xs
xsm
sm
md
lg

ช่างภาพ “หนูน้อยนาปาล์ม” รับอีก 1 รางวัลเกียรติยศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>หนูน้อยนาปาล์ม -- ด.ญ.ฟานถิกิมฟุก (Phan Thị Kim Phúc) สภาพเปลือยขณะวิ่งหนีออกจากหมู่บ้านจ๋างบ่าง (Trảng Bàng) ในภาคใต้เวียดนาม หลังจากกองทัพรัฐบาลเวียดนามใต้ที่สหรัฐฯ หนุนหลัง ทิ้งระเบิดลงในหมู่บ้านโดยอ้างว่าผิดเป้าหมาย  อดีตประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เคยแสดงความสงสัยว่าภาพนี้จัดฉากขึ้นหรือเปล่า เหตุเกิดวันที่ 8 มิ.ย.2515 นิค อุ๊ต (Nick Ut) ช่างภาพสำนักข่าวเอพี (Associated Press) เป็นผู้ถ่าย หนูน้อยวัย 9 ขวบรอดชีวิตเพราะเธอถอดเสื้อผ้าที่ถูกไฟไหม้ออก หลังถ่ายภาพนี้ช่างภาพใจเด็ดได้นำเธอส่งโรงพยาบาล นิคกำลังจะเข้ารับรางวัลเกียรติยศอีก 1 รางวัลจากภาพนี้. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นายนิค อุ๊ต (Nick Út) ช่างภาพข่าวสงครามเวียดนาม เจ้าของภาพ “หนูน้อยนาปาล์ม” ที่มีชื่อเสียงกระฉ่อนโลกจะเข้ารับรางวัลความสำเร็จแห่งชีวิตในเดือนหน้านี้ โดยสมาคมนักหนังสือพิมพ์เอเชี่ยนอเมริกัน หรือ AAJA (Asian American Journalist Association)

เป็นรางวัลสูงสุดของสมาคมที่จะมอบให้แก่บุคคลากรในแขนงอาชีพนี้ผู้ที่ “กล้าหาญทุ่มเทและเสียสละในวิชาชีพของตน” สื่อในเวียดนามกล่าว

นิค อุ๊ต ซึ่งปัจจุบันเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเวียดนาม อาศัยทำกินอยู่ในสหรัฐฯ ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปี 2515 ด้วยภาพถ่ายเด็กหญิงฟานถิกิมฟุก (Phan Thi Kin Phuc) วัย 9 ขวบที่บาดเจ็บจากไฟลวกตามเนื้อตัว กำลังวิ่งหนีการระเบิดนาปาล์มที่กองทัพรัฐบาลไซ่ง่อน ทิ้งลงในหมู่บ้านของเธอ โดยอ้างว่านักบินสำคัญผิดเป้าหมาย

การทิ้งระเบิดดังกล่าว มีขึ้นหลังจากกองทัพบกสหรัฐฯ สงสัยว่า หมู่บ้านจ๋างบ่าง (Trảng Bàng) แห่งนั้น จะเป็นแหล่งหลบซ่อนของกองโจรคอมมิวนิสต์เวียดกง

หลังจากถ่ายภาพนี้เสร็จ นิค รีบนำเด็กหญิงคนนี้ไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งได้ช่วยชีวิตของเธอไว้ และยังหมั่นไปเยี่ยมเยือนเธอ ขณะรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากนั้น ด.ญ.กิมฟุก ถูกทางการเวียดนามเหนือใช้ในการทำสงครามโฆษณาชวนเชื่อตลอดมา

ปัจจุบัน กิมฟุก ยังมีชีวิตอยู่ แต่งงานกับเพื่อนนักศึกษาชาวเวียดนามด้วยกันขณะศึกษาวิชาการแพทย์ในคิวบา และต่อมาคนทั้งสองได้ขอลี้ภัยในแคนาดา ปัจจุบันอาศัยทำกินในเมืองเอแจ็กซ์ (Ajax) แค้วนออนตาริโอ (Ontario) เป็นพลเมืองแคนาดา

นอกจากได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ซึ่งถือเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดของคนในอาชีพนี้แล้ว ภาพ “เด็กหญิงนาปาล์ม” ยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับโลกอีกหลายรางวัล รวมทั้งรางวัลเวิลด์เพรสโฟโต (World Press Photo) และรางวัลซิกมาเดลต้า (Sigma Delta) และ รางวัลของสโมสรผู้สื่อข่าวแห่งชาติสหรัฐฯ (US National Press Club) อีกด้วย

