xs
xsm
sm
md
lg

ท่าเรือน้ำลึกเวียดนามมาแรงแข่งรัศมีเจ้าถิ่นแหลมฉบัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00cc>ภาพจากเว็บไซต์ MOL บริษัทในเครือมิตซุยแห่งญี่ปุ่น เรือบาร์จของบริษัทนี้นำคอนเทนเนอร์สินค้าเที่ยวแรกจากท่าเรือสีหนุวิลล์ในกัมพูชาไปลงเรือใหญ่ที่ท่าก๋ายแม็บในเวียดนาม ส่งสินค้าไปสหรัฐฯ ไม่ต้องมาแหลมฉบังอีกแล้ว </FONT></bR>

ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์ -- ท่าเรือก๋ายแม็บ (Cai Mep) เวียดนาม กำลังมาแรง กลุ่มพันธมิตรเดินเรือทะเลขนาดใหญ่ 4 บริษัทพร้อมใจกันประกาศเคลื่อนเข้าประจำเปิดให้บริการขนส่งสินค้าตรงไปยังชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ ในกลางเดือน ส.ค.ศกนี้ เป็นการเพิ่มบทบาทให้กับท่าเรือน้ำลึกแห่งแรกที่เพิ่งเปิดใช้มาเพียงข้ามเดือน

ท่าเรือก๋ายแม็บ ใน จ.บ่าเหรียะ-หวังเต่า (Ba Ria-Vung Tao) เป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งแรกของเวียดนาม ซึ่งกลุ่มผู้ลงทุนจากสิงคโปร์และผู้บริหารร่วม หมายมั่นจะให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางทะเลอีกแห่งหนึ่งในระดับภูมิภาค

นับเป็นครั้งแรกที่การขนส่งสินค้าจากเวียดนามไปยังสหรัฐฯ ไม่ต้องไปใช้เรือฟีดเดอร์บรรทุกจากท่าเรือไซ่ง่อนที่แออัด ไปผ่านถ่ายในสิงคโปร์ ฮ่องกง หรือ เกาหลี ในขณะที่ปัจจุบันสหรัฐฯ กลายเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของเวียดนามแทนที่ยุโรป

ขณะเดียวกัน เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา บริษัทชิปปิ้งได้เริ่มใช้เรือบาร์จบรรทุกสินค้าจากท่าสีหนุวิลล์ของกัมพูชา ไปยังก๋ายแม็บ สินค้าจากที่นั่นไม่ต้องใช้ฟีดเดอร์บรรทุกไปยังแหลมฉบังหรือท่าเรือสิงคโปร์เหมือนเมื่อก่อนอีก ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่อคอนเทนเนอร์ได้มหาศาล

วันข้างหน้ากลุ่มชิปปิ้งใหญ่มีแผนจะบรรทุกสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังของไทย ไปยังท่าเรือเวียดนามเช่นเดียวกัน ซึ่งในวันนั้นท่าเรือในภาคใต้เวียดนามซึ่งตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะเจาะก็จะทวีความโดดเด่นขึ้นมาในวงการ

สัปดาห์ต้นเดือน ก.ค.กลุ่มบริษัทเดินเรือ 4 แห่ง ซึ่งประกอบด้วย คอสคอน (Coscon) เคไลน์ (K-Line) หยางหมิง (Yang Ming) และ ฮั่นจิน (Hanjin) ประกาศจะให้บริการขนส่งสินค้าตรงจากก๋ายแม็บไปยังฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ บ้าง โดยจะใช้เวลาเพียง 27 วัน ไปยังท่านอร์ฟอล์ค หรือ 28 วันไปยังท่าเรือนิวยอร์ก
<br><FONT color=#cc00cc>เปิดใช้มาเพียงข้ามเดือนท่าเรือเติ่นก๋าง-ก๋ายแม็บ (Tan Cang-Cai Mep) ยังดูว่างเปล่า แต่กลุ่มเดินเรือใหญ่ 4 บริษัทประกาศเข้าร่วมวง ขนส่งสินค้าจากที่นั่นตรงไปยังฝั่งตะวันออกหรือฝั่งแอตแลนติกของสหรัฐฯ โดยไม่ต้องแวะผ่านถ่ายที่ท่าเรือสิงคโปร์หรือแหลมฉบังของไทยต่อไป </FONT></bR>
ต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมากลุ่มเดินเรืออีกกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย APL บริษัทลูกของกลุ่มเนปจูนไลน์จากสิงคโปร์ มิตซุย (Mitsui OSK Line) จากญี่ปุ่น กับฮั่นจินจากเกาหลี ได้เริ่มให้บริการเดินเรือสินค้าสายตรงเชื่อมฝั่งตะวันตกทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งใช้เวลา 16-24 วันขึ้นอยู่กับปลายทาง ตั้งแต่แคนาดาทางตอนเหนือ จนถึงมลรัฐวอชิงตันกับแคลิฟอร์เนียที่อยู่ใต้ลงไป

