xs
xsm
sm
md
lg

นักอนุรักษ์พบจิ้งเหลนสายพันธุ์ใหม่ในกัมพูชา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2553 เผยแพร่โดยองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ แสดงภาพจิ้งเหลนสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบภายในป่าสงวนของจ.รัตนคีรี กัมพูชา. --AFP PHOTO/Gabor Csorba/Conservation International.  </font></b>

เอเอฟพี -นักอนุรักษ์ธรรมชาติประกาศวันนี้ (22 ก.พ.) ว่า ค้นพบจิ้งเหลนสายพันธุ์ใหม่ที่ผิวหนังบนลำตัวมีสีเหลือบเป็นสีรุ้ง หางยาว แต่ขาสั้น ในบริเวณป่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา

องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ (CI) ระบุในแถลงว่า นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อให้สัตว์ที่พบใหม่นี้ว่า skink Lygosoma veunsaiensis เพื่อเป็นเกียรติแก่พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติป่าสงวนวันสีเสียมปัง ใน จ.รัตนคีรี ซึ่งเป็นสถานที่ค้นพบ

รายงานระบุว่า จิ้งเหลนสายพันธุ์ใหม่นี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2553 ที่บริเวณผืนป่าห่างไกลที่ถูกสำรวจไปเพียงแค่เล็กน้อยในระหว่างการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพนำโดยองค์การอนุรักษ์พืชและสัตว์ระหว่างประเทศ (FFI) ในความร่วมมือกันกับองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ

“สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ยากที่จะค้นพบ เพราะพวกมันใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน” นายเนียง ธี เจ้าหน้าที่ชาวกัมพูชาของ FFI และนักสัตววิทยาด้านสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกคนแรกที่พบจิ้งเหลนพันธุ์ใหม่นี้ กล่าว

องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ ระบุว่า จิ้งเหลนพันธุ์ใหม่มีลักษณะผิดแผกต่างไปจากที่เคยพบ เนื่องจาก ขามีขนาดสั้นมาก และหางยาวกว่าลำตัว ส่วนผิวตามลำตัวสามารถหักเหแสงได้ทำให้เกิดลักษณะคล้ายสีรุ้งเมื่อกระทบแสงอาทิตย์

การค้นพบจิ้งเหลนสายพันธุ์ใหม่นี้ นับเป็นการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ครั้งที่ 3 ในรอบ 2 ปี ในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์วันสีเสียมปัง หลังจากค้นพบค้างคาวและชะนีสายพันธุ์ใหม่ก่อนหน้า
กำลังโหลดความคิดเห็น