xs
xsm
sm
md
lg

เศรษฐีเวียดเห่อเครื่องบินส่วนตัวเปิดแล้วโชว์รูมแห่งแรก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00cc>นายดว่านเหวียนดึก (Doan Nguyen Duc) --ซ้ายมือ--ประธาน HAGL ซึ่งเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลใหญ่ที่สุด กับแขกสำคัญและเครื่องคิงแอร์ บี350 (King Air B350) ของบีชคราฟต์ (Beechcraft)  ราคา 7 ล้านดอลลาร์ที่สั่งซื้อจากสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค.2551 เป็นการจุดประกายใหม่ๆ ทางธุรกิจ </FONT></bR>

ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์-- สำหรับเศรษฐีใหม่เวียดนามที่ร่ำรวยจากตลาดหุ้นยุคเฟื่องฟูและจากธุรกิจที่ทำมาค้าขึ้น พวกเขาไม่มีคำว่าถดถอย และไม่เคยรู้จักคำว่าวิกฤติ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทั่วโลก คนกลุ่มนี้กำลังมองหาพาหนะคู่ใจที่หรูหรากว่าโรลสรอยซ์ หรือเบนต์ลีย์ และบินได้

โชว์รูมอากาศยานเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในนครโฮจิมินห์ ที่นั่นมีเสนอลูกค้าทั้งประเภทปีกบินและปีกหมุน ราคาตั้งแต่ไม่กี่แสนขึ้นไปจนถึงหลายสิบล้านดอลลาร์ มีทั้งให้เช่าและซื้อขาดไว้ใช้ส่วนตัว

ค่านิยมนี้ถูกจุดประกายขึ้นมาปีที่แล้ว เมื่อประธานกลุ่มหว่างแอง-ซยาลาย (Hoang Anh-Gia Lai) ซื้อเครื่องบินส่วนตัวยั่วน้ำลายเศรษฐีคนอื่นๆ ในประเทศคอมมิวนิสต์แห่งนี้

นายดว่านเหวียนดึก (Doan Nguyen Duc) ประธานของ HAGL ซึ่งเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลใหญ่ที่สุด ซื้อเครื่องบินคิงแอร์ บี350 (King Air B300) ของบีชคราฟต์ (Beechcraft) โดยสั่งตรงจากสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค.2551 ในราคา 7 ล้านดอลลาร์

เศรษฐีรายนี้บ่นอยู่เสมอๆ ว่า เดินทางไปไหนมาไหนไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากฐานธุรกิจของบริษัทนี้อยู่ที่ จ.ซยาลาย ในเขตที่ราบสูงภาคกลาง และมีสำนักงานอยู่ทั่วประเทศ

กลุ่มหว่างแอง-ซยาลาย เป็นบริษัทลงทุนขนาดใหญ่ สโมสรฟุตบอลเคยว่าจ้างนักเตะทีมชาติไทยไปเล่นให้หลายคน รวมทั้ง "ซิโก้" เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ด้วย ปัจจุบัน HAGL เป็นเจ้าของสัมปทานสวนยางพารานับแสนไร่ในลาว เป็นเจ้าของเหมืองแร่ล้ำค่าทางเศรษฐกิจ เป็นเจ้าของโรงแรมรีสอร์ตหรู อาคารสำนักงานกับเซอร์วิส อพาร์ทเมนต์ทั่วประเทศ เป็นหุ้นส่วนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่อีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งเขื่อนผลิตไฟฟ้าด้วย

หุ้นของ HAGL จึงเป็นตัวที่ฮอตมากในช่วงปี 2549-2550 หลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ ซึ่งได้สร้างความร่ำรวยให้แก่เจ้าของบริษัท

นายเหวียนดึกอาจจะไม่ได้ร่ำรวยเท่ากับนายฝั่มซยาบี่ง (Pham Gia Binh) ประธานกลุ่ม FPT ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจไอทีและคอมพิวเตอร์ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม แต่นายเหวียนดึกก็ได้ชื่อเป็นนักธุรกิจคนแรกของประเทศที่มีเครื่องบินส่วนตัว

เมื่อตอนที่ประธาน HAGL ซื้อเครื่องบินนั้น ในเวียดนามยังไม่มีกฎระเบียบบังคับเรื่องนี้อย่างชัดเจน แต่ในปัจจุบันทุกอย่างง่ายขึ้น รัฐบาลยังเปิดทางแก่ธุรกิจเช่าหรือซื้ออากาศยานอีกด้วย อันเป็นผลพวงจากแผนพัฒนายกระดับสายการบินแห่งชาตินั่นเอง
<br><FONT color=#cc00cc>แน่นอนต้องมีเงินพอที่จะจ้างนักบินประจำ ต้องพร้อมจะใช้งานได้ตลอดเวลา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจหมื่นล้านในเวียดนามที่การคมนาคมโดยรวมยังไม่สะดวก</FONT></bR>
บริษัทอากาศยานให้เช่าแห่งเวียดนาม (Vietnam Aircraft Leasing Company) กับบริษัทบริการอากาศยานเวียดนาม หรือ VASCO (Vietnam Air Service Company) ได้เซ็นความตกลงร่วมมือจัดหาเพื่อให้เช่าหรือจำหน่ายอากาศยานให้แก่ลูกค้าทั้งส่วนบุคคลและองค์กร เป็นแห่งแรกที่ทำธุรกิจนี้