ภาพหนูน้อยนาปาล์ม มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ปัจจุบันก็ยังเป็นอีกภาพหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของสงครามเวียดนาม เวิลด์เพรสซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านสื่อระหว่างประเทศได้จัดให้ภาพ “หนูน้อยนาปาล์ม” เป็นภาพแห่งปีเมื่อปี 2515
.
<bR><FONT color=#000033>นิค อุ๊ต (Nick Út) ช่างภาพชาวเวียดนาม-อเมริกัน กับ ฮอร์สท์ ฟาส (Horst Faas) อดีตช่างภาพสำนักข่าวเอพีชาวเยอรมันประจำกรุงไซ่ง่อน ทั้งคู่ต่างได้รับรงวัลพูลิตเซอร์ ซ้ายสุดเป็นอดีตช่างภาพของเอพีชาวเวียดนาม นายดีงดี่งเฟื๊อก (Dinh Dinh Phuoc) ร่วมกันถ่ายรูปรำลึกถึงความหลัง ในงานเลี้ยง วันคืนถิ่น โอกาสครบรอบปีที่ 30 การสิ้นสุดสงครามซึ่งจัดขึ้นในนครโฮจิมินห์วันที่ 28 เม.ย.2550 อดีตผู้สื่อข่าวและช่างภาพราว 100 คน ได้กลับไปเวียดนาเพื่อร่วมงานรำลึกครั้งนั้น.-- AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam/FILE. </b>
<bR><FONT color=#000033>ภาพจาก หนังข่าว แสดงให้เห็นรอยไหม้จากระเบิดนาปาล์มตามแขนและลำตัวของ ด.ญ.ฟานถิกิมฟุก ภาพวิดิโอถ่ายโดย อลัน ดาวน์ (Alan Downe) ช่างภาพโทรทัศน์ ITN แพทย์ที่โรงพยาบาลบาร์สกี (Barsky Hospital) ในไซ่ง่อนลงความเห็นว่า เด็กหญิงวัย 9 ขวบคนนี้จะไม่รอด แต่หลังผ่าตัด 17 ครั้งอาการเธอดีขึ้น ปัจจุบันแต่งงานและอาศัยทำกินในแคนาดา.  </b>
.
การมอบรางวัลให้แก่ นิค อุ๊ต เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “รายงานข่าวเวียดนาม” หรือ Vietnam Reporting Project ที่จัดโดยศูนย์วารสารศาสตร์เรอเนซอง (Renaissance Journalism Center) คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก

อุ๊ต ซึ่งชื่อเดิมคือ หวี่งกงอุ๊ต (Huỳnh Công Út) เกิดปี 2494 เป็นชาว จ.ลองอาน (Long An) ตอนใต้นครโฮจิมินห์ในปัจจุบัน เข้าทำงานกับเอพีในปี 2509 หลังจากพี่ชายของเขาคือ หวี่งแท็งหมี ซึ่งเป็นช่างภาพสำนักข่าวเอพีเสียชีวิตในเหตุการณ์ปะทะ 1 ปีก่อนหน้านั้น

นิค เองเคยได้รับบาดเจ็บ 3 ครั้งระหว่างออกปฏิบัติหน้าที่ และนับตั้งแต่ปี 2518 หลังสงครามยุติลง นิคยังทำงานกับเอพีโดยประจำในหบายที่ทั้งกรุงโตเกียว เกาหลีใต้ ฮานอย และ ปัจจุบันประจำในลอสแอนเจลีส ที่เขาอาศัยอยู่กับครอบครัว

นิค เดินทางเข้าเวียดนามเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว พร้อมกับ คอนนี ชูลต์ (Connie Schultz) คอลัมนิสต์เจ้าของรางวัลพูลิตเซอร์อีกคนหนึ่ง ในการรณรงค์สร้างสำนึกเกี่ยวกับพิษภัยของสารไดออกซิน หรือ “ฝนเหลือง” (Agent Orange) ที่ตกค้างอยู่ในเวียดนาม ผลงานสารคดีและภาพที่ถ่ายโดยนิค ตีพิมพ์เผยแพร่ในเดือน ม.ค.ปีนี้

รางวัล Lifetime Achievement Award ก่อตั้งในปี 2532 เพื่อมอบให้แก่ผู้ที่อุทิศตนในการเผยแพร่เรื่องราวสำคัญต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาคมชาวเอเชี่ยนอเมริกันและชาวเกาะในแปซิฟิก รวมทั้งผู้ที่แสดงความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ ตามหลักการของวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พิธีมอบปีนี้จะจัดขั้นวันที่ 13 ส.ค.2554
กำลังโหลดความคิดเห็น