xs
xsm
sm
md
lg

"โอลาม" สิงคโปร์ไล่จี้เบียร์ช้าง ขยายสวนกาแฟลาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 เจ้าหน้าที่ดูแลของกลุ่มเบียร์ช้างกำลังทำงาน ในสวนการแฟที่กว้างไกลสุดหูสุดตา และ ต้นกาแฟเริ่มยืนต้น แปลงปลูกนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กม. เป็นหนึ่งใน 6 แปลง รวมเนื้อที่ทั้งหมดกว่า 18,000 ไร่ กระจายกันอยู่ในเขตเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก ขณะนี้บริษัทโภคภัณฑ์ขนาดใหญ่จากสิงคโปร์ เข้าไปปลูกกาแฟที่นั่นอีกราย เช่นเดียวกันกับกลุ่มกาแฟจากเวียดนาม ที่เคลื่อนตัวเข้าไปจากจังหวัดเขตที่ราบสูงภาคกลาง ที่มีชายแดนติดกัน </FONT></bR>

ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์-- กลุ่มบริษัทสินค้าการเกษตรยักษ์ใหญ่จากสิงคโปร์ ประกาศลุยเต็มสูบสวนกาแฟในลาวเพื่อผลิตป้อนตลาดโลก หลังดำเนินการมาเงียบๆ มา 2 ปี กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ได้พื้นที่สัมปทานเกือบ 20,000 ไร่ ไม่มากไม่น้อยไปกว่า กลุ่มเบียร์ช้างจากประเทศไทย

ผู้บริหารบริษัทเอ้าต์สแปนโบละเวนส์จำกัด (Outspan Bolovens Ltd) บริษัทลูกของกลุ่มโอลาม (Olam Group) ประกาศเรื่องนี้ในนครเวียงจันทน์สัปดาห์ปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา หลังเซ็นสัญญาการลงทุนกับรัฐบาลลาว

เอ้าต์สแปนฯ ตั้งเป้าผลิตปีละ 7,500 ตัน ซึ่งตัวเลขนี้ คิดเป็น 25-30% ปริมาณกาแฟที่ลาวส่งออกในช่วงหลายปีมานี้

กลุ่มทุนใหญ่จากสิงคโปร์กำลังจะเป็นผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่อีกหลายหนึ่ง ไม่แพ้บริษัทลูกของไทยเบฟเวอเร็จจำกัด (มหาชน) เจ้าของเบียร์ช้าง สุราแม่โขง กาแฟและชาพร้อมดื่ม เครื่องดื่มชูกำลังกับสินค้าที่ไม่มีแอลกอฮอล์อีกมากมาย

ทั้งสองกลุ่มเข้าปักหลักในเขตสวนกาแฟใหญ่ที่สุดของลาวในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่สงครามอันเกิดจากกลิ่นหอมยั่วยวนของเมล็ดคั่วบดยังไม่จบลงเพียงเท่านี้

ความสำเร็จของไทยเบฟกับเอ๊าท์สแปนฯ มีขึ้นในขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่จากเขตจังหวัดที่ราบสูงภาคกลางเวียดนาม กำลังหาทางขยายพื้นที่เพาะปลูกเข้าสู่เมืองปากซอง เช่นกัน

สวนกาแฟของไทยเบฟ ที่ปากซองไฮแลนด์ กับของเอ้าต์สแปนฯ มีพื้นที่ 3,000 เฮกตาร์เท่าๆ กัน บริษัทจากไทยมีทั้งหมด 6 แปลงกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กับตัวเมือง ขณะที่สวนของบริษัทจากสิงคโปร์อยู่ห่างออกไปถึงกิโลเมตรที่ 12 และ 15 บนเส้นทางไปยังเมืองท่าแตง แขวงเซกอง

ยักษ์ใหญ่ทั้งสองบริษัทต่างมีเป้าหมายจะปลูกให้ได้ครบ 3,000 เฮกตาร์ (18,900 ไร่) ภายในปีนี้กับปีหน้า

