xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นทำส่วนปีกโบอิ้ง เริ่มอุตฯอากาศยานเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#cc00cc> เริ่มแล้ว-- ภาพเอเอฟพีวันที่ 14 ก.ย.2552 นายราล์ฟ บอยซ์ (Ralp Boyce) รองประธานบริษัทโบอิ้งอินเตอร์เนชั่นแนล ประธานฝ่ายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของโบอิ้ง (และเป็นอดีตเอกอดีตราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย) ร่วมกับนายไมเคิล มิชาลัก (Michael Michalak) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำเวียดนาม ทำพิธีตัดริบบิ้นเปิดโรงงานผลิตชิ้นส่วนปีกสำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 ในสวนอุตสาหกรรมทางลองม์ กรุงฮานอยเมื่อวันจันทร์ (14 ก.ย.) นี้ กลุ่มมิตซูบิชิจากญี่ปุ่นเริ่มผลิตมาตั้งแต่เดือน มิ.ย </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการรายวัน/VNExpress - บริษัทมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสตรี (Mitsubishi Heavy Industries) จากประเทศญี่ปุ่น กลายเป็นบริษัทต่างชาติรายแรกที่เปิดโรงงานผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินในเวียดนาม ซึ่งเป็นการเริ่มต้นอุตสาหกรรมอาอากาศยานที่วางแผนมานานหลายปี

โรงงาน MHI Aerospace Vietnam ของมิตซูบิชิ ได้ผลิตปีกของเครื่องบินส่วนที่ขยับขึ้นลงได้ (Flap) ให้กับเครื่องบินโบอิ้งรุ่น 737 ตั้งแต่เดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา นายมาซาเตรุ อกิยามา (Masateru Akiyama) ผู้จัดการใหญ่ของบริษัท MHI กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นายฮิเดะอะกิ โอมิวะ (Hideaki Omiya) ประธานบริษัทมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสตรีได้เข้าร่วมพิธีเปิดโรงงานแห่งนี้อย่างเป็นทางการ ในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมทางลองม์ (Thang Long) กรุงฮานอย ซึ่งบริษัทตั้งเป้าผลิตชิ้นส่วนปีกสำหรับเครื่องบิน 10 ลำต่อเดือน

ทางการเวียดนามได้ประกาศข่าวใหญ่ในเดือน พ.ย.2550 ระหว่างประธานาธิบดีเหวียนมิงเจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) เดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ โดยแผนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินโบอิ้ง จะเป็นส่วนหนึ่งในแผนการลงทุนมูลค่าประมาณ 4,500 ล้านโดยบริษัทจากญี่ปุ่นจำนวน 3 แห่ง รวมทั้ง โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้าและโครงการรถหัวกระสุนด้วย

ในเดือน พ.ย.2551 มิตซูบิชิแถลงในญี่ปุ่นเกี่ยวกับแผนการจัดตั้งบริษัท MHI Aerospace Vietnam (MHIVA) เพื่อผลิตชิ้นส่วนสำหรับเครื่องบินพาณิชย์ โดยมีกำหนดเริ่มการผลิตในต้นปี 2552 เริ่มจากชิ้นส่วนที่เป็นอุปกรณ์บังคับการขึ้นลง (Flap) บนส่วนปีกของเครื่องบินโบอิ้ง 737

โรงงานเฟสแรกของ MHIVA ใช้เงินลงทุนเพียงประมาณ 7 ล้านดอลลาร์ กับ พนักงานเพียง 50 คน มีกำหนดเปิดดำเนินการในเดือน ม.ค.2552 จากนั้นจะเพิ่มการจ้างงานขึ้นเป็นประมาณ 200 คน
<bR><FONT color=#cc00cc>แฟลบ (Flap) เป็นชิ้นส่วนสำคัญ เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยยกเครื่องบิน ขณะโลดแล่นไปข้างหน้า และ ช่วยพะยุงตังขณะลดระดับความสูงเพื่อเตรียม ทัชดาวน์ </FONT></bR>
ปัจจุบันมิตซูบิชิมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในญี่ปุ่นเอง ในมาเลเซียและในจีน

