xs
xsm
sm
md
lg

“ซู” หารือสหรัฐฯ-ตะวันตก เพื่อผ่อนคลายการคว่ำบาตรพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

</font><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยในม่าไปถึงสำนักงานพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยในกรุงย่างกุ้งวันอังคาร 8 ก.พ.2554 นี้ วันเดียวกันพรรคฝ่ายค้านกลุ่มใหญ่ที่สุดได้ออกแถลงเรียกร้องเพื่อเจรจากับสหรัฐ สหภาพยุโรป แคนาดาและออสเตรเลีย หาทางผ่อนคลายการคว่ำบาตรต่อพม่า.-- REUTERS/Soe Zeya Tun.</font>

ย่างกุ้ง (รอยเตอร์) -- พรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy) กล่าวในวันอังคาร 8 ก.พ.นี้ว่า ต้องการพูดคุยกับชาติตะวันตก เกี่ยวกับการหาทางผ่อนคลายการคว่ำบาติต่อพม่า อันเป็นความเคลื่อนไหวที่สงสัญญาณการยืดหยุ่น ถ้าหากฝ่ายทหารให้การยอมรับ

พรรค NLD ของนางซูจี กล่าวด้วยว่า แนวทางการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบจะช่วยผ่อนคลาย ความยากลำบากทางเศรษฐกิจกับความยากจนในประเทศที่รุ่มรวยด้วยทรัพยากรแห่งนี้ได้

“เอ็นแอลดีขอเรียกร้องเพื่อเจรจากับสหรัฐฯ สหภาพยุโรป แคนาดาและออสเตรเลีย ด้วยความปรารถนาที่จะมีความตกลง เกี่ยวกับว่าเมื่อไร อย่างไรและภายใต้เงื่อนไขเช่นไร จึงจะสามารถเปลี่ยนการคว่ำบาติเพื่อประโยชน์สำหรับประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและให้มีเศรษฐกิจที่ดีได้” คำแถลงของพรรคกล่าว

คำแถลงดังกล่าวมีออกมา 1 วันหลังจาก นายทินอู รองประธานพรรคกล่าวกับรอยเตอร์ว่า พรรคยืนยันให้โลกตะวันตกคงการคว่ำบาติต่อพม่าเอาไว้ต่อไป ซึ่งสิ่งนี้มีขึ้นเพื่อกดดันให้ระบอบทหารปรับปรุงด้านสิทธิมานุษชนและริเริ่มการปฏิรูปประชาธิปไตย

แต่ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า การคว่ำบาติส่งผลกระทบต่อประชาชนพม่า ผลักดันให้คณะปกครองทหารต้องพึ่งพาเพื่อนบ้าน คือ จีนกับไทย ที่เข้าไปสูบทรัพยากรในประเทศ

หลังได้รับการปล่อยตัว นางซูจี ได้ให้ความเห็นเป็นนัยว่า สมควรจะเลิกมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการทูตอย่างคึกคัก และได้รับความสนใจจากโลกตะวันตกอย่างกว้างขวาง

แต่ในขณะเดียวกัน ฝ่ายทหารก็ได้รณรงค์ดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนในย่านเอเชีย ชี้ให้เห็นศักยภาพด้านการท่องเที่ยว พลอยกับอัญมณีต่างๆ ที่ยังมีอยู่มากมาย ไม้ซุง ก๊าซและน้ำมัน ซึ่งก็ยังมีเหลืออยู่มาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาติของตะวันตกนั่นเอง

การคว่ำบาตรไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้นำทหารที่ร่ำรวย และใช้ชีวิตอย่างหรูหรา แต่ส่งผลต่อความพยายามในการแสวงหาเทคโนโลยีด้านอาวุธของฝ่ายทหารและผลักดันให้ต้องพึ่งพาจีน

ผู้เชี่ยวชาญหลายคน กล่าวว่า การคว่ำบาตร อาจเป็นข้อต่อรองเพียงอย่างเดียวที่เหลืออยู่ หรือว่าเป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับนางซูจี ในการคงไว้ซึ่งบทบาท ภายใต้สภาพการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในพม่า

ขณะที่ยังเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมอย่างท่วมท้นและเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังของประชาชนพม่า นางซูกับพรรคเอ็นแอลดี ไม่ได้มีบทบาทอย่างเป็นทางการใดๆ ทางการเมือง หลังจากได้ต่อต้านการเลือกตั้งวันที่ 7 พ.ย.ปีที่แล้ว เนื่องจากกฎหมายที่จำกัดและไม่เป็นธรรม ตั้งแต่นั้นมาพรรคเอ็นแอลดีได้หมดสถานะตามกฎหมายลง แม้ว่าเอ็นแอลดีจะได้พยายามอุทธรณ์ต่อศาลมาหลายครั้ง

รัฐสภาพลเรือนที่ครองเสียงข้างมาก โดยอดีตหรือนายทหารที่เกษียณอายุ เปิดประชุมเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ทศวรรษเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เลือกประธานาธิบดีขึ้นเป็นผู้นำประเทศ แต่ก็เชื่อกันว่าระบอบเก่าจะยังคอยชักใยอยู่ข้างหลัง และยังไม่มีวี่แววจะเกิดความสมานฉันท์หรือการปฏิรูปใดๆ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นางซูจี อาจจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจรจากับโลกตะวันตกกับบรรดานายพลทั้งหลาย เพื่อนำไปสู่การผ่อนคลายการคว่ำบาตร เพื่อให้ประเทศนี้สามารถกลับไปสู่การปฏิรูปเพื่อความผาสุกของประชาชน 50 ล้านคนได้อีกครั้ง

ราว 1 ใน 3 ของประชากรพม่า มีชีวิตอยู่ใต้ขีดเส้นความยากจน (ตามนิยามของสหประชาชาติ)
กำลังโหลดความคิดเห็น