ทั้งสองบริษัทผูกพันกับการบินของประเทศอย่างแนบแน่น VASCO คือ สายการบินแบบเช่าเหมาลำและรับจ้างขนส่งสินค้าเพียงแห่งเดียว โดยรัฐบาลถือหุ้นใหญ่ ส่วน VALC เป็นบริษัทลูกของเวียดนามแอร์ไลนส์ จากการร่วมทุนกับธนาคารเพื่อลงทุนและการพัฒนาแห่งเวียดนาม (Bank for Investment and Development of Vietnam) หรือ BIDV ซึ่งเป็นของรัฐบาล

ผู้ถือหุ้นใน VALC อีกสองฝ่ายคือ บริษัทประกันภัยบ๋าวเหวียด (Bao Viet) ใหญ่ที่สุดในประเทศเป็นของรัฐบาลเช่นกัน กับ บริษัทเงินทุนจดทะเบียนอีกแห่งหนึ่งซึ่งร่วมถือหุ้นเพียงเล็กน้อย

ช่วงปีสองปีมานี้ VALC เข้าไปมีบทบาทสำคัญในแผนการขยายฝูงบินแบบก้าวกระโดดของสายการบินแห่งชาติ โดยเป็นผู้ซื้อเครื่องบินให้บริษัทแม่เช่า ซึ่งรวมทั้งโบอิ้ง 787 จำนวน 4 ลำ กับ แอร์บัส A321 อีก 10 ลำ เวียดนามแอร์ไลนส์ซื้อเองอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อรวมกันแล้วมากกว่า 50 ลำ สายการบินเวียดนามจะมีเครื่องบินเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 100 ลำในอีก 3-4 ปีข้างหน้า

บริษัทร่วมทุนใหม่ตั้งอยู่ในนครศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศในภาคใต้ นายหวูดึ๊กเบียน (Vu Duc Bien) ผู้อำนวยการฝ่ายขาย กล่าวว่าบริษัทมีเครื่องบินเสนอลูกค้านับสิบรุ่นตามความเหมาะสมในการใช้งาน ยังไม่นับรวมเฮลิคอปเตอร์ด้วย

"เจ้าของสามารถให้ VASCO เช่าเครื่องบินของตนได้ในยามที่ไม่ได้ใช้งาน" นายเบียนกล่าวถึงธุรกิจใหม่ล่าสุดของประเทศ

กติกาดูเหมือนไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแต่ยื่นขออนุญาตเพื่อลงทะเบียน จัดทำประกันภัยและเสียภาษีอากาศยานรายปี ส่วนนักบินจะต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมการบินพลเรือน ไม่ว่าจะเป็นชาวเวียดนามหรือชาวต่างชาติ บริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่นี้สามารถจัดหาให้ได้

"การพัฒนาเศรษฐกิจได้สร้างเถ้าแก่ที่ประสบความสำเร็จขึ้นมามากมาย คนเหล่านั้นต้องการความสะดวกในการทำธุรกิจ จากการเดินทางในระดับไฮคลาส" นายเจิ่นลอง (Tran Long) ผู้อำนวยการของ VALC กล่าวกับหนังสือพิมพ์ไซ่ง่อนหยายฟง (Saigon Giai Phong) หรือ "ไซ่ง่อนปลดปล่อย"
<br><FONT color=#cc00cc>มีอิสระ มีโลกส่วนตัว ฉลองกันได้ทุกเวลา นายดึกกล่าวว่า เขาสามารถโทรศัพท์ทำธุรกิจได้อย่างเสรี ขณะที่ทำไม่ได้บนเครื่องบินโดยสาร ทำให้ไปประชุมได้ ทั้งในภาคเหนือ ภาคใต้และภาคกลาง 4 จังหวัด 4 นครในวันเดียวกัน </FONT></bR>
อากาศยานที่มีจำหน่ายขณะนี้มีตั้งแต่เฮลิคอปเตอร์โรบินสัน (Robinson) ลำเล็กๆ ราคา 500,000 ดอลลาร์ จนถึงเฮลิคอปเตอร์ดอลฟิน (Dolphin) เบลล์ (Bell) ยูโรคอปเตอร์ (Eurocopter) ราคาตั้งแต่ 1.4-4 ล้านดอลลาร์

สำหรับเครื่องบินส่วนตัวมีของบีชคราฟต์ 4-5 รุ่น กัลฟ์สตรีม (Gulfstream) เลียร์เจ็ต (Learjet) บอมบาเดียร์ (Bombadier) ราคาตั้งแต่ 5-20 ล้านดอลลาร์

