xs
xsm
sm
md
lg

นโยบายเรือปืน .. บัดนี้ สหรัฐฯ-จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น กลายเป็นเรื่องเดียวกัน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เสนาธิการใหญ่กองทัพประชาชนจีน พล.อ.เฉินปิ่งเต๋อ (Chen Bingte) กล่าวตำหนิต่อหน้า ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับ พล.ร.อ.ไมค์ มุลเลน (Mike Mullen) ประธานธานคณะเสนาธิการร่วมกองทัพสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่ง เช้าวันจันทร์ 11 ก.ค.2554 เกี่ยวกับการฝึกซ้อมในทะเลทางใต้ของหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ในน่านน้ำที่จีนกล่าวอ้างสิทธิ์ การฝึกซ้อมยังงมีเรือพิฆาตจากญี่ปุ่นเข้าร่วมด้วยเป็นครั้งแรก พล.ร.อ.มุลเลน ไปเยือนจีนอย่างเป็นทางการ และฝ่ายจีนกล่าวว่าการฝึกซ้อมดังกล่าวเลือกช่วงเวลาที่แย่มาก ความบาดหมางในทะเลจีนใต่กำลังแผ่ลามออกไปอีก. -- AFP PHOTO/POOL/Alexander F Yuan.</b>
เพิ่มเติมเนื้อหาจำนวน 2 ย่อหน้า เวลา 19:03 น. 12 ก.ค.2554

โดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- จีนได้กล่าวเตือนเมื่อวันจันทร์ว่า เวียดนามกับฟิลิปปินส์ควรจะแก้ไขความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ "ด้วยสติปัญญาทางการทูต" ซึ่งสิ่งนี้มีขึ้นในท่ามกลางการกล่าวหาที่ว่าปักกิ่งนับวันก้าวร้าวในการกล่าวอ้างสิทธิ์ของตน ในขณะที่ประธานคณะเสนาธิการร่วมกองทัพสหรัฐฯ ก็ได้ไปเยือนจีนในสัปดาห์นี้ พร้อมความเห็นที่แตกต่างกับฝ่ายเจ้าภาพเกี่ยวกับความขัดแย้งในทะเลที่เป็นปัญหา

นางฟูอิง (Fu Ying) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุดังกล่าว ระหว่างปราศรัยในฮ่องกงตอนค่ำวันจันทร์ 11 ก.ค. ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี

คำกล่าวของรัฐมนตรีจีนได้สะท้อนภาพรวมการพันตูทางการทูตและการทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในช่วงนี้ โดยมีเวียดนามกับฟิลิปปินส์ กับชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนหนึ่งอยู่รอบๆ และ มีน่านน้ำทะเลจีนใต้เป็นแก่นกลาง

ปัญหาดูเริ่มจะกว้างออกไปอีก เมื่อมีญี่ปุ่นที่กำลังพิพาทกับจีนเกี่ยวกับสิทธิ์เหนือเกาะในบริเวณที่เรียกว่า "ทะเลญี่ปุ่น" ได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เรือพิฆาตลำหนึ่งของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น ได้เข้าร่วมฝึกซ้อมทางทหารในน่านน้ำพิพาททะเลจีนใต้เป็นครั้งแรกในสัปดาห์นี้

เรื่องนี้เป็นเป็นสัญลักษณ์หรือเป็นการส่งสัญญาณอะไรบางอย่างหรีอไม่?

"เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องบริหารจัดการในประเด็นที่ขัดแย้งต่างๆ" นางอิงกล่าวในการแสดงกปาฐกถาหัวชื่อ "การพัฒนาอย่างสันติของจีนกับสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ" เอเอฟพีรายงาน

"จะต้องใช้ความเฉลียวฉลาดทางการทูตจากจีน จากเวียดนามและจากฟิลิปปินส์ เพื่อให้มั่นใจว่า ความแตกต่างจะถูกควบคุม จัดการเป็นอย่างดีและเราจะสามารถที่จะไม่ทำให้ความแตกต่างระหว่างพวกเรากระทบต่อความสัมพันธ์ของเรา" รมช.ต่างประเทศจีนกล่าว

รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศจีนระบุดังกล่าวหลังจาก เช้าวันเดียวกันประธานคณะเสนาธิการร่วมกองทัพประชาชนจีน พล.อ.เฉินปิ่งเต๋อ (Chen Bingte) ได้ตำหนิการฝึกซ้อมทางทหารระหว่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ที่จัดขึ้นใน "ทะเลบรูไน" ใกล้หมู่เกาะสแปร็ตลีย์ ซึ่งทั้งบรูไนและจีนต่างกล่าวอ้างความเป็นเจ้าของ เช่นเดียวกับเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไต้หวัน สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน
.
<bR><FONT color=#000033>พล.ร.อ.ไมค์ มุลเลน ประธานคณะเสนาธิการร่วมกองทัพสหรัฐฯ จับมือ พล.อ.เฉินปิ่งเต๋อ เสนาธิการใหญ่กองทัพประชาชนจีน ก่อนเข้าหารือทวิภาคีในวันจันทร์ 11 พ.ค. ท่ามกลางความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ การจับมือไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างลงตัว จีนยืนยันคัดค้านการเข้ายุ่งเกี่ยวของสหรัฐฯ ขณะที่สหรัฐฯ ก็ยังคงยืนยันการมีผลประโยชน์ในน่านน้ำแห่งนี้ที่จะต้องปกป้องซึ่งทุกอย่างไม่ต่างจากเดิม. --  -- AFP PHOTO/POOL/Alexander F Yuan.</b>
2
<bR><FONT color=#000033>พล.ร.อ.ไมค์ มุลเลน ประธานคณะเสนาธิการร่วมกองทัพสหรัฐฯ เข้าเยี่ยมคำนับ นายสีจิ้นผิง (Xi Jinping) รองประธานาธิบดีจีนที่มหาศาลาประชาชนกรุงปักกิ่งวันจันทร์ 11 ก.ค. เป็นการเยือนทางทหารระดับสูงในท่ามกลางความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ เพื่อหาวิธีแก้ปัญหา ในช่วงที่สถานการณ์ตึงเครียดสูงสุดต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา นายสีเป็นผู้ต่อโทรศัพท์ ฮอตไลน์ ถึง รองประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ของสหรัฐฯ เพื่อยืนยันในมิตรไมตรี สำนักข่าวซินหวาของจีนรายงานในช่วงนั้น.-- AFP PHOTO/POOL/Alexander F Yuan.</b>
3
พล.อ.เฉินกล่าวว่า ถ้าหากสหรัฐฯ ต้องการสันติภาพในทะเลจีนใต้อย่างแท้จริง การซ้อมรบดังกล่าวก็จัดให้มีขึ้น "อย่างผิดเวลา" เสนาธิการใหญ่ของจีนกล่าวถึงเรื่องนี้ต่อหน้่า พล.ร.อ.มุลเลน แม้จะไม่ได้ระบุโดยตรงถึงเรือรบญี่ปุ่นแล่นเข้าเขตน่านน้ำเกาะสแปร็ตลีย์ ที่จีนกล่าวอ้างเป็นเจ้าของ

ตามรายงานของสื่อทางการเวียดนามซึ่งเกาะติดทุกสถานการณ์ใน "ทะเลตะวันออก" อย่างใกล้ชิด การซ้อมรบเริ่มขึ้นวันที่ 9 ก.ค.ทางตอนใต้ของหมู่เกาะหว่างซา (Hoang Sa) ตามที่เวียดนามเรียก มีเรือพิฆาตชิมากาเซ (Shimakaze) ของกองญี่ปุ่นไปร่วมด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีเรือรบญี่ปุ่นเข้าไปในน่านน้ำแห่งนี้

นอกจากนั้นยังมีเรือพิฆาตสหรัฐฯ อีก 2 ลำ เรือลาดตระเวนของออสเตรเลียกับเรือรบบรูไนอีก 1 ลำเข้าร่วม และ "เป็นการซ้อมรบระหว่างประเทศครั้งแรกในน่านน้ำทะเลตะวันออก ที่จีนกล่าวอ้างความเป็นเจ้าของอย่างหนักแน่น" หนังสือพิมพ์เดิ๊ตเหวียด (Dat Viet) ซึ่งเกาะติดสถานการณ์ด้านการทหารรายงาน

การกลับคืนสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นทางการทหาร สามารถกระตุ้นความรู้สึกต่อต้านรุนแรงขึ้นมาได้เสมอ ประวัติศาสตร์การรุกรานของกองทัพอาทิตย์อุทัยเมื่อกว่า 70 ปีก่อนยังคงฝังแน่นอยู่ในความทรงจำของผู้คนในภูมิภาคนี้ ไม่ต่างกับชาวจีนที่ไม่เคยลืมเหตุการณ์ "การสังหารหมู่ในหนานจิง" ในเดือน ธ.ค.ปี 2480

อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันมีผลประโยชน์อันมหาศาลในภูมิภาคนี้ ทั้งด้านการค้าและการลงทุน นอกจากนั้นทะเลจีนใต้ยังเป็นเส้นทางเดือนเรือสินค้าของญี่ปุ่นไปยังทั่วทั้งเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกาและและยุโรปด้วย ราว 40% ของน้ำมันดิบที่ใช้ในญี่ปุ่นต้องซื้อจากตะวันออกกลางและขนส่งผ่านเส้นทางนี้

เสนาธิการกองทัพจีนกล่าวว่า "ถึงแม้ (สหรัฐฯ) จะเคยจัดฝึกซ้อมแบบนี้มาในอดีต แต่การฝึกซ้อมทางทหารที่จัดขึ้นในช่วงนี้นับว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง"

"สหรัฐฯ ได้กล่าวหลายครั้งว่า ไม่มีความประสงค์จะเข้ายุ่งเกี่ยวในความขัดแย้งทะเลจีนใต้ แต่.. ได้ส่งสัญญาณที่บ่งบอกในทางตรงข้าม" พล.อ.ปิ่งเต๋อกล่าวระหว่างแถลงข่าวในกรุงปักกิ่ง ร่วมกับ พล.ร.อ.ไมค์ มุลเลน (Mike Mullen) ประธานคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ ที่ไปเยือน

พล.ร.อ.มุลเลน ได้เข้าเยี่ยมคำนับรองประธานาธิบดีจีนนายสีจิ่้นผิง (Xi Jinping) และ หารือทวิภาคีกับ พล.อ.ปิ่งเต๋อ โดยบอกกับฝ่ายจีนว่า ควรจะแก้ไขปัญหาพิพาททะเลจีนใต้อย่างสันติและมีการเข้าร่วมของหลายฝ่าย ในขณะที่ฝ่ายจีนยืนยันที่จะแก้ปัญหาด้วยการเจรจาทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแบบ "ตัวต่อตัว"

อาทิตย์อุทัยคืนถิ่น
 <bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ globalsecurity.org ที่ไม่ได้ระบุวันและสถานที่ถ่าย เป็นเรือพิฆาตชิมะกาเซ (Shimakaze) ติดขีปนาวุธ ฮาร์พูน ของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งญี่ปุ่น ที่กำลังร่วมฝึกซ้อมทางทหารในทะเลบรูไนทางตอนใต้เกาะสแปร็ตลีย์ในขณะนี้ ในเขตน่านน้ำที่จีนกล่าวอ้างเป็นเจ้าของ เสนาธิการใหญ่กองทัพประชาชนจีน กล่าวตำหนิการฝึกซ้อมครั้งนี้ต่อหน้าประธานคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ ที่ไปเยือน แม้จะไม่ได้กล่าวถึงการปรากฏตัวของเรือรบญี่ปุ่นโดยตรงก็ตาม.</b>
4
<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ประวัติศาสตร์กองทัพเรือสหรัฐฯ เรือพิฆาตชิมิกาเซ (Shimakaze) ลำแรกถ่ายเมื่อเดือน พ.ค.2486 ช่วงสงครามเอเชียบูรพา ก่อนจะถูกเครื่องบินรบจากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ โจมตีและจมลงในทะเลฟิลิปปินส์ในปีต่อมา การกลับสู่ทะเลจีนใต้ของเรือพิฆาตชิมิกาเซลำใหม่ในสัปดาห์นี้ เป็นสัญลักษณ์หรือเป็นการส่งสัญญาณอะไรหรือไม่? </b >
5
<bR><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 28 ก.พ.2546 ที่ฐานทัพเรือโอกินาวา เรือโจมตียกพลขึ้นบกเอ็สเส็กซ์ (USS Essex) กองทัพเรือสหรัฐฯ กับเรือรบญี่ปุ่นที่จอดอยู่อีกด้านหนึ่ง- เรือพิฆาตมิชิกาเซ (DDG172) เรือพิฆาตเมียวอุโกอุ (Myoukou) DDG175 กับเรือฮามากิริ (Hamagiri) DD155 และเรือดำนน้ำขนาดเล็กนาตุซิโอะ (Natusio) SS584 กองเรือญี่ปุ่นกับกองเรือสหรัฐฯ แทบจะแยกจากกันไม่ออก ขณะที่ความขัดแย้งกับจีนเหนือเกาะในทะเลญี่ปุ่นพุ่งขึ้นอีกครั้งในช่วงนี้. -- US Navy Photo/James G McCarter. </b >
6
<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์กองทัพเรือสหรัฐฯ เรือรบจากกองเรือพิฆาตที่ 15 กับเรือรบญี่ปุ่นระหว่างฝึกซ้อมเข้าขบวนในมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเรือพิฆาต USS ฟิตซ์เจอรัลด์ USS แคมป์เบล USS สเตเธม ฝ่ายญี่ปุ่นมีเรือพิฆาตอาเกะโบโนะ (Akebono) ชิมากาเซ (Shimakaze) และ ซุซูนามิ (Suzunami) กองเรือสหรัฐฯ กับกองเรือญี่ปุ่นเกือบจะแยกจากกันไม่ออก หรือว่าสักวันหนึ่งทั้งหมดนี้จะแล่นเข้าทะเลจีนใต้?.  </b>
7
นักยุทธศาสตร์ในฟิลิปปินส์วิจารณ์ว่า การเจรจาตัวต่อตัวที่จีนหมายถึงนั้นเป็นวิธีการ "แบ่งแยกแล้วตีหัว" ที่จีนมีความเชี่ยวชาญ ขณะที่ฟิลิปปินส์เป็นภาคีสนธิสัญญาร่วมป้องกันกับสหรัฐฯ และ เข้าร่วมฝึกซ้อมทางทหารกับฝ่ายสหรัฐฯ ในน่านน้ำทะเลจีนใต้เป็นประจำ

