xs
xsm
sm
md
lg

หม่องหวานเจี๊ยบ บอกจีนสัมพันธ์จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>พล.อ.สูไข่โห่ว์ (ขวา) กรมการเมือง รองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลาง คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้อนรับการเข้าเยี่ยมคำนับเพื่อหารือข้อราชการของ พล.อ.อองมินหล่าย ผู้บัญชาการกองทัพพม่าในวันอังคาร 29 พ.ย.2554 เป็นการเยือนจีนครั้งที่ 6 ของพล.อ.มินหล่าย แต่เป็นครั้งแรกในตำแหน่งใหม่และไปครั้งนี้ได้บอกกับฝ่ายจีนว่าความสัมพันธ์จะไม่มีวันเปลี่ยนไป การเยือนมีขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ จะไปเยือนพม่าเป็นครั้งประวัติศาสตร์ในรอบกว่าครึ่งศตวรรษ.--  Xinhua/Wang Ye.</b>
นำเสนอครั้งแรกเวลา 21:34 น.29 พฤศจิกายน 2554 ปรับปรุงเนื้อหา-เพิ่มภาพประกอบ เวลา 10.52 น.30 พฤศจิกายน 2554

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- ผู้บัญชาการกองทัพพม่าที่กำลังอยู่เยือนจีนได้บอกกับเจ้าภาพว่า ความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างจีนกับพม่านั้น จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าสถานการณ์ระหว่างประเทศจะเปลี่ยนผันไปอย่างไรก็ตาม และจะขยายความสัมพันธ์ร่วมมือต่อไป บนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกันแบบต่างตอบแทน

พล.อ.มินอองหล่าย (Min Aung Hlaing) ผู้บัญชาการกองทัพพม่าที่กำลังเยือนจีนอย่างเป็นทางการ ระบุดังกล่าวระหว่างพบหารือกับ พล.อ.สูไข่โห่ว์ (Xu Caihou) รองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลาง แห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในวันอังคาร 29 พ.ย.2554

กรเยือนของ พล.อ.อองหล่าย ยังมีขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนที่นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะไปเยือนพม่า ซึ่งกำลังจะเป็นครั้งแรกในรอบ 55 ปีที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไปเยือนประเทศนี้ ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของกองทัพมายาวนาน

ผู้บัญชาการกองทัพพม่าได้เน้นย้ำถึงความสัมพันธ์มิตรภาพอันลึกซึ้งระหว่างประชาชนกับกองทัพของสองประเทศ และความสัมพันธ์มิตรภาพระหว่างพม่ากับจีนจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะสถานการณ์ระหว่างประเทศจะผันแปรไปเช่นไรก็ตาม และพม่าจะกระชับความไว้เนื้อเชื่อใจกับความร่วมมือแบบต่างตอบแทนเป็นแก่นกลางผลประโยชน์ระหว่างสองประเทศต่อไป สำนักข่าวของทางการจีนกล่าว

ผู้บัญชาการกองทัพพม่าเดินทางถึงจีนวันที่ 27 พ.ย.ตามคำเชิญของ พล.อ.เฉินปิงเต๋อ (Chen Bingde) ประธานคณะเสนาธิการร่วมกองทัพประชาชนจีน และเป็นการเยือนจีนครั้งที่ 6 ของนายทหารผู้นี้ และการเยือนครั้งนี้ พล.อ.มินหล่าย มีกำหนดจะไปเยือนนครเซี่ยงไฮ้ หังโจวกับนครเฉิงตูด้วย ซินหัว กล่าว

ส่วน พล.อ.สู ซึ่งเป็นกรมการเมืองคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ บอกกับฝ่ายพม่าว่า จีนพร้อมเสมอที่จะขยายความสัมพันธ์ ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านต่างๆ กับกองทัพพม่า ธำรงรักษาความสงบสุขตามแนวชายแดนสองประเทศ และเข้ามีส่วนร่วมกับการพัฒนาของพม่า ซินหัว กล่าว

