xs
xsm
sm
md
lg

โค้ก-เชฟรอน เข้าลาว ยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ หาลู่ทางธุรกิจลงทุน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นางคาเร็น สจ๊วต เอกอัครรัฐทูตสหรัฐประจำนครเวียงจันทน์ นำนักคณะธุรกิจอาวุโส ผู้แทนสภาธุรกิจอาเซียน-อเมริกันเข้าเยี่ยมคำนับรองนายกฯ สมสะหวาด เล่งสะหวัด ในวันจันทร์ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา ในโอกาสไปเยือนสำรวจลู่ทางขยายการค้าและการลงทุนในประเทศนี้ ทุนสหรัฐฯ ล่าช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในลาว ซึ่งหลายปีมานี้นักลงทุนไทย เวียดนามและจีน คว้าโครงการสำคัญๆ ไปจนหมดสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการผลิตพลังงานและเหมืองแร่. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่. <bR><FONT color=#000033>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ผู้แทนจากบริษัทธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายบริษัทเดินทางเข้าลาวในสัปดาห์นี้เพื่อหาลู่ทางขยายการค้าขายและการลงทุน นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ ตั้งแต่สหรัฐฯ ได้คืนฐานะการเป็นประเทศคู่ค้าปรกติ (Normal Trade Relation) ให้แก่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ลาวในปี 2548

นางคาเรน สจ๊วต (Karen Steward) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำลาว ได้นำคณะนักธุรกิจอาวุโสซึ่งเป็นตัวแทนจากสภาธุรกิจอาเซียน-อเมริกา เข้าเยี่ยมคำนับ นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีลาวในค่ำวันจันทร์ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา สื่อของทางการรายงาน

คณะดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนอาวุโสจากบริษัทชั้นนำหลายแห่งรวมทั้งโคคา-โคลา เชฟรอน (Chevron Corp) จีอี (General Electric) จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งฝ่ายเจ้าภาพให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและกล่าวขอบคุณผู้ไปเยือนที่ได้ร่วมกันขยายความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่รายงาน

ระหว่างไปเยือนลาวครั้งนี้ คณะนักธุรกิจอเมริกันยังได้พบหารือกับหลายหน่วยงานทั้งด้านการค้าและการลงทุน เพื่อขยายความสัมพันธ์ร่วมมือแบบประเทศคู่ค้าปรกติต่อไป

แม้ว่าความสัมพันธ์ทางการค้าในยุคใหม่จะได้รับการสถาปนามากว่า 6 ปีแล้ว แต่สหรัฐฯ ก็ยังคงล่าช้าในการบุกเบิกตลาดลาว ประเทศที่มีประชากรเพียงประมาณ 6 ล้านคน แต่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาบริษัทอเมริกันจำนวนหนึ่งรวมทั้งเชฟรอน ได้เข้าไปเปิดสำนักงานในนครเวียงจันทน์ แต่ก็ไม่มีการเลื่อนไหวทางธุรกิจมากนัก ยังคงปล่อยให้บริษัทจากจีน ไทยและเวียดนาม เข้าลงทุนในแขนงสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ธุรกิจผลิตพลังงาน และทำเหมืองแร่ล้ำค่าหลายชนิด

ในเดือน มี.ค.2550 คณะนักธุรกิจจากสภาหอการค้าอเมริกันกับต่างประเทศได้ไปเยือนลาว และได้พบหารือกับผู้แทนสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของลาว รวมทั้งพบหารือกับนายสุลิวง ดาลาวง รัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุนในช่วงปีดังกล่าวเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเข้าลงทุนในประเทศนี้
.
<bR><FONT color=#000033>รถสามล้อเครื่องรับจ้างแล่นผ่านอาคารบริษัทเชฟรอนลาวจำกัด ถนน 23 สิงหาฯ นครเวียงจันทน์ ในวันเสาร์ 19 ก.ย.2552 ซึ่งหยุดทำการ แม้จะไม่มีการเคลื่อนไหวทางธุรกิจและการลงทุนอะไรมากมายก็ตาม ไม่กี่ปีมานี้บริษัทสัญชาติอเมริกันจำนวนหนึ่งเข้าไปเปิดสำนักงานในเมืองหลวงของลาวแล้ว สัปดาห์นี้ผู้แทนจากโคคา-โคลา จีอี รวมทั้งจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ตามเข้าไปหาลู่ทางด้วย. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </b>
.
ครั้งนั้นฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความสนใจและศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการเข้าลงทุน 5 แขนงธุรกิจอุตสาหกรรมหลัก อันได้แก่ การท่องเที่ยว การเหมืองแร่ การโทรคมนาคม การดูแลสุขภาพและ เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักข่าวสารปะเทดลาวของรัฐบาลกล่าว

นับตั้งแต่สองประเทศได้ฟื้นฟูฐานะการค้าปกติต่อกันเป็นต้นมาการค้าและการลงทุนระหว่างลาวกับสหรัฐฯ ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร สินค้าออกจากลาวไปยังตลาดสหรัฐฯ มีเพียงเสื้อผ้าสำเร็จรูปกับเครื่องนุ่งห่มเป็นหลัก

ก่อนหน้านั้นในเดือน ก.ค.2547 ตัวแทนจากบริษัทนิวอิงแลนด์พาวเว่อร์ (New England Power Co) จากสหรัฐฯ ได้พบหารือกับรองนายกรัฐมนตรี ทองลุน สีสุลิด กับนายไซปะเสิด พมสุพา ปลัดกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ เกี่ยวกับการลงทุนสร้างเขื่อนเซกะหมาน 1 ในแขวงอัตตะปือทางใต้สุด เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขายให้ไทยกับเวียดนาม แต่หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏข่าวคราวใดๆ เกี่ยวกับบริษัทอเมริกันแห่งนี้อีก

ในเดือน มี.ค.2551 ระหว่างการประชุมผู้นำประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region) ในนครเวียงจันทน์ บริษัทร่วมลงทุนพลังงานเวียด-ลาว (Viet-Lao Power Joint Stock Co) ได้ร่วมลงนามกับรัฐบาลลาว เพื่อสำรวจโครงการเขื่อนเซกะหมาน 1 และ เริ่มก่อสร้างเมื่อปีที่แล้ว

โครงการนี้มีมูลค่า 441 ล้านดอลลาร์ กำลังปั่นไฟ 322 เกะวัตต์ แบ่งเป็น 3 หน่วย โดย 2 หน่วยแรกหน่วยละ 145 เมกะวัตต์ หน่วยที่ 3 ซึ่งอยู่ใต้ลงไปตามลำน้ำที่เรียกว่า “เซกะหมานชาญชัย” อีก 32 เมกะวัตต์ เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อจากเขื่อนเซกะหมาน 3 ขนาด 250 เมกะวัตต์ โดยบริษัทจากเวียดนาม-ลาว เช่นเดียวกัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น