การขนส่งสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกของเวียดนามไม่ต้องผ่านท่าเรือแห่งอื่นใดในระหว่างทางอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือ เกาหลี ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องใช้เวลาในการขนส่งแรมเดือน ทำให้ผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกสามารถประหยัดค่าขนส่งกับค่าบริการต่างๆ ได้ 200-300 ดอลลาร์ต่อคอนเทนเนอร์

ผู้ส่งออกในประเทศไทยและกัมพูชาจะได้รับประโยชน์จากท่าเรือเวียดนามเช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าและปลายทาง การขนสินค้าจากสีหนุวิลล์ไปยังก๋ายแม็บใช้เวลาเพียง 2 วัน และ มากกว่ากันอีกไม่กี่ชั่วโมงจากแหลมฉบับของไทย

มิตซุย เป็นกลุ่มแรกที่ให้บริการเรือบาร์จบรรทุกสินค้าจากกัมพูชาไปยังท่าเรือเวียดนาม ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งหมดผูกขาดโดยกลุ่มซอฟเวอเรน (Sovereign) จากไต้หวันผู้ลงทุนสร้างท่าเทียบเรือที่นั่น

เอพีแอล กับ ฮุนได ประกาศในสัปดาห์ปลายเดือน มิ.ย.จะเริ่มให้บริการเช่นกัน ขณะที่มิตซุยซึ่งมีเครือข่ายบริการกว้างขวางทั่วโลก ประกาศแผนการใช้ท่าเรือก๋ายแม็บเป็นศูนย์ผ่านถ่ายสินค้าจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และประเทศไทย โดยจะมีการใช้ฟีดเดอร์บรรทุกไปจากต้นทางต่างๆ เหล่านี้

ทางการเวียดนามเปิดใช้ท่าเรือก๋ายแม็บเฟสที่ 1 ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน พ.ค. ที่นั่นมีความลึกกว่า 15 เมตร สามารถรับเรือสินค้าขนาดระวางขับน้ำ 80,000 ตันเข้าจอดเทียบได้

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไซง่อนไทมส์ ภายในสิ้นปี 2552 นี้ จะมีบริษัทเดินเรือใหญ่เปิดให้บริการที่ก๋ายแม็บ 7-8 แห่ง ขนส่งสินค้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะที่รัฐบาลเวียดนามจะต้องเร่งพัฒนาถนนเข้าสู่ท่าเรือ ยกระดับทางหลวงที่เชื่อมกับ จ.ด่งนาย (Dong Nai) บี่งซเวือง (Binh Duong) กับนครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมส่งออกในภาคใต้

นอกจากนั้น เวียดนามจะต้องเร่งพัฒนาระบบลอจิสติกส์ขึ้นมารองรับการเติบโตของท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้อีกด้วย
<bR><FONT color=#cc00cc>เรือเอพีแอลอเล็กซานไดรต์ (APL Alexandrite) ของบริษัทเดินเรือในสิงคโปร์เป็นลำแรกที่นำสินค้าจากเวียดนามตรงไปยังฝั่งตะวันตกหรือฝั่งแปซิฟิกของสหรัฐฯ โดยเวลาเพียง 16-18 วัน ไม่แวะผ่านถ่ายที่ฮ่องกงหรือเกาหลี </FONT></bR>
ท่าเรือก๋ายแม็บ เป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐวิสาหกิจท่าเรือไซง่อน (Port of Saigon) กับการท่าเรือสิงคโปร์ (Singapore Port Authority) บริหารและอำนวยการโดยบริษัท ท่าเรือเติ่นก๋าง-ก๋ายแม็บ อินเตอร์เนชั่นแนล (Tan-Cang Cai Mep International Terminal)

TCCMIT เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท ไซง่อนนิวพอร์ต (Saigon New Port) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจท่าเรือไซง่อน ในสังกัดกระทรวงกลาโหม กับบริษัทเดินเรือขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่งของโลกคือ มิตซุยโอเอสเค ฮั่นจิน กับวันไห่ไลน์ (Wanhai Line) จากไต้หวัน ภายใต้สัญญาสัมปทาน 30 ปี

ท่าเรือแเฟสที่ 1 ที่เปิดใช้แล้วมีความยาว 300 เมตร รวมเนื้อที่ใช้ประโยชน์ 20 เฮกตาร์ (125 ไร่) และเมื่อเปิดใช้เฟสที่ 2 ในปี 2553 จะทำให้มีท่าเทียบเรือรวมความยาว 590 เมตร และมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีก 40 เฮกตาร์

เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ในต้นปี 2550 ตั้งแต่นั้นมาปริมาณสินค้าที่นำเข้าและส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตัวเลขของสมาคมท่าเรือเวียดนาม (Vietnam Seaport Association) ระบุว่า ปริมาณในปี 2550 มีกว่า 170 ล้านตัน เพิ่ม 20% จากปี 2549

คาดว่า ในปี 2553 ปริมาณสินค้าส่งออกและนำเข้า จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 25% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงมาก
กำลังโหลดความคิดเห็น