xs
xsm
sm
md
lg

“ปลาข่า” ส่งสัญญาณร้าย ปีนี้พายุมาเร็ว และรุนแรง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ปลาข่า ทิ้งผลงานเอาไว้เยอะแยะขณะเคลื่อนผ่านนครโฮจิมินห์สัปดาห์ปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่อ่อนตัวลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว นักพยากรณ์กล่าวว่าปีนี้พายุมาเร็ว แรง และพยากรณ์ได้ลำบากมากขึ้น. -- Dan Tri Online. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - นักพยากรณ์อากาศในเวียดนามกล่าวว่า ไต้ฝุ่น พายุโซนร้อน และหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่เกิดในเวียดนามปีนี้ เกิดซ้ำๆ เกิดบ่อยๆ มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และยังพยากรณ์ล่วงหน้าได้ยากขึ้นอีกด้วย พายุปลาข่า (Pakhar) ในต้นสัปดาห์ปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาสัปดาห์ที่แล้ว มาเร็วกว่ากำหนดหลายเดือน และเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้

นายเลแทงหาย (Le Thanh Hai) ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์แห่งชาติในกรุงฮานอย กล่าวว่า โดยปกติพายุจาก “ทะเลตะวันออก” จะเคลื่อนเข้าเวียดนามในเดือน พ.ค. และโดยปกติจะเคลื่อนขึ้นไปทางตอนเหนือ ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. พายุจึงจะเคลื่อนในทิศทางที่ต่ำลง

พายุปลาข่ามาเร็วกว่ากำหนด โดยก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลแถบหมู่เกาะเจื่อง (Spratly) เพิ่มความเร็วใกล้ศูนย์กลางขึ้นเป็นกลายเป็นพายุโซนร้อนในเวลาเพียงไม่กี่วัน และมีความเร็วใกล้ระดับไต้ฝุ่นมาก ก่อนจะลดระดับลงเมื่อเคลื่อนเข้าฝั่ง เป็นพายุลูกแรกที่เคลื่อนเข้าเวียดนามในปีนี้

และแม้ว่าจะลงเอยเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ก็ทำให้เกิดฝนตกหนักกินบริเวณกว้างครอบคลุมหลายจังหวัดในภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันขึ้นที่เมืองญาจาง (Nha Trang) เมืองท่องเที่ยวชายทะเลใน จ.แค๊งฮวา (Khanh Hoa) หรือกระทั่งใน จ.เลิมโด่ง (Lam Dong) ในเขตที่ราบสูงตอนกลางของประเทศซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ

ปลาข่ายังนำพายุลมแรงพัดเข้านครโฮจิมินห์ ถนนหลายสายถูกน้ำท่วม พายุยังพัดเอาหลังคาบ้านเรือนราษฎรไปหลายสิบหลัง ต้นไม้ใหญ่โค่นลงเป็นจำนวนมาก

เท่าที่ศูนย์แห่งนี้ได้บันทึกไว้ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา ปลาข่าเป็นพายุลูกแรกที่พัดเข้าฝั่งเวียดนามในช่วงเดือนต้นปีเช่นนี้

ก่อนหน้านั้น ในช่วงกลางเดือน ก.พ. ดีเปรสชันอีกลูกหนึ่งได้ก่อตัวขึ้นทางตอนล่างของทะเลตะวันออก เคลื่อนเข้าไม่ถึงฝั่ง แต่ก็ยังส่งอิทธิพลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงนครโฮจิมินห์

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ นอกจากจะมีพายุเกิดขึ้นเร็วแล้ว บางปียังล่าออกไปจนถึงปลายปีอีกด้วย ซึ่งผิดแผกไปจากฤดูกาลปกติ แต่ยังโชคดีที่มีพายุเกิดขึ้นไม่มากไม่น้อยไปกว่าเดิม

ปีที่แล้ว ไต้ฝุ่นวาชิ (Washi) เกิดขึ้นในเดือน ธ.ค. พัดกระหน่ำเข้าฟิลิปปินส์ มีรายงานผู้เสียชีวิต หรือสูญหายอย่างน้อย 400 คน จากนั้น ได้เคลื่อนเข้าสู่ตอนกลางของทะเลตะวันออก กลายเป็นพายุลูกที่ 7 ของปี 2554 แม้ว่าจะเข้าไม่ถึงเวียดนามก็ตาม

เดือน พ.ย. กับ ธ.ค.ปีเดียวกัน ยังเกิดดีเปรสชันขึ้นอีก 2 ลูก ทั้งๆ ที่เป็นช่วงเดือนใกล้จะสิ้นปี ซึ่งทะเลตะวันออกควรจะสงบราบเรียบ

ปีนี้คาดว่าจะมีพายุโซนร้อนกับดีเปรสชันเคลื่อนเข้าถึงเวียดนาม 6-7 ลูก และคาดว่าทั้งหมดจะมาเร็วกว่ากำหนดที่ควรจะเป็นด้วย นายหายบอกกับสำนักข่าวซเวินจี๊ (Dan Tri) สำนักข่าวภาษาเวียดนามยอดนิยม.
กำลังโหลดความคิดเห็น