ชิ้นส่วนที่ผลิตจากโรงงานในเวียดนาม จะนำไปประกอบเป็นเครื่องบิน ร่วมกับชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ผลิตขึ้นตามโรงงานที่ตั้งอยู่ทั่วโลก โดยที่แต่ละแห่งจะผลิตชิ้นส่วนของเครื่องบินแตกต่างกันไป เช่น หัวเครื่องบิน ลำตัว ประตู ปีก หาง เป็นต้น

ชิ้นส่วนทั้งหมดจะต้องแล้วเสร็จตามกำหนด เพื่อส่งไปสู่การผลิตขั้นสุดท้าย คือประกอบเข้าเป็นเครื่องบินที่พร้อมใช้งาน

ถึงแม้ว่าสายการบินเวียดนามจะไม่มีโบอิ้ง 737 ใช้งานในฝูงแม้แต่รุ่นเดียว แต่ก็มีโบอิ้ง 777 และ ยังได้สั่งซื้อโบอิ้ง 787-9 ไปแล้วรวม 12 ลำ

มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสตรีเตรียมการเรื่องนี้มาตั้งแต่เดือน มี.ค. ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจโลก และท่ามกลางข่าวเล่าลือในอุตสาหกรรมที่ว่า ทุนญี่ปุ่น ทุนอเมริกันกับตะวันตกอีกหลายชาติ กำลังจะถอนออกไปจากภูมิภาคนี้ทั้งหมด หลังจากสถาบันการเงินใหญ่ในวอลสตรีท พังครืนลงหลายแห่งเมื่อปีที่แล้ว

การผลิตชิ้นส่วนปีกของเครื่องโบอิ้ง 737 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลงทุนด้านอากาศยานในประเทศนี้
<bR><FONT color=#cc00cc>ส่วนประกอบภายในของโบอิ้ง 737 ที่ถูกดัดแปลงนำไปใช้ในภารกิจอื่น ชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องบินผลิตจากโรงงานในหลายประเทศทั่วโลก ก่อนจะนำไปยังโรงงานประกอบในสหรัฐฯ ให้เป็นเครื่องบินทั้งลำออกมา เวียดนามเข้าไปมีส่วนในการผลิตเครื่องบินรุ่นนี้ด้วย </FONT></bR>
ในเดือน มี.ค.2552 เช่นเดียวกัน ธนาคารเพื่อการลงทุนและการพัฒนาแห่งเวียดนามหรือ BIDV (Bank for Investment and Development of Vietnam) เซ็นความตกลงความร่วมมือกับสายการบินเวียดนามแอร์ไลน์ส ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับการเข้าถือหุ้นในบริษัทผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินโบอิ้ง กับแอร์บัสรวมอยู่ด้วย

ตามรายงานของสื่อทางการเวียดนาม BIDV ได้ตกลงให้เงินกู้แก่สายการบินแห่งชาติรวม 7 ล้านล้านด่ง (412 ล้านดอลลาร์) เพื่อเข้าร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนประกอบเฮลิคอปเตอร์ บริษัทผลิตชิ้นส่วน กับโรงซ่อมบำรุงรักษาอากาศยาน และศูนย์การฝึกนักบินและลูกเรือ

สายการบินเวียดนามยังจะใช้เงินกูจำนวนหนึ่งจัดสร้างโรงซ่อมเครื่องบิน กับคลังสินค้าที่ท่าอากาศยานเติ่นเซินเญิต (Tan Son Nhat) นครโฮจิมินห์ ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เตี่ยนฟง (Tien Phong) หรือ "ผู้บุกเบิก"

เพราะฉะนั้นโครงการสร้างสนามบินยักษ์ การผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ทั้งของค่ายยุโรปและค่ายสหรัฐฯ ตลอดจนการสร้างโรงซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ของทั้งสองค่าย จึงเป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ออก.
กำลังโหลดความคิดเห็น