xs
xsm
sm
md
lg

ลาวพบ "กระจิบ" พันธุ์ใหม่ในเขตเขาหินปูน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00cc>โฉมหน้าเจ้านกกระจิบพันธุ์ภูเขาหินปูนที่ค้นพบล่าสุดในพื้นที่ป่าของลาว นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะยังมีสัตว์สายพันธุ์ใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกจำนวนมากที่รอการค้นพบ ขณะเดียวกันแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ป่าและสัตว์หายากเหล่านี้ก็ถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน </font></b>

เวียงจันทน์ไทมส์ - ทีมนักวิทยาศาสตร์จากลาวและสวีเดนได้ค้นพบนกตัวจิ๋วสีสันสดใสสายพันธุ์ใหม่อาศัยอยู่ในบริเวณป่าบนยอดภูเขาหินปูนของลาวและเวียดนาม

ผู้อำนวยการหน่วยงานอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของลาว นายบัวพัน กล่าวว่า "กระจิบภูเขาหินปูนเป็นชื่อเรียกเฉพาะในตอนนี้ เพื่อให้แตกต่างไปจากนกกระจิบพันธุ์อื่นๆ โดยนกกระจิบที่ค้นพบใหม่นี้เจอในบริเวณภูเขาหินปูนในแขวงคำม่วน แขวงบอลิคำไซ และแขวงสะหวันนะเขต ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของนกกระจิบพันธุ์นี้"

นายบัวพันยังได้ระบุว่า นกกระจิบสายพันธุ์ใหม่ค้นพบโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ที่รวมตัวขึ้นจากหน่วยงานอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางการเกษตรของสวีเดน พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของสวีเดน และองค์กรอนุรักษ์นกสากล

ทีมค้นพบได้ตั้งชื่อสัตว์สายพันธุ์ที่ค้นพบใหม่นี้ว่า "limestone leaf warbler" เพราะนกชนิดนี้แพร่พันธุ์ในบริเวณแก่งหินของภูเขาหินปูน ส่วนลักษร์ของนกกระจิบพันธุ์ใหม่ดูคล้ายกับนกกระจิบอื่นๆ ที่มีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงแต่แตกต่างตรงเสียงร้องและขนาดที่ต่างกันเล็กน้อย

"การค้นพบสัตว์พันธุ์ใหม่เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากและยิ่งเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ภูเขาหินปูนนี้ ด้วยความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และนักชีววิทยา ทำให้เห็นว่าแนวภูเขาหินปูนของลาวยังคงมีความอุดมสมบูรณ์และเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตที่หายากอีกมาก" นายบัวพัน กล่าว

นกขนาดจิ๋วสีเขียวมะกอกหน้าอกเหลืองและมีลายทางพาดบนหัว ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนกับนกกระจิบพันธุ์อื่นๆ แต่กระจิบพันธุ์ใหม่นี้มีขนาดเล็กกว่า มีปีกสั้นกว่า และมีปากใหญ่กว่านกกระจิ๊ดหางขาวใหญ่ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใกล้เคียงที่สุดกับกระจิบตัวนี้ จากการศึกษานกกระจิบที่จับได้นี้พบว่ากระจิบพันธุ์ภูเขาหินปูนมีเสียงร้องดังและส่งเสียงต่างไปจากพันธุ์อื่นๆ ซึ่งเป็นสัญญาณแรกที่บ่งชี้ให้นักชีววิทยารู้ว่ากระจิบตัวที่พบนั้นเป็นกระจิบสายพันธุ์ใหม่
<br><FONT color=#cc00cc>กระต่ายลายทางที่ค้นพบครั้งแรกในลาวเมื่อ 3 ปีที่แล้วในบริเวณผืนป่าแห่งเดียวกับที่พบนกกระจิบพันธุ์ใหม่นี้ </font></b>
นายบัวพันกล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่ายังมีนกกระจิบภูเขาหินปูนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้อีกจำนวนมาก แต่ที่อยู่อาศัยของมันไม่ปลอดภัยเพราะป่าไม้หลายส่วนซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติของนกสายพันธุ์นี้ได้ถูกทำลายลงเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือกลายเป็นไม้หายากสำหรับนักสะสม รัฐบาลลาวได้พยายามที่จะลดการคุกคามพื้นที่ป่าไม้บนภูเขาหินปูนซึ่งเป็นที่อยู่ของนกสายพันธุ์ใหม่นี้และผืนป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอีกหลายชนิดในภูมิภาคนี้ด้วย

เมื่อต้นปี 2552 ที่ผ่านมา กรมป่าไม้และนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบนกปรอดหน้าเกลี้ยง (bare-faced bulbul) หรือ "ปรอดหัวโล้น" นกอีกสายพันธุ์หนึ่งซึ่งไม่เคยมีปรากฏมาก่อน และเมื่อ 3 ปีก่อนได้มีการค้นพบกระต่ายพันธุ์ใหม่ที่มีลายทางพาดอยู่บนลำตัวจากแหล่งผืนป่าธรรมชาติในประเทศลาวที่เดียวกันนี้ด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น