นายทหารระดับสูงผู้นี้ไปเยือนพม่าในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ได้พบหารือประเด็นทวิภาคีต่างๆ กับฝ่ายพม่าและได้เข้าเยี่ยมคำนับประธานาธิบดีเต็งเส่ง ก่อนที่ผู้นำสูงสุดคนใหม่ของพม่าจะไปเยือนจีนในปลายเดือนเดียวกัน และเป็นประเทศแรกที่ผู้นำพม่าไปเยือนอย่างเป็นทางการ หลังเข้ารับตำแหน่งในเดือน มี.ค.
.
<bR><FONT color=#000033>พล.อ.สูไข่โห่ว์ ไม่ใช่คนแปลกหน้าสำหรับพม่า เป็นนายทหารระดับสูงต่างชาติคนแรกที่ไปเยือนประเทศนี้ไม่นานหลังจากรัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศและได้เข้าเยี่ยมคำนับประธานาธิบดีเต็งเส่งเมื่อวันที่ 13 พ.ค.ปีนี้ ต่อมาในช่วงปลายเดือน ปธน.พม่าก็ได้ไปเยือนจีนเป็นประเทศแรก หลังเข้ารับตำแหน่งในเดือน มี.ค. สัมพันธ์สองฝ่ายแน่นแฟ้นแม้ว่าพม่าจะเริ่มปรับความสัมพันธ์เข้าหาสหรัฐฯ และโลกตะวันตกก็ตาม. -- (Photo : Xinhua. </b>
พล.อ.สู ยังกล่าวขอบคุณรัฐบาลพม่าที่ให้การสนับสนุนจีนตลอดมาในประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับผลประโยชน์ของฝ่ายจีน และกล่าวอีกว่าจีนเคารพในอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของพม่า และเข้าใจในความตั้งใจจริงของรัฐบาลและประชาชนพม่าที่ต้องการสร้างความเป็นเอกภาพขึ้นในชาติ ซินหัวกล่าว

“การกระชับความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนบ้านที่ดีระหว่างจีนกับพม่ามีความสำคัญยิ่งสำหรับสองประเทศและประชาชนสองชาติกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม” พล.อ.สู กล่าว

กว่า 10 ปีมานี้ จีนได้กลายเป็นผู้สนับสนุนหลักทั้งด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่กองทัพพม่า และยังช่วยฝ่ายพม่าฝึกอบรมนายทหารและเจ้าหน้าที่กลาโหมในสาขาต่างๆ อีกด้วย

จีนยังเป็นผู้สนับสนุนพม่าในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ รวมทั้งการใช้สิทธิยับยั้งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ช่วยให้รัฐบาลทหารในอดีตพ้นจากกรถูกประณามหรือปฏิบัติมาตรการต่างๆ ซึ่งอาจจะรวมทั้งการปฏิบัติการทางทหารต่อพม่า ตามมิติของสหประชาชาติ ที่สหรัฐฯ กับโลกตะวันตกพยายามผลักดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพม่า

แต่สถานการณ์ในพม่าเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วหลังการเลือกตั้งวันที่ 7 พ.ย.2553 และ รัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดี (พลเอก) เต็งเส่ง ได้ปฏิรูปในหลายด้านโดยปรากฏผลอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

สหภาพยุโรปอยู่ในขั้นตอนพิจารณายกเลิกการคว่ำบาตรทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อพม่าที่ดำเนินมาเกือบ 20 ปี เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ที่กำลังดำเนินไปในทิศเดียวกัน

ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นเพิ่งจะประกาศคืนสถานภาพการรับความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการให้แก่พม่าแล้ว ซึ่งจะทำให้พม่าสามารถได้รับความช่วยเหลือแบบ ODA (Official Development Assistance) มูลค่าปีละหลายร้อยล้านดอลลาร์อย่างเต็มที่.
กำลังโหลดความคิดเห็น