xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามสั่งเร่งระบายน้ำเขื่อนร้าว ตรวจและรีบซ่อมรับพายุ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ตรงไหนคือรอยต่อ? -- น้ำไหลบ่าออกจากรอยรั่วที่เขื่อนซงแจง 2 จ.กว๋างนาม ในภาพวันที่ 21 มี.ค.2554 รัฐวิสาหกิจไฟฟ้ากล่าวว่า น้ำรั่วออกจากรอยต่อส่วนก่อสร้างเพิ่มเติม มิได้รั่วจากโครงสร้างเขื่อน แต่ที่คนงานกำลังพยายามอุดอยู่นี้เกิดขึ้นในตัวเขื่อนอย่างชัดเจน ทางการเวียดนามได้สั่งให้ระบายน้ำออกทันที เพื่อตรวจทั้งระบบและพิจารณาดำเนินมาตรการต่อไป ขณะที่ปีนี้ไต้ฝุ่นเข้าเร็ว พายุ ปลาข่า ซึ่งเป็นลูกแรกของปีกำลังจะพัดเข้าถึงฝั่ง 48 ชั่วโมงข้างหน้า กว๋างนามเป็นหนึ่งใน 17 จังหวัด ที่จะได้รับผลกระทบ. -- REUTERS/Stringer. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ทางการเวียดนามได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าระบายน้ำออกจากเขื่อนที่เกิดรอยร้าวอย่างรวดเร็ว จนอยู่ในระดับที่สามารถตรวจซ่อมได้ และให้รีบหามาตรการแก้ไข รัฐวิสาหกิจดังกล่าวได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่พายุลูกหนึ่งกำลังพัดเข้าสู่ทางภาคกลางตอนล่างของประเทศ

การตัดสินใจดังกล่าวยังมีขึ้นพร้อมกับการส่งนายทหารผู้มีหน้าที่รับมือภัยพิบัติในพื้นที่ ไปเยือนไซต์เขื่อนเมื่อต้นสัปดาห์นี้ ซึ่งได้บอกกับคณะกรรมการบริหารเขื่อนว่า "ความปลอดภัยของสาธารณชนต้องมาก่อน"

พล.ต.เหวียนกวีเญิน (Nguyễn Quy Nhơn) รองผู้บัญชาการทหาร กองบัญชาการทหารโซน 5 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะกรรมการช่วยเหลือและกู้ภัยพิบัติประจำเขต ได้ไปเยือนและร่วมประชุมาคณะกรรมการบริการเขื่อนซงแจง 2 (Song Tranh 2) ในวันจันทร์ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา และขอให้คณะกรรมการชุดนี้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น กับเขื่อนที่รั่วอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยยึดเอาความปลอดภัยของประชาชนเป็นอันดับแรก

เขื่อนแห่งนี้อยู่ในท้องที่ อ.บั๊กจ่ามี (Bắc Trà My) จ.กว๋างนาม (Quảng Nam) ที่มีอาณาเขตติดนครด่าหนัง ( Đà Nẵng)

"เขื่อนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่เราจะต้องยึดเอาความปลอดภัยของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด ผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องรีบรายงานอย่างด่วนเกี่ยวกับอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในขั้นตอนก่อสร้าง เพื่อให้สามารถหาสาเหตุอันแท้จริงและแก้ไขได้อย่างถูกต้อง" หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋รายงานอ้างคำพูดของรองผู้บัญชาการทหารโซน 5

พล.ต.เญิน ยังขอให้เจ้าของโครงการเขื่อนแห่งนี้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และรายงานการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างทันท่วงที ขณะที่กองบัญชาการทหารโซน 5 ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งพร้อมกำลังพล เพื่อสนับสนุนมาตรการที่จำเป็นต่างๆ เกี่ยวกับกับความปลอดภัยของประชาชน เตื่อยแจ๋กล่าว