นายอัลแบร์โต เดล โรซาริโอ (Alberto del Rosario) รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ที่ไปเยือนจีนสัปดาห์ที่แล้วได้ชักชวนจีนให้นำกรณีพิพาททะเลจีนใต้เข้าสู่สหประชาชาติและจีนควรก็จะยอมรับ เพื่อให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างสันติตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งฝ่ายจีนได้ปัดปฏิเสธ นายโรซาริโอเปิดเผยเรื่องนี้ระหว่างปราศรัยที่สโมสรผู้สื่อข่าวในกรุงมินะลาสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

ความเห็นยังแตกต่างกันเช่นเดิม

จีนได้กล่าวอ้างเป็นเจ้าของน่านน้ำราว 80% ของทะเลจีนใต้ซึ่งมีเนื้อทั้งหมดราว 1.7 ล้านตารางกิโลเมตรและได้จัดทำแผนที่ทางทะเลของตน โดยลากเส้นกินเข้าไปในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค

สำหรับสหรัฐฯ และจีน ความสัมพันธ์ทางการทหารเริ่มเสื่อมทรามลงอีกครั้งหนึ่งตั้งแต่ปีที่แล้วเมื่อสหรัฐฯ ขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับไต้หวันรวมมูลค่าถึง 6,400 ล้านดอลลาร์

ความบาดหมางทวีขึ้นเมื่อสหรัฐฯ ออกยืนยันเกี่ยวกับผลประโยชน์ของตนในทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือนานาชาติที่สำคัญ สำหรับสินค้าออกของสหรัฐฯ รวมทั้งสินค้าที่สหรัฐฯ ซื้อจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ทั้งสนับสนุนให้มีการแก้ปัญหาพิพาทแบบพหุภาคี มีฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสหรัฐฯ เข้าร่วมด้วย

ปีนี้ต่างไปจากปีก่อนๆ กองทัพเรือสหรัฐฯ ใด้ส่งเรือพิฆาตลำหนึ่งเข้าประจำในทะเลซูลู ฟิลิปปินส์ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2554 เป็นต้นมา และ มอบหมายภารกิจ "ป้องกันเส้นทางเดินเรือเสรี" โดยเฉพาะ นอกเหนือจากเรือรบของกองทัพเรือที่ 7 ที่แล่นเข้าออกน่านน้ำแถบนี้เป็นประจำอยู่แล้ว

พล.ร.อ.มุลเลน ได้ยืนยันเรื่องนี้กับฝ่ายจีนอีกครั้งหนึ่ง ทั้งยังระบุว่าจีนไม่ใช่ประเทศกำลังพัฒนาต่อไปแล้ว หากเป็นมหาอำนาจหนึ่งทางการทหาร และ ควรจะ "ใช้ความยิ่งใหญ่ของตนด้วยความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่" เช่นเดียวกัน

พล.อ.ปิ่งเต๋อกล่าวระหว่างแถลงข่าวในวันจันทร์นี้ว่า สองฝ่ายได้หารือกันอย่างตรงไปตรงมา และยอมรับว่ายังมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาในทะเลจีนใต้.
กำลังโหลดความคิดเห็น