทำมะวง ระหว่างพิธีสักการะพระศพกษัตริย์สีหนุในกรุงพนมเปญ ในวันที่ 19 ต.ค.2555 เข้าร่วมไว้อาลัยอดีตพระประมุขในวันเดียวกันยังรวมทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นรม.ไทยด้วย. -- ภาพ: สำนักพระราชวัง/พนมเปญ. </b>
.
นายเลห่มง์กวน (Le Hong Quan) ประธานคณะกรรมการประชาชนนครโฮจิมินห์ เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่เดินทางไปเพื่อการนี้ โดยได้แสดงความอาลัยต่ออดีตกษัตริย์ แทนนายเลแทงหาย (Le Thanh Hai) เลขาธิการพรรคสาขานครโฮจิมินห์ และกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

อดีตกษัตริย์ทรงเป็นมิตรใกล้ชิดกับนายฝ่ามวันดง อดีตนายกรัฐมนตรีเวียดนามที่เคยอยู่ในตำแหน่งมายาวนาน 2 ทศวรรษ บุคคลทั้งสองยังเป็นผู้เข้าร่วมการประชุมประเทศเอเชีย-แอฟริกา 29 ประเทศที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือน เม.ย.2498 ร่วมกับผู้นำเอเชียอื่นๆ อีกหลายคน เช่น ประธานาธิบดีซูการ์โน นรม.จีน นายโจวเอินไหล นรม.อินเดีย เยาวหราลเนรู และ นรม.ราชอาณาจักรลาวคือ เจ้าสุวันนะพูมา

ที่ประชุมบันดุงได้ประกาศยอมรับสิ่งที่เรียกว่า “หลักปัญจศีล” หรือหลัก 5 ประการในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การประชุมในบันดุงได้นำไปสู่การกำเนิดขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement) ในปี 2504 ในยูโกสลาเวีย

ในช่วงปีสำคัญแห่งสงครามเวียดนาม “เจ้าสีหนุ” นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้ประกาศให้ประเทศแต่ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นให้เวียดนามเหนือใช้ดินแดนกัมพูชาเป็นทางลำเลียงทหาร และอาวุธลงสู่ภาคใต้ทำสงครามกับรัฐบาลที่สหรัฐฯ หนุนหลัง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลา 10 ปีแห่งการยึดครองกัมพูชาโดยเวียดนาม ระหว่างปี 2522-2532 “เจ้าสีหนุ" ในครั้งนั้น ได้เป็นผู้นำรัฐบาลผสมสามฝ่ายกัมพูชาประชาธิปไตยที่มีเขมรแดงเป็นกำลังสำคัญในการสู้รบกับทหารเวียดนาม โดยได้รับการสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์จากจีน

อดีตกษัตริย์ทรงมีสาสน์ฉบับหนึ่งถึงนายวันดง ทรงขอให้ถอนทหารเวียดนามออกจากกัมพูชา เพื่อให้กัมพูชาเป็นประเทศเอกราช และมีอธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง แต่อดีต นรม.เวียดนาม ไม่เคยตอบกลับสาสน์ของสมเด็จสีหนุ.
กำลังโหลดความคิดเห็น