xs
xsm
sm
md
lg

โบอิ้งโรคเลื่อนกำเริบเวียดนามเซ็งแผนธุรกิจพัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มรอยเตอร์วันที่ 8 มิ.ย.2550 ที่โรงงานประกอบเมืองเอเวอร็ต (Everett) รัฐวอชิงตัน ออกอวดโฉมมานานกว่า 2 ปีแล้วยังไม่ยอมขึ้นบินสักที แถมยังเลื่อนส่งมอบลูกค้ามาแล้วหลายครั้ง คราวนี้ยังไม่มีการประกาศกำหนดการใหม่ เวียดนามแอร์ไลนส์ตั้งตารอโบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์ ที่สั่งซื้อ</FONT><FONT color=#3366ff>จำนวน 16 ลำ </FONT><FONT color=#cc00cc>หวังจะได้รับลำแรกต้นปี 2553 นี้ ความหวังกลายเป็นหมัน</FONT></bR>

รอยเตอร์/ASTVผู้จัดการรายวัน-- สายการบินเวียดนามแอร์ไลน์สแสดงความเป็นกังวลถึงความล่าช้าในการผลิตเครื่องบินโบอิ้ง 787 ดรีมไลน์เนอร์ ของบริษัทโบอิ้ง (Boeing Co) แห่งสหรัฐฯ ที่ สั่งซื้อไว้จำนวน 16 ลำ โดยกำหนดเดิมจะมีการส่งมอบเครื่องบินให้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553

การออกให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารสายการบินแห่งนี้ได้ช่วยยืนยันอีกทางหนึ่งว่าผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของค่ายสหรัฐฯ ได้เลื่อนการส่งมอบ เครื่องบินโดยสารที่ทันสมัยมีสมรรถนะสูง และเทคโนโลยีนำสมัย รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ให้แก่ลูกค้าในทั่วโลก อีกครั้งหนึ่งแล้ว โดยที่ยังไม่มีการแถลงเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ที่มีการเลื่อนส่งมอบครั้งล่าสุด

เวียดนามแอร์ไลน์กับบริษัทลูก คือ Vietnam Aircraft Leasing Co ได้เซ็นสัญญาสั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 787 ในเดือน พ.ย.2550 จำนวน 12 ลำ รวมกับ 4 ลำ ที่สั่งซื้อเมื่อปี 2548 เป็นทั้งหมด 16 ลำซึ่งกระบวนการผลิตเครื่องบินนี้กลับมีกำหนดแล้วเสร็จช้ากว่าที่ตั้งไว้ถึง 2 ปี หลังจากมีปัญหาขัดข้องทางเทคนิค

"เราไม่ได้ยินดีเท่าไหร่กับความล่าช้าที่เกิดขึ้นนี้ เพราะมันกระทบกับแผนธุรกิจของเรา" นายฝั่มหง็อกมีง (Pham Ngoc Minh) ประธานและซีอีโอของสายการบินเวียดนาม กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อเร็วๆ นี้

"เราตั้งใจที่จะทำตามแผนขยายฝูงบินให้ได้ภายในปี 2552 และก็เปลี่ยนไปเป็นปี 2553 แต่กลายเป็นว่า ตอนนี้ไม่มีใครที่จะสามารถยืนยันกับเราได้ว่ากำหนดส่งเครื่องบินที่แน่นอนจะมีขึ้นในวันใด เราคงได้แต่ทำใจอย่างเดียว ซึ่งก็ทำให้เราปวดหัวมากพอดูเหมือนกัน" นายมีง กล่าว

อย่างไรก็ตาม สายการบินเวียดนามยังไม่ได้ทำการตัดสินใจที่จะทำการยกเลิกคำสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787 หรือพูดถึงกรณีการได้รับเงินชดเชยจากความล่าช้าที่เกิดขึ้นนี้แต่อย่างใด