ธนาคาร BIDV ก็ประกาศว่า พร้อมจะสนับสนุนเงินทุนแก่ลูกค้าทั้งที่เป็นเอกชนและองค์กรธุรกิจต่างๆ โดยถือว่า เป็นการส่วนตัวก็เป็นการลงทุนแขนงหนึ่ง

ทำไมหรือจึงต้องมีเครื่องบินส่วนตัวไว้ใช้ในเวียดนาม? ประสบการณ์ของนายเหวียนดึกอาจช่วยในการตัดสินใจได้อย่างดี

ประธาน HAGL จำเป็นต้องเดินทางไปนครเวียงจันทน์ของลาวอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากธุรกิจใน สปป.ลาวกำลังอยู่ในขั้นเริ่มต้น การเดินทางจากเขตที่ราบสูงภาคกลางย่อมไม่มีหนทางอื่นๆ นอกจากควบรถขับเคลื่อนสี่ล้อไปบนถนนลาดยางที่คดเคี้ยวตามไหล่เขา เพื่อไปขึ้นเครื่องบินที่ท่าอากาศยานนครด่าหนัง (Danang) ห่างออกไปหลายร้อยกิโลเมตร บินเข้ากรุงฮานอยเพื่อเริ่มต้นที่นั่นอีกที

แต่เครื่องบีชดราฟต์ บี300 ใช้เวลาบินเพียง 1 ชั่วโมง จากสนามบินฮานอยไปยังท่าอากาศยานวัดไตในนครหลวงของลาว หรือ นานกว่านั้นอีกเล็กน้อยหากบินจากสนามบินเปลกู (Plei Ku) ใน จ.ซยาลาย ที่สหรัฐฯ เคยใช้เป็นฐานทัพ และจะใช้เวลาเท่าๆ กันในการบินไปยังนครด่าหนัง

นักธุรกิจผู้นี้กล่าวว่า ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือ เขาสามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ตลอดเวลาบนเครื่องบินส่วนตัว ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้บนเครื่องบินโดยสาร

เพราะฉะนั้น... "ผมสามารถไปร่วมประชุมในนครเกิ่นเทอ (Can Tho) โฮจิมินห์ ซยาลาย กับกรุงฮานอยได้ในวันเดียวกัน" นายเหวียนดึกกล่าว
<br><FONT color=#cc00cc>ไม่เฉพาะแต่ในเวียดนามเท่านั้น คิงแอร์บี350 ลำนี้ต้องบินไปลาวบ่อยเหมือนกัน กลุ่มหว่างแอง-ซยาลาย (Hoang Anh-Gia Lai) มีโครงการลงทุนมูลค่านับหมื่นล้านในลาว ปีหน้า กำลังจะต้องสร้างโรงงานผลิตยางพาราในแขวงภาคใต้</FONT></bR>
ตามรายงานของสื่อทางการ บริการใหม่นี้กำลังได้รับความสนใจจากบรรดานักธุรกิจนักลงทุนชั้นแนวหน้าของประเทศอย่างมาก รวมทั้งบรรดาเจ้าของรถยนต์หรูจากยุโรปอย่างเบนท์ลีย์ (Bentley) กับโรลส์รอยซ์ (Rolls Royce) ที่มีนับสิบคันในขณะนี้ เพียงแต่ยังไม่เปิดเผยตัวเท่านั้น

อย่างไรก็ตามกำลังมีข่าวเล่ามาแรงว่า เจ้าของอากาศยานคนต่อไปอาจจะเป็นนายเลวันเกียม (Le Van Kiem) ประธานกลุ่มบริษัทลองแถ่งกอล์ฟ (Long Thanh Golf Club & Resort)

นายเกียมประกาศมาก่อนหน้านี้แล้วว่า เข้ากำลังมองหาเฮลิคอปเตอร์เนื่องจากใช้งานขึ้นลงสะดวกกว่าเครื่องบินมาก บริษัทนี้เป็นเจ้าของกอล์ฟรีสอร์ตใหญ่ของเวียดนาม อยู่ใน จ.ด่งนาย (Dong Nai) ใกล้กับนครโฮจิมินห์

เมื่อต้นปีนี้กลุ่มลองแถ่ง ได้เซ็นสัญญากับทางการนครเวียงจันทน์ของลาวเพื่อก่อสร้างสนามกอล์ฟ และพัฒนาเขตการค้าใกล้สถานีรถไฟแห่งแรกของลาว ที่บ้านดงโพสี แขวงท่านาแล้งเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ตามกำหนดการจะต้องลงมือก่อสร้างปลายปีนี้

ถึงวันนี้ เฮลิคอปเตอร์อาจจะไม่สะดวกแล้วก็ได้ สำหรับเจ้าของกลุ่มสนามกอล์ฟรีสอร์ตใหญ่ที่สุดของประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น