นายหวูดึ๊กต๋วน (Vũ Đức Tuấn) ผู้อำนวยการคณะกรรมการบริหารเขื่อนซงแจง 2 รายงานว่า ปัจจุบันได้ทำการอุดรอยรั่วต่างๆ จนรั่วน้อยลงแล้ว ขณะเดียวกันก็เร่งระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน เพื่อตรวจสภาพก่อนจะพิจารณาดำเนินการขั้นต่อไป พร้อมเตรียมรับมือพายุและฝนในฤดูที่ใกล้เข้ามา
.
<bR><FONT color=#000033>คนงานของรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้ากำลังเจาะๆ อุดๆ อยู่ด้านหลังเขื่อนซงแจง 2 ในภาพวันที่ 21 มี.ค.2554 คณะกรรมการบริหารโครงการกล่าวในสัปดาห์นี้ว่า น้ำรั่วน้อยลงแล้วหลังจากอุด แต่ทางการเวียดนามได้สั่งให้รัฐวิสาหกิจแห่งเร่งระบายน้ำออก เพื่อตรวจทั้งระบบก่อนพิจารณาดำเนินการต่อไป พร้อมทั้งส่งนายพลทหารระดับรองผู้บัญชาการไปตรวจสถานการณ์ความปลอดภัยของเขื่อนด้วย. --   REUTERS/Stringer.</b>
<bR><FONT color=#000033>ประกาศิตสีเขียว-- พล.ต.เหวียนกวีเญิน (Nguyễn Quy Nhơn) รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการทหารโซน 5 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะกรรมการป้องกันและกู้ภัยพิบัติประจำเขต ไปเยือนถึงที่เมื่อวันจันทร์ 26 มี.ค. ทั้งสั่งการว่า ความปลอดภัยของประชาชนต้องมาก่อนอย่างอื่น. -- Tuoi Tre.  </b>
.

นายต๋วนยังกล่าวอีกว่าน้ำที่เห็นนั้น รั่วออกจากรอยรั่วในส่วนที่ก่อสร้างเพื่อต่อขยายเขื่อนแห่งนี้หลายปีก่อน มิได้รั่วจากโครงสร้างของตัวเขื่อนแต่อย่างไร

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลาง ในกรุงฮานอยได้ออกคำเตือนในสัปดาห์นี้ให้ 17 จังหวัดของประเทศ ตั้งแต่ จ.กว๋างหงาย ซึ่งอยู่เหนือ จ.กว๋างนามขึ้นไป ลงไปจนถึงภาคใต้ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง เตรียมรับมือกับพายุปลาข่า ที่คาดว่าจะพัดเข้าถึงฝั่งทะเลภาคกลางตอนล่างในอีก 48 ชั่วโมงข้างหน้า

สัปดาห์นี้นักวิชาการหลายคนได้ทยอยออกเตือนรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าให้ต้องรีบระบายน้ำจากเขื่อนเพื่อลดความเสี่ยง และให้ใช้เครื่องงมือทันสมัยที่สุดตรวจทั้งระบบ เพื่อหาทางแก้ไข ทั้งนี้เพื่อรับประกันความปลอดภัยของผู้คนที่อาศัยอยู่ตามลำน้ำใต้เขื่อนลงไป

ซงแจง 2 เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าหนึ่งใน 3 หรือ 4 แห่งที่สร้างขึ้นกั้นลำน้ำแจงกับลำน้ำสาขา ที่เกิดจากเขตป่าต้นน้ำที่ราบสูงภาคกลางแถบ จ.กงตูม (Kon Tum) และไหลขึ้นทิศเหนือ ไปลงทะเลจีนใต้ที่นครด่าหนัง หากเกิดภัยพิบัติกับเขื่อนแห่งนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรนับหมื่นๆ คน

นักวิชาการได้เตือนมาก่อนหน้านี้ว่า ลำน้ำซงแจงอยู่ในเขตรอยเลื่อนเปลือกโลกซึ่งเสี่ยงที่จะพังครืนลงหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง แต่รัฐวิสาหกิจการไฟฟ้ากล่าวว่าเขื่อนออกไปแบบมาให้ทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ถึงระดับ 7 มาตราริกเตอร์

ปีที่แล้วเกิดแผ่นดินไหวขนาดย่อมๆ ถึง 4 ครั้งในเขตที่ตั้งเขื่อน ครั้งสุดท้ายในเดือน พ.ย.2554 ขนาด 3.4 มาตราริกเตอร์ ทำให้เกิดดินยุบขึ้นหลายแห่งทั่วอาณาบริเวณ รวมทั้งหลุมขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นใกล้สันเขื่อนด้วย แต่คณะกรรมการบริหารกล่าวว่า หลุมดังกล่าวเกิดจากขั้นตอนการก่อสร้างคันดินไม่เกี่ยวกับแผ่นดินไหว.
กำลังโหลดความคิดเห็น