"เรามีแผนจะปลูกให้ได้ทั้ง 3,000 เฮกตาร์ภายในปี 2554 นี้เพื่อผลิตกาแฟให้ได้ปีละ 7,500 ตัน" สำนักข่าวสารปะเทดลาวอ้างคำกล่าวของผู้อำนวยการใหญ่บริษัทจากสิงคโปร์
 <bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 คนงานของกลุ่มเบียร์ช้างกำลังลำเลียงต้นกล้ากาแฟที่เหลือจากแปลงปลูก ลงจากรถบรรทุก เตรียมนำไปปลูกยังอีกแปลงหนึ่ง เรือนชำกล้ากาแฟของไทยเบฟ อยู่ในเขตเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก  </FONT></bR>
 <bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 สำนักงานของกลถุ่มเบียร์ช้างที่ ปากซองไฮแลนด์ ในเขตเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก  ไทยเบฟเวอเร็จ เป็นเจ้าของสวนการแฟใหญ่ที่สุดในลาว แต่ขณะเดียวกันกลุ่มโอลาม (Olam) ทุนใหญ่จากสิงคโปร์กำลังขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไป กว้างใหญ่ไม่แพ้กัน  </FONT></bR>
 <bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 เบื้องหลังทิวสนเป็นแปลงปลูกของกลุ่มเบียร์ช้าง แต่ราษฎราวลาวครอบครัวนี้ที่อยู่ติดกันมีพื้นที่ไม่มากปลูกกาแฟได้เพียง 300 ต้น  ผลผลิตยังไม่ดีพอ การเข้าทำสวนกาแฟอย่างเป็นล่ำเป็นสันของกลุ่มทุนจากต่างประเทศ ทำให้เกษตรรายย่อยในท้องถิ่นต้องปรับตัวยกใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาทางเพิ่มผลผลิต  </FONT></bR>
 <bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 เมล็ดกาแฟเริ่มสุกแดงในสวนของเกษตรกรรายย่อยใกล้กับแปลงปลูกของกลุ่มเบียร์ช้าง เดือน ก.ย. เกษตรกรลาวเริ่มเก็บเม็ดกาแฟพันธุ์อะราบิกา เพียง 11 วันหลังจากถ่ายภาพนี้ พายุเกดสะหนาก็พัดเข้าถล่มพื้นที่แขวงใกล้เคียง นับเป็นโชคดีกาแฟเมืองปากซองไม่ได้รับความเสียหาย </FONT></bR>
 <bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 ธนาคารพัฒนาลาวสาขาเมืองปากซอง ตั้งอยู่ริมถนนสายหลัก ในประเทศนี้ไม่ใช่ทุกอำเภอที่มีแบงก์เข้าไปเปิดให้บริการ สิ่งนี้แสดงให้เห็นกระแสเงินทุนที่ไหลบ่าเข้าสู่เขตสวนกาแฟของลาว รวมทั้งการลงทุนเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ด้วยวิธีเกษตรสะอาดที่ทางการสนับสนุน  </FONT></bR>
นายสันจีตเปิดเผยด้วยว่า ปีที่แล้วบริษัทลงทุนไปราว 4 ล้านดอลลาร์ ปลูกกาแฟได้ 560 เฮกตาร์ (3,500 ไร่) ที่สวนบ้านกองตูน หลัก กม.12 และ บ้าน กม.15 กำลังจะปลูกอีก 1,200 เฮกตาร์ในปีนี้ กับอีก 1,240 เฮกตาร์ในปี 2554 ภายใต้สัญญาสัมปทาน 30 ปี ที่คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 40 ล้านดอลลาร์

ตามรายงานประจำปีที่เผยแพร่ในสิ้นปีที่ผ่านมาโอลามอินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด เป็นหนึ่งในบรรดา 40 บริษัทใหญ่ที่สุดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ปัจจุบันค้าขายสินค้าการเกษตรกว่า 40 รายการ มีลูกค้าใน 60 ประเทศและดินแดนจำนวน 10,600 ราย

เจ้าหน้าที่ของไทยเบฟ เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์" ที่เดินทางไปเยี่ยมชมกิจการถึงปากซองไฮแลนด์ในเดือน ก.ย.ปีที่แล้วว่า จะปลูกกาแฟให้ครบทุกแปลงภายในปี 2553 นี้ พร้อมกับพิจารณาแผนการสร้างโรงงาน ในขณะกาแฟที่ปลูกในแปลงแรกๆ จะเริ่มให้ผลในปลายปี

ในประเทศไทย ไทยเบฟจำหน่ายกาแฟสำเร็จรูป และ กาแฟพร้อมดื่มหลายยี่ห้อ ผลผลิตกาแฟในลาวจะช่วยเกื้อหนุนธุรกิจของกลุ่มได้เป็นอย่างดี

