xs
xsm
sm
md
lg

พม่ารอบริษัทยักษ์พันธุ์ข้าวข้ามชาติ ช่วยทวงแชมป์ส่งออก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ชาวนากำลังปักดำข้าวนาปีในทุ่งนาชานกรุงเก่าย่างกุ้งในภาพวันที่ 13 ก.ค.2555 ในท่ามกลางการปฏิรูปที่ได้รับการแซ่ซร้องสรรเสริญไปทั่วโลก พม่ากำลังดำเนินแผนการใหญ่เพื่อทวงการเป็นประเทศแช้มป์ส่งออกข้าวเมื่อกว่า 40 ปีก่อนกลับคืน แต่ต่างไปจากวิธีปฏิบัติในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง พม่าหวังความช่วยเหลือด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวจากบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติเช่นนมอนซานโต หรือดูปอนต์ จากสหรัฐ ในการเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้วโครงการเมล็ดพันธุ์ข้าวไฮบรีดเคยถูกต่อต้านในประเทศไทยมาก่อน. -- REUTERS/Soe Zeya Tun.   <b>
.

ย่างกุ้ง (รอยเตอร์) - พม่าหวังทวงตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 1 ของโลก โดยขณะนี้ เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐ และเอกชนเริ่มร่างแผนฟื้นอุตสาหกรรมนี้หลังจากถูกละเลย และบริหารจัดการผิดพลาดมานานปี

ภาคเกษตรกรรมของพม่า ซึ่งรวมถึงการทำไร่ไถนา ประมง ป่าไม้ และการเลี้ยงสัตว์ คิดเป็นสัดส่วน 43% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เป็น1 ใน 4 ของการส่งออก และเป็น 70% ในการจ้างงาน ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงการส่งออกก๊าซธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบเพียง 20% ของเศรษฐกิจประเทศที่มีมูลค่าประมาณ 43,000 ล้านดอลลาร์

ในเวลาเดียวกับที่พม่ากำลังเดินหน้าการปฏิรูปครั้งใหญ่ที่สุด นับจากทหารก่อรัฐประหารยึดอำนาจในปี 1962 รัฐบาลพม่า ก็กำลังคิดหาวิธีฟื้นอุตสาหกรรมข้าว และทวงตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกที่เคยทำได้ในทศวรรษ 1960 และปัจจุบัน เกือบถูกลืมเลือนไปหมดแล้ว เป้าหมายสำคัญอันดับแรกคือ การช่วยให้ชาวนาเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ด้วยการส่งเสริมให้บรรษัทข้ามชาติอย่างมอนซานโต้ (Monsanto) และไพโอเนียร์ ไฮ-บรีด (Pioneer Hi-Bred) ในเครือดูปองต์ (Dupont) เข้าไปลงทุน

เป้าหมายนี้ง่ายดายขึ้น หลังจากสหรัฐฯ ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรเมื่อไม่นานมานี้ ตัวอย่างเช่น ดูปองต์ ไพโอเนียร์ ที่เผยว่า กำลังรอคอยโอกาสเข้าไปสำรวจลู่ทางในพม่า

เยมินอ่อง (Ye Min Aung) เลขาธิการใหญ่สมาคมอุตสาหกรรมข้าวพม่า คาดหมายว่า จะสามารถส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ล้านตันในปีนี้ 2 ล้านตันในปีหน้า และ 3 ล้านตันในปี 2015 เทียบกับ 778,000 ตันในปีที่ผ่านมา โดยตลาดเป้าหมาย คือ แอฟริกา บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และติมอร์ตะวันออก

อย่างไรก็ดี กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ กลับคาดหมายว่า ยอดส่งออกข้าวของพม่าจะลดลง 23% ในปีนี้ เนื่องจากผู้ผลิตอื่นๆ ส่งข้าวเข้าตลาดมากขึ้น

ความพยายามของพม่า ยังรวมถึงการตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรแห่งใหม่เมื่อ 2 เดือนที่แล้ว เพื่อปล่อยสินเชื่อแก่เกษตรกรรายย่อย ซึ่งจำนวนมากเป็นหนี้เป็นสิน

ธนาคารเพื่อการเกษตรใหม่เอี่ยมแห่งนี้มีชื่อว่า เมียนมาร์ อะโกร-บิสเนส พับลิก (Myanma Agro-business Public) มีผู้ถือหุ้นอยู่ 76 ราย ซึ่งรวมถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม (เอดีซี) หลายแห่งที่ดำเนินการโดยนักธุรกิจท้องถิ่นที่เชี่ยวชาญในด้านเงินกู้ระดับรากหญ้า

เมียนมาร์ อะโกร-บิสเนส มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 18 ล้านดอลลาร์ และวางแผนนำหุ้นออกขายหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจแล้ว

รูปแบบของธนาคารแห่งนี้ คล้ายกับธนาคารในอินโดนีเซียซึ่งพม่ากำลังศึกษาแนวทางการปฏิรูปการเมือง และเศรษฐกิจ แตกต่างกันตรงที่เมียนมาร์ อะโกร-บิสเนส จะไม่ใช่กิจการที่ควบคุมโดยรัฐ

แต่นายเดวิด เดพิซ (David Dapice)นักเศรษฐศาสตร์จากแอช เซ็นเตอร์ (Ash Center) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ช่วยแบงก์ รัคยัต อินโดนีเซีย (Bank Rakyat Indonesia) สร้างเครือข่ายช่องทางปล่อยสินเชื่อรายย่อย และทำกำไรในทศวรรษ 1980 ชี้ว่า ลักษณะดังกล่าวจะทำให้เมียนมาร์ อะโกร-บิสเนส มีปัญหา

ฤดูนาปีเริ่มขึ้นแล้ว by Reuters

2

3

4
นายเดพิซแจงว่า ในอินโดนีเซียนั้น ธนาคารของรัฐสามารถดำเนินการในรูปธนาคารเอกชน และทำได้ดีมาก สินเชื่อสำหรับชนบทกลายเป็นแหล่งทำกำไร ขณะที่ถ้าเป็นแบงก์เอกชนจริงๆ อาจลังเลในการปล่อยสินเชื่อแก่ชนบท เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ยากจน

สถานการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นมาจริงๆ ในพม่า กล่าวคือ หลังจากปล่อยกู้ 100 ล้านดอลลาร์ในปีการเงิน 2010 พวกเอดีซีก็ได้ลดวงเงินสินเชื่อเหลือ 25 ล้านดอลลาร์ในปีการเงินถัดมา

ตรงข้ามกับอินโดนีเซีย นายดาพิซกล่าวเสริมว่า อินโดนีเซียตระหนักว่า ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในชนบท และเสนออัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นจริง ไม่ใช่แค่ปล่อยกู้เพื่อให้เกษตรกรมีฐานะดีขึ้น ทว่า สิ่งเหล่านี้ยังไม่มีให้เห็นในพม่า

โรงสีเป็นปัญหาอีกข้อหนึ่ง โรงสีราว 80% ในพม่ าเป็นโรงสีขนาดเล็ก ธุรกิจที่ล้าสมัยเหล่านี้ยังมีปัญหาในการสีข้าวให้ขาวให้ชวนรับประทานตามที่ลูกค้าทั่วโลกคาดหวัง ผลลัพธ์คือ การขาดทุน โดยวัดได้จากเมล็ดข้าวที่หักที่สูงกว่าโรงสีของไทย และเวียดนามถึง 20%

อย่างไรก็ตาม นายทินทู๊ตอู (Tin Htut Oo) ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของพม่า เผยว่า ขณะนี้ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในท้องถิ่นหลายแห่งกำลังสร้างโรงสีขนาดใหญ่ที่รองรับการสีข้าวได้ 200 ตันต่อวัน

นายทู๊ตอูคาดว่า ยอดจำหน่ายปุ๋ยจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเวลานี้แม้พื้นที่เกษตรกรรมของพม่ามีขนาดพอๆ กับเวียดนาม และไทย แต่กลับใช้ปุ๋ยน้อยกว่าถึง 2 ใน 3 คือ ปีละล้านตันเท่านั้น.
กำลังโหลดความคิดเห็น