xs
xsm
sm
md
lg

ธ.โลกทนไม่ไหววอน "ฮุนเซน" หยุดไล่ที่ประชาชน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ชาวกัมพูชาจับปลาจากทะเลสาบบึงกากในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554 และในวันพุธ (9 มี.ค.) ธนาคารโลกเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชายุติการขับไล่ประชาชนอีก 10,000 คนออกจากพื้นที่ในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และเสนอความช่วยเหลือต่อประชาชนที่ไร้ที่อยู่  . -- REUTERS/Samrang Pring . </font></b>

เอเอฟพี - ธนาคารโลกเรียกร้องให้กัมพูชาหยุดไล่ทีี่ประชาชนในกรุงพนมเปญ ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการบังคับไล่ที่ในประเทศ

"เรากังวลใจและผิดหวังอย่างมากที่ประชาชนถูกขับไล่ออกจากบ้านของพวกเขาเอง" นายโรเบิร์ต เซลลิค ประธานธนาคารโลก กล่าว

นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนระบุว่า บริษัทเอกชนที่นักการเมืองในพรรครัฐบาลเป็นเจ้าของพยายามพัฒนาที่ดินบริเวณทะเลสาบกลางกรุงพนมเปญให้เป็นที่ดินเพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นโครงการที่มีความขัดแย้งที่จะต้องไล่ผู้อยู่อาศัยบริเวณริมทะเลสาบถึง 4,000 ครอบครัว ทั้งนี้ ผู้อยู่อาศัยบริเวณริมชายฝั่งทะเลสาบบึงกากครึ่งหนึ่งย้ายออกไปแล้ว และได้รับค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยจากบริษัท ขณะที่ผู้อยู่อาศัยที่เหลือได้ชุมนุมประท้วงขึ้นหลายครั้งในสัปดาห์ที่ผ่านมา เรียกร้องให้บริษัทและรัฐบาลให้ค่าตอบแทนที่เพียงพอ หรืออนุญาตให้พวกเขากลับเข้ามาอยู่ในบ้านเช่นเดิม

ทั้งนี้นายเซลลิคกล่าวว่า ธนาคารเสนอให้คำแนะนำด้านการเงินและด้านเทคนิคเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติแก่ฐบาลกัมพูชา และว่าธนาคารโลกได้ย้ำต่อรัฐบาลกัมพูชาให้ยุติการไล่ที่

กัมพูชาต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกรณีบังคับไล่ที่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายสูรยา สุเบดี ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า เขามีความเป็นห่วงอย่างมากเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิด้านที่ดิน ตามรายงานของสหประชาชาติที่เผยแพร่ออกมาเมื่อปี 2553 ระบุว่า เฉพาะในปี 2552 มีการขับไล่ที่อย่างน้อย 26 ครั้ง มีประชาชนได้รับผลกระทบประมาณ 27,000 คนทั่วประเทศ

ความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดินเป็นปัญหาสำคัญของประเทศนับตั้งแต่มีการยกเลิกการถือครองที่ดินในช่วงการปกครองของเขมรแดงระหว่างปี 2518-2522 ที่เอกสารทางกฎหมายหลายๆ ฉบับสูญหายไปในช่วงเวลานั้น และธนาคารโลกได้เริ่มต้นโครงการด้านสิทธิครอบครองที่ดินในกัมพูชาในปี 2545 เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว แต่รัฐบาลกัมพูชาได้ยกเลิกโครงการนี้ในปี 2552 โดยกล่าวว่าเป็นเรื่องยากเกินไป
<br><FONT color=#000033>ชาวกัมพูชานั่งพักอยู่ในซากอาคารบ้านเรือนรอบทะเลสาบบึงกากเพื่อรอการพัฒนาที่ดินในอนาคต โดยครอบครัวชาวกัมพูชากว่า 4,000 ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ถูกไล่ที่และได้รับค่าตอบแทนอย่างไม่ยุติธรรม   . -- REUTERS/Samrang Pring . </font></b>
<br><FONT color=#000033> ท่อขนาดใหญ่พ่นทรายจำนวนมากถมลงในทะเลสาบบึงกาก โดยในปี 2550 รัฐบาลได้มอบที่ดินบริเวณนี้ให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชน  Shukaku Inc ทำให้ต้องขับไล่ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่หลายพันครอบครัว. -- REUTERS/Samrang Pring . </font></b>
<br><FONT color=#000033>หญิงชาวกัมพูชารายหนึ่งตะโกนใส่ตำรวจปราบจลาจลระหว่างการประท้วงบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Shukaku Inc เกี่ยวกับเงินชดเชยที่ไม่ยุติธรรม ในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ผู้ประท้วงเรียกร้องค่าชดเชยย้ายออกจากพื้นที่ประมาณ 15,000-20,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่รัฐบาลยินยอมที่จะจ่ายให้เพียง 8,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อครอบครัว -- REUTERS/Samrang Pring . </font></b>
<bR><FONT color=#000033>ตำรวจและคนงานชาวกัมพูชายืนดูรถขุดพังบ้านที่ตั้ง อยู่ริมถนนสาย 3 ในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไล่ที่ครอบครัวหลายพันครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบริเวณ ทะเลสาบบึงกากเพื่อพัฒนาที่ดินบริเวณดังกล่าวในเชิงพาณิชย์.-- REUTERS/Samrang Pring . </font>
กำลังโหลดความคิดเห็น