เจ้าหน้าที่ของไทยกล่าวว่า สวนที่เมืองปากซองของไทยเบฟปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาเกือบทั้งหมด โดยใช้วิธี "เกษตรสะอาด" ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และสารฆ่าแมลง แต่ผลิตด้วยเทคโนโลยีและใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย มาตรฐานระดับโลก

ในขณะเดียวกัน การเข้าลงทุนทำสวนกาแฟของกลุ่มทุนใหญ่จากประเทศไทย สิงคโปร์และเวียดนาม กำลังจะทำให้ผู้ปลูกกาแฟชาวลาวที่ยึดอาชีพนี้มานานกว่า 10 ปี จะต้องปรับตัวอย่างรีบเร่ง
 <bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 หมอนทองเมืองปากซอง ทุเรียนสายพันธุ์จากประเทศไทย แต่งอกงามที่นั่น ให้รสชาติที่หวานกลมกล่อม ไม่หวานจัดจ้าน ปัจจุบันมีการปลูกทุเรียนมากขึ้นในเขตสวนกาแฟของลาว ช่วยลดการนำเข้า </FONT></bR>
 <bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 แทร็กเตอร์ขนาดเล็กที่ผลิตในจีน วางขายที่หน้าร้านค้าแห่งหนึ่งริมถนนสายหลักในตลาดเมืองปากซอง การเกษตรที่นั่นต้องใช้เครื่องจักรเครื่องกล สวนการแฟของกลุ่มเบียร์ช้างก็เช่นกัน เจ้าหน้าที่ที่นั่นกล่าวว่าทุกอย่างต้องได้มาตรฐานสากล  </FONT></bR>
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ สัปดาห์ปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาเกษตรผู้ปลูกกาแฟรายย่อย ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการในสวนของกลุ่มดาวเฮือง ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดซึ่งมีการผลิตที่ก้าวหน้าที่สุด ซึ่งได้ผลผลิตสูง 20-30 ตันต่อเฮกตาร์ (6.25 ไร่) ขณะที่ผู้ปลูกรายย่อยทำได้เฉลี่ยเพียง 10-15 ตันต่อเฮกตาร์ น้อยกว่ากันครึ่งต่อครึ่ง

นางเฮื่อง ลิดดัง ประธานกลุ่มดาวเฮืองกล่าวว่าเกษตรกรในพื้นที่จะต้องเพิ่มผลผลิตกาแฟ โดยใช้ประสบการณ์จากผู้ที่ประสพความสำเร็จ และดาวเฮืองใช้ผู้เชี่ยวชาญจากเวียดนาม

ปัจจุบันเวียดนามเป็นผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากบราซิล แต่เวียดนามส่งออกเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้ามากที่สุด

นายสีสะหนุก สีสมบัด ประธานสมาคมผู้ปลูกกาแฟลาว กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ลาวเพิ่มผลผลิตกาแฟได้ยากเนื่องจากพื้นที่ปลูกจำกัด ส่วนหนึ่งถูกกันไปใช้ผลิตพืชผักเพื่อส่งออก นอกจากนั้นยังขาดแคลนแรงงานอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดทำให้หลายปีมานี้ยอดส่งออกกาแฟเฉลี่ยปีละประมาณ 20,000 ตันเท่านั้น

การเข้าทำสวนกาแฟของกลุ่มทุนใหญ่ไทย สิงคโปร์และเวียดนาม กำลังจะช่วยเพิ่มผลผลิตเมล็ดกาแฟในลาวอีกเกือบเท่าตัว แต่ถึงกระนั้นก็ยังน้อยมากหากเทียบกับกาแฟเวียดนามที่ส่งออกปีละหลายล้านตัน และน้อยมากหากเทียบกับความต้องการกาแฟลาวในตลาดโลก

กลุ่มดาวเฮืองซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดมีสวนกาแฟของบริษัทเองเพียง 350 เฮกตาร์ และในอีก 18 เดือนข้างหน้า โรงงานแห่งใหม่ของบริษัทที่จะเริ่มก่อสร้างเดือน ก.พ.นี้ จะต้องการเมล็ดกาแฟเป็นวัตถุดิบถึงปีละ 5,000 ตัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น