xs
xsm
sm
md
lg

หนังสือพิมพ์พม่าถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 23 ส.ค. ผู้สื่อข่าวชาวพม่าสวมเสื้อมีข้อความพิมพ์ว่า หยุดฆ่าสื่อ ระหว่างรออยู่ภายนอกศาลพิจารณาคดีหมิ่นประมาทกับหนังสือพิมพ์เดอะว๊อยส์วีคลีย์ ในนครย่างกุ้ง โดยบรรณาธิการบริหารและผู้ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์เดอะว๊อยส์วีคลีย์ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทในวันที่ 20 ก.ย. จากรายงานการสอบสวนการรับสินบนในกระทรวงหนึ่งของรัฐบาล. -- AFP PHOTO/ Soe Than Win/FILES. </font></b>

เอเอฟพี - บรรณาธิการบริหาร และสำนักพิมพ์หนังสือพิมพ์พม่าฉบับหนึ่งถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท วันนี้ (20) จากการรายงานการสอบสวนการรับสินบนในกระทรวงหนึ่งของรัฐบาล ที่การฟ้องร้องครั้งนี้ดูเหมือนจะสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปฏิรูปสื่อของรัฐ

กระทรวงเหมืองแร่ ฟ้องหมิ่นประมาทหนังสือพิมพ์เดอะวอยส์ วีคลี่ย์ จากบทความที่ระบุว่า สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ค้นพบการยักยอกเงิน และฉ้อโกงภายในหน่วยงานของกระทรวง

“ศาลรับพิจารณาคำฟ้อง” บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์เดอะวอยส์ นายกอว์ มิน ฉ่วย กล่าว พร้อมเรียกร้องการคุ้มครองผู้สื่อข่าวรายงานสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชน

ภายใต้กฎหมายสิ่งพิมพ์ปี 2505 ของพม่า ทั้งบุคคล และองค์กรสามารถฟ้องร้องสิ่งพิมพ์ในข้อหาหมิ่นประมาทได้ ทว่า ตัวกฎหมายนั้นกำลังตกเป็นคำถามท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่ปฏิรูปอย่างรวดเร็ว ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศคนใหม่ นายอ่อง ยี กล่าวกับหนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่งเมื่อไม่นานนี้ว่า กฎหมายดังกล่าวจะถูกยกเลิก ในส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะให้เสรีภาพแก่สื่อจากที่ถูกควบคุมอย่างหนักภายใต้ระบบเซ็นเซอร์ที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ในเดือน ส.ค. พม่าประกาศยุติมาตรการการตรวจสอบเนื้อหาก่อนตีพิมพ์ ที่ก่อนหน้านี้ สิ่งพิมพ์ทุกชนิดตั้งแต่หนังสือพิมพ์ ไปจนถึงเนื้อเพลง หรือแม้แต่นิทาน ต้องส่งเนื้อหารายละเอียดให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบ

นายเต็ง ยุ้นต์ ทนายความของหนังสือพิมพ์เดอะวอยส์ ที่ยังมีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปไตยแห่งชาติใหม่ (NNDP) ระบุว่า การอนุญาตให้ดำเนินการฟ้องหมิ่นประมาทในวันนี้ ถือเป็นการทำลายกระบวนการปฏิรูป

“คดีความระหว่างรัฐบาล และหนังสือพิมพ์เดอะวอยส์ทำลายภาพลักษณ์ของรัฐบาล ปัญหานี้ควรดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุดที่จะสามารถทำได้” นายเต็ง ยุ้นต์ กล่าว และว่าคดีนี้จะมีการพิจารณาในวันที่ 5 ต.ค.

นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อปีก่อน ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศหลายประการ ทั้งการปล่อยตัวนักโทษการเมืองหลายร้อยคน และการเลือกตั้งนางอองซานซูจีเข้าสู่สภา

กฎหมายฉบับปี 2505 ทำให้สำนักพิมพ์ บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าวจำนวนมาก รวมทั้งนักเคลื่อนไหว ต้องถูกจำคุกระหว่างการปกครองระบอบเผด็จการทหารที่ยาวนานนับครึ่งศตวรรษ ซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อปีก่อน.
กำลังโหลดความคิดเห็น