xs
xsm
sm
md
lg

นักอนุรักษ์แข่งเวลาช่วย “จระเข้สยาม” พ้นจากเขื่อนในป่าเขมร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ของ FFI อะดัม สตาร์ (หันหลัง) กำลังช่วยเจ้าหน้าที่จากองค์สวนสัตว์ออสเตรเลีย นำจระเข้สยามเพศเมียที่ถูกจับได้ ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ออกจากแหล่งก่อสร้างเขื่อนอาไต (Atay) ไปยังถิ่นที่อยู่แห่งใหม่ นี่เป็นวิธีการขนส่งเพียงทางเดียวที่ทำได้ ในการนำจระเข้ยาว 2.1 เมตร ออกจากพื้นที่เขตป่าสงวนพนมกระวัญ ทางภาคตะวันตกกัมพูชา. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- เจ้าหน้าที่องค์การสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ Fauna and Flora International ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสวนสัตว์ออสเตรเลีย กำลังทำงานแข่งกับเวลาหาทางจับเพื่ออพยพจระเข้พันธุ์สยาม (Siamese crocodile) ที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ ออกไปจากไซต์ก่อสร้างเขื่อนในเขตป่าเทือกเขากระวัญ (Phnom Kravanh)

นายอะดัม สตาร์ (Adam Starr) ผู้จัดการโครงการกัมพูชาของ FFI เขียนถึงเรื่องนี้ในบล็อกของเขา

ขณะเดียวกัน สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานเรื่องนี้ในวันศุกร์ 8 เม.ย.ว่า ทีมงานสามารถจับจระเข้ได้แล้ว 1 ตัว โดยใช้กับดักที่ออกแบบโดย สตีฟ เออร์วิน (Steve Irwin) นักล่าจระเข้และพิธีกรชื่อดังชาวออสเตรเลีย ที่ถูกกระเบนยักษ์ใช้เงี่ยงแทงเข้าบริเวณหน้าอกสิ้นชีพและตกเป็นข่าวไปทั่วโลกในปี 2551

สตาร์ เขียนไว้ในบล็อกเมื่อปลายเดือนที่แล้วว่า มีจระเข้ราว 15 ตัว ติดอยู่ในพื้นที่เหนือเขื่อนขึ้นไปราว 750 เมตร บนลำน้ำอาไต (Atay) ในเขต จ.โพธิสัตว์ (Pursat) หากปล่อยเอาไว้ที่นั่นสัตว์หายากพวกนี้ก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

สตาร์ บอกกับเอเอฟพีในวันศุกร์ ว่า จระเข้เพศเมียยาว 2.1 เมตร ที่ถูกจับได้เป็นตัวแรก ถูกนำไปปล่อยยังแม่น้ำอีกสายหนึ่งห่างออกไปกว่า 10 กม. ซึ่งจะอาศัยอยู่ได้อย่างปลอดภัย แต่ตัวอื่นๆ ที่เหลือปรับตัวและฉลาดเฉลียว “งับเหยื่อโดยไม่ติดกับดัก” ของเออร์วิน
<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ FFI ไม่ได้ระบุวันเวลาถ่าย อะดัม สตาร์ (ซ้าย) ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากองค์การสวนสัตย์ออสเตรเลีย จัดการมัดจระเข้สยามเพศเมียที่ดักจับได้ก่อนนำขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังถิ่นที่อยู่ใหม่ห่างออกไปกว่า 10 กม.</b>
<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ FFI ไม่ได้ระบุวันเวลาถ่าย จระเข้สยามเพศเมียตัวนี้ปลอดภัยแล้ว ทีมงานกำลังคิดค้นหาวิธีดักจับเพื่อนร่วมชะตาอีก 14 ตัว เพื่อออกจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนในเขตเขากระวัญทางภาคตะวันตกกัมพูชา.  </b>
ตามรายงานของ FFI เชื่อกันว่า ก่อนหน้านี้ เคยมีจระเข้พันธุ์สยามอยู่ตามหนองบึงเกือบจะทุกหนแห่งในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 250 ตัว อาศัยอยู่ในธรรมชาติ ถิ่นอาศัยใหญ่ที่สุดอยู่ในกัมพูชา แม้ว่าจะพบจำนวนหนึ่งในและในเขตหนองบึงแขวงสะหวันนะเขตกับแขวงสาละวันของลาว

ปีที่แล้ว FFI ร่วมกับเจ้าหน้าที่กัมพูชา ค้นพบจระเข้พันธุ์สยามฝูงหนึ่ง ในเขตหุบเขาอารัง (Stung Arang) ป่าสงวนแห่งชาติ จ.เกาะกง และช่วยพิทักษ์รักษาให้พวกมันฟักไข่ได้อย่างปลอดภัย และได้ลูกจระเข้ออกมา 13 ตัว และรอดชีวิตจำนวน 10 ตัว

สำหรับเขื่อนอาไต ขนาด 120 เมกะวัตต์ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2550 โดยบริษัทจากมณฑลหยุนหนันของจีน และด้วยเงินลงทุน 540 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งการก่อสร้างระบบสายส่งด้วย

ต้นปีที่แล้วบริษัท อุตสาหกรรมหนักแห่งชาติจีน (China National Heavy Machinery Corporation) บริษัท ไชน่าหัวเตี่ยนฮ่องกง (China Huadian Hong Kong) ได้วางศิลาฤกษ์และเริ่มการก่อสร้างเขื่อนตาไต (Stung Tatay) กับเขื่อนรุสสีจรุม (Russie Chrum) ขนาด 246 และ 388 เมกะวัตต์ ด้วยเงินทุน 540 ล้านดอลลาร์ และ 496 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ

ทั้งหมดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขากระวัญ เป็นหนึ่งในจำนวน 5 หรือ 6 เขื่อนในเขตเดียวกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น