xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามเรียกร้องให้ใช้ประโยชน์แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน (ขวา) ร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (เอเปค) ในนครวลาดิวอสต็อก วันที่ 9 ก.ย. พร้อมกับนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ (กลาง) และประธานาธิบดีเจื่องเติ่นซางของเวียดนาม (ซ้าย). -- AFP PHOTO/POOL/Jim Watson. </font></b>

เอเอฟพี - ประธานาธิบดีเวียดนาม กล่าวเตือนในการประชุมเศรษฐกิจที่รัสเซียเมื่อวันศุกร์ (7 ก.ย.) ว่า หลายชาติอาจต้องมีส่วนร่วมในความขัดแย้งการเข้าถึงแหล่งน้ำ และเรียกร้องให้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน

ในการขึ้นกล่าวในที่ประชุมเศรษฐกิจในรัสเซีย ประธานาธิบดีเจื่อง เติ่น ซาง ของเวียดนามกล่าวว่า แหล่งน้ำมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นจุดอ่อนไหวทางภูมิศาสตร์การเมืองเช่นเดียวกับน้ำมัน

“นี่ไม่ใช่การกล่าวเกินจริง ที่จะมองว่าแหล่งทรัพยากรน้ำของศตวรรษที่ 21 เป็นเช่นเดียวกับน้ำมันในยุคศตวรรษที่ 19 และ 20” ประธานาธิบดีเวียดนามกล่าวระหว่างการสัมมนาเรื่องน้ำในที่ประชุมความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก

“ความตึงเครียดเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรน้ำกำลังคุกคามการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ และเป็นแหล่งของความขัดแย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในความพยายามของทุกประเทศที่จะเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนั้น การก่อสร้างเขื่อนและการปรับลำน้ำของบางประเทศในช่วงต้นแม่น้ำเป็นสิ่งที่หลายประเทศกังวล และยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง” ประธานาธิบดีซางกล่าว

การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงที่เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดลำดับที่ 12 ของโลก กลายเป็นประเด็นความแตกแยกท่ามกลางชาติที่แม่น้ำสายนี้ไหลผ่าน ทั้งพม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม และจีนที่เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสายนี้

ประชาชนมากกว่า 60 ล้านคนพึ่งพาแม่น้ำสายนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และยังเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ และแหล่งประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่สามารถจับปลาได้ประมาณ 3.9 ล้านตันต่อปี ตามรายงานของคณะกรรมการแม่น้ำโขง แต่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเตือนว่า แม่น้ำโขงสายนี้กำลังถูกคุกคามจากการสร้างเขื่อนไฟฟ้า

จีน ประเทศที่กระหายพลังงานอย่างมากมีโครงการสร้างเขื่อนที่วางแผนไว้ และเขื่อนที่สร้างขึ้นแล้วบนแม่น้ำสายนี้ ได้ปฎิเสธข้อกล่าวหาว่าเขื่อนเหล่านั้นส่งผลให้ระดับน้ำในช่วงปลายแม่น้ำลดลง

ลาว ให้คำมั่นในเดือน ก.ค. ที่จะเลื่อนโครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบูลี หลังประเทศปลายแม่น้ำ คือ กัมพูชา และเวียดนาม แสดงความกังวลว่าการสร้างเขื่อนดังกล่าวเป็นอันตรายต่อการทำประมง และระบบชลประทาน พร้อมระบุว่า จะหาทางแก้ไขความกังวลดังกล่าวแต่ไม่ยุติโครงการสร้างเขื่อนมูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์แห่งนี้

“การจัดการ และการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในแม่น้ำโขงเป็นประเด็นที่กระทบโดยตรงต่อการผลิตข้าวของเวียบดนาม” ประธานาธิบดีซางกล่าว พร้อมเรียกร้องความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อให้แน่ใจว่าใช้ประโยชน์แหล่งน้ำอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่แม่น้ำสายนี้ไหลผ่าน.
กำลังโหลดความคิดเห็น