เพียงข้ามเดือนหลังเซ็นสัญญาซื้อ 787 ดรีมไลเนอร์ เวียดนามแอร์ไลน์สได้สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส A350 จำนวน 10 ลำ จากค่ายยุโรป ซึ่งลักษณะของเครื่องบินแอร์บัสรุ่นนี้ออกแบบมาเพื่อสู้กับเครื่องบินโบอิ้ง 787 แต่เครื่องบินรุ่นใหม่ของแอร์บัสนี้ เพิ่อเปิดสายการผลิตเมื่อต้นปี 2552 และจะยังไม่ออกสู่ตลาดการบินจนกว่าจะถึงกลางทศวรรษหน้า

เวียดนามแอร์ไลน์สเป็นแห่งล่าสุดที่ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงกรณีความล่าช้าในการผลิตเครื่องบิน 787 ของบริษัทโบอิ้ง ที่เคยเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งกับค่ายแอร์บัส ที่เลื่อนการส่งมอบเครื่องบินแอร์บัส A380 ที่ล่าช้ากว่ากำหนดเช่นเดียวกัน นี่คือเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงของสายการบินโอมานแอร์ ได้แสดงท่าทีที่อาจจะทำการยกเลิกคำสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787 เนื่องจากความล่าช้าเช่นเดียวกัน โดยทางสายการบินจะทำการตัดสินใจหลังจากการทดลองบินที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้

โบอิ้งได้นำ 787 ออกโชว์ตัวครั้งแรกเมื่อปีที่แล้วที่โรงประกอบเมืองเอเวอร์เร็ต (Everett) มลรัฐวอชิงตัน จากนั้นก็มีลำที่สองออกมาให้ผู้คนได้เห็น และ ประกาศจะขึ้นทดลองบินในเดือน ก.พ.2553 ยังไม่มีผู้ใดทราบว่า โบอิ้งยังคงกำหนดการดังกล่าวไว้หรือไม่ หรือ ว่าได้เลื่อนออกไปเช่นกัน

โบอิ้งไม่ได้นำ 787 ดรีมไลเนอร์ไปร่วมการแสดงอากาศยานประจำปี 2551ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเลอบูเฌ (Le Boutget) ชานกรุงปารีส ในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ผู้บริหารในสหรัฐฯ กล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะไปร่วม แต่ก็ยังยื่นยันว่ากำหนดการขึ้นบินเที่ยวปฐมฤกษ์คิอ ก.พ.ปีหน้า

เวียดนามประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องบินใช้งาน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทำให้ไม่สามารถเปิดบินตรงไปยังสหรัฐฯ ได้ หลังจากพยายามมาตั้งแต่ปลายปี 2548 และ กำหนดการใหม่คือปลายปีหน้า โดยปล่อยให้สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์สของสหรัฐฯ ผูกขาดเส้นทางบินตรงเชื่อมสองประเทศมาตั้งแต่ปีนั้น

ไม่กี่เดือนมานี้สายการบินนอร์ธเวสต์แอร์ไลนส์ (Northwest Airlines) ของสหรัฐฯ เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ให้บริการบินตรงมายังทวีปอเมริกาเหนือ โดยไปต่อเที่ยวบินไปยังปลายทางที่ต้องการที่สนามบินนาริตะนอกกรุงโตเกียว โดยที่นั่นเป็นศูนย์กลางกลางบินในทวีปเอเชียของนอร์ธเวสต์ฯ กับเดลต้าแอร์ไลน์ส (Delta Airlines) บริษัทในเครือ

ในช่วงไม่กี่มานี้เวียดนามแอร์ไลน์ส ได้จัดซื้อเครื่องบินโดยสารขนาดต่างๆ กว่า 64 ลำ จาก 3 ค่ายผู้ผลิต นอกจากโบอิ้ง 787 แล้ว ยังเซ็นซื้อแอร์บัส A350-900XWB อีกจำนวน 12 ลำ A321 ขนาดต่างๆ รวม 26 ลำ เอทีอาร์ 72-500 อีก 13 ลำ ในแผนการที่จะยกระดับขึ้นเป็นสายการบินขนาดใหญ่ 1 ใน 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเครื่องบิน 104 ลำภายในปี 2558

สายการบินเวียดนามทีแผนการพัฒนายกระดับเป็นสายการบินขนาดใหญ่ในทวีปเอเชียภายในปี 2563 คือ มีเครื่องบินใช้งานราว 150 ลำในปี 2563.
กำลังโหลดความคิดเห็น