xs
xsm
sm
md
lg

ลาวงด 3 ปี หยุดออกใบอนุญาตเหมืองแร่-สวนยาง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 22 ก.พ.2555 ยวดยานกำลังแล่นผ่านสวนยางหย่อมเล็กๆ ริมทางหลวงเลข 13 ใต้ ที่มุ่งหน้าขึ้นไปทางทิศเหนือระหว่างเมืองท่าแขกแขวงคำม่วนกับเมืองเวียงทองแขวงบอลิคำไซ นี่คือยางในเนื้อที่ของราษฎรท้องถิ่น ในโครงการร่วมผลิตกับนักลงทุนเอกชน ภาพเช่นนี้พบเห็นได้ทั่วไปในลาวโดยอยู่สลับกับสวนยางพาราบนที่ดินสัมปทานผืนใหญ่ วันนี้ไม่มีผืนดินเหลือให้ใครอีกแล้ว ลาวประกาศงดออกใบอนุญาตโครงการปลูกพืชเศรษฐกิจไปจนถึงสิ้นปี 2558 เพื่อสำรวจความคุ้มค่าของการลงทุนแขนงนี้. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รัฐบาลลาวจะงดออกใบอนุญาตให้โครงการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ กับโครงการปลูกพืชเศรษฐกิจไปจนถึงปี 2558 เพื่อศึกษาตรวจสอบประสิทธิผลของการลงทุนในสองแขนงนี้ สำนักข่าวสารปะเทดลาวอ้างคำกล่าวของนายกรัฐมนสตรีทองสิง ทำมะวง ที่ปราศรัยในสภาแห่งชาติวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา

เป็นที่ทราบกันดีว่า ลาวได้ประกาศหยุดออกใบอนุญาตโครงการสำรวจและผลิตแร่ “เป็นการชั่วคราว” ตั้งแต่ปีที่แล้ว การหยุดออกใบอนุญาตโครงการปลูกพืชเศรษฐกิจซึ่งครั้งหนึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างดีนั้นเป็นเรื่องใหม่

รัฐบาลจะไม่ออกใบอนุญาตใดๆ ให้โครงการลงทุนในสองแขนงนี้ไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2558 นอกจากนั้น โครงการใดที่ได้รับอนุญาตแล้วและเห็นว่า “ไม่ไปไม่มา” (ไม่มีความคืบหน้า) หรือ “ไม่มีประสิทธิผล” รัฐบาลจะสั่งให้ยุติ ส่วนโครงการที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว และดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผล ให้ดำเนินการต่อไปได้ ขปล.กล่าว

ที่ผ่านมา มีหลายโครงการที่ได้รับอนุมัติไปแล้วไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร “ซึ่งทำให้เกิดมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และกระทบต่อเนื้อที่ป่าไม้ รวมถึงการดำเนินชีวิตของผู้คน และชีวนานาพันธุ์ไม่น้อย” สำนักข่าวของทางการอ้างคำพูดของนายกฯ ลาวในตอนหนึ่ง

นับตั้งแต่ปี 2531 รัฐบาลอนุมัติโครงการลงทุนไปทั้งสิ้น 4,470 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 24,000 ล้านดอลลาร์ แขนงเหมืองแร่มากที่สุดมูลค่า 5,500 ล้านดอลลาร์ แขนงพลังงานไฟฟ้า 5,000 ล้านดอลลาร์ และกสิกรรม 2,600 ล้านดอลลาร์

แขนงที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากที่สุดคือ เหมืองแร่ ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติไปประมาณ 171 โครงการ ติดตามด้วย แขนงกสิกรรมรวม 57 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโครงการปลูกพืชอุตสาหกรรม ซึ่งการทำสวนยางพารามากที่สุด ขปล.กล่าว

ไม่กี่ปีมานี้ ทางการท้องถิ่นในหลายแขวง (จังหวัด) ได้พบว่า ทั้งเหมืองแร่ และสวนยาง ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนท้องถิ่นอย่างมาก ราษฎรจำนวนมากต้องอพยพออกจากที่ทำกินเพื่อเปิดทางให้บริษัทต่างขาติที่ได้รับสัมปทานเข้าดำเนินการ ในขณะที่เหมืองแร่หลายแห่งยังส่งผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมอีกด้วย

ทั้งสองโครงการต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมากเช่นกัน ซึงสวนทางกับนโยบายของรัฐบาลที่รณรงค์ส่งเสริมให้แขวงต่างๆ ปลูกป่าทั่วประเทศไปจนถึงปี 2563 แขวงจำปาสักเป็นแห่งแรกที่ประกาศไม่ออกใบอนุญาตให้แก่โครงการเหมือง และทำสวนยางพาราอีก เนื่องจากส่งผลกระทบต่อป่าไม้ และพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนโดยตรง มาตรการนี้ทำให้แขวงเพื่อนบ้านรวมคือ สาละวัน เซกอง และอัตตะปือ ต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างเข้มงวดมากขึ้น.
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 22 ก.พ.2555 แผ่นป้ายโฆษณาบริษัทโอจิลาวพัฒนาปลูกป่า (Oji Laos Plantation Forest Co Ltd) ติดหราอยู่ริมทางหลวงเลข 13 ใต้ ระหว่างเมืองท่าแขกแขวงคำม่วนกับเมืองเวียงทองแขวงบอลิคำไซ ประกาศเขตร่วมทุนระหว่างบริษัทกระดาษจากญี่ปุ่นกับราฎรในท้องถิ่น บริษัทนี้เข้าทำสวนป่ายูคาลิปตัสในลาวก่อนใครๆ เป็นเจ้าของพื้นที่สัมปทานหลายหมื่นไร่ วันนี้ลาวไม่มีผืนดินเหลือให้ใครอีกแล้ว รัฐบาลประกาศงดออกใบอนุญาตโครงการปลูกพืชเศรษฐกิจไปจนถึงสิ้นปี 2558 เพื่อสำรวจความคุ้มค่า. